Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11818
Title: การวิเคราะห์เนื้อหางานเขียนภาษาอังกฤษด้านห้องสมุด และบรรณารักษศาสตร์ในประเทศไทย
Other Titles: A content analysis of writings in English concerning libraries and library science in Thailand
Authors: เรืองศรี จุลละจินดา
Advisors: สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์
ประคอง กรรณสูตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: บรรณารักษศาสตร์
ห้องสมุด
การวิเคราะห์เนื้อหา
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์เนื้อหางานเขียนภาษาอังกฤษด้านห้อง สมุดและบรรณารักษศาสตร์ในประเทศไทย ทั้งที่เขียนโดยชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งปรากฏเป็นบทความในวารสารหรือในหนังสือ ตอนหนึ่งในหนังสือ หนังสือเล่ม วิทยานิพนธ์ งานค้นคว้า ภาคนิพนธ์ และเอกสารไม่ตีพิมพ์อื่นๆ งานเขียนเหล่านี้จัดพิมพ์หรือจัดทำเผยแพร่ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) จนถึง พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีอ่านงานเขียนที่เป็นตัวอย่างประชากร จำนวน 112 รายการ โดยจำแนกงานเขียนตามประเภทของผู้เขียนและตามชนิดของงานเขียน แล้ววิเคราะห์เนื้อหางานเขียนตามกลุ่มหัวข้อเนื้อหาทางบรรณารักษศาสตร์ 5 กลุ่ม ได้แก่ หนังสือและการควบคุมทางบรรณานุกรม ภูมิหลังของห้องสมุด ห้องสมุดและแหล่งสารนิเทศ การศึกษาอบรมและวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์ และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย การวิเคราะห์เนื้อหาใช้วิธีขีดรอยคะแนนลงในตารางวิเคราะห์เนื้อหา รวมรอยคะแนนเป็นความถี่ 1. ผู้เขียนทั้งหมดเป็นบุคคล 67 คน และเป็นองค์กร 4 หน่วยงาน ผู้เขียนชาวไทยมี 31 คน เป็นหญิงมากกว่าเป็นชาย ผู้เขียนชาวต่างประเทศมี 36 คน เป็นชายมากกว่าเป็นหญิงผู้เขียนรวม 17 คน และ 1 หน่วยงาน มีผลงานเขียนตั้งแต่ 2 รายการขึ้นไป เป็นจำนวน 63 รายการ คิดเป็นร้อยละ 56.25 ของงานเขียน 112 รายการ งานเขียนที่เขียนโดยมีหลักฐานอ้างอิงประกอบมี 59 รายการ คิดเป็นร้อยละ 52.68 ของงานเขียน 112 รายการ งานเขียน 63 รายการ ได้รับการอ้างอิงในกลุ่มงานเขียนด้วยกัน รวมเป็นจำนวนการอ้างอิง 171 ครั้ง และงานเขียน 60 รายการได้รับการอ้างอิงในวิทยานิพนธ์สาขาบรรณารักษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมเป็นจำนวนการอ้างอิง 174 ครั้ง 2. ด้านเนื้อหาของงานเขียนที่นำมาวิเคราะห์ พบว่า ก. ในช่วงปีต่างๆ งานเขียนโดยผู้เขียนชาวต่างประเทศประกาศส่วนใหญ่มีเนื้อหาในเรื่องต่างๆ ดังนี้ พ.ศ. 2451 ถึง 2493 (ค.ศ. 1908-1950) หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2494 ถึง 2522 (ค.ศ. 1951-1979) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย งานเขียนโดยผู้เขียนชาวไทยส่วนใหญ่มีเนื้อหาเรื่องต่างๆ ดังนี้ พ.ศ. 2497 ถึง 2503 (ค.ศ. 1954-1960) หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ถึง 2513 (ค.ศ. 1961-1970) การศึกษาอบรมและวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์ พ.ศ. 2514 ถึง 2522 (ค.ศ. 1971-1979) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ข. งานเขียนทั้ง 112 รายการ หากจำแนกตามชนิดของงานเขียน พบว่างานเขียนทุกชนิดบรรจุกลุ่มหัวข้อเนื้อหาห้องสมุดและแหล่งสารนิเทศมาก ที่สุด รองลงมาคือกลุ่มหัวข้อเนื้อหาหนังสือและการควบคุมทางบรรณานุกรม การศึกษาอบรมและวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์ และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย สำหรับกลุ่มหัวข้อเนื้อหาภูมิหลังของห้องสมุดมีจำนวนงานเขียนทุกชนิดรวมกัน แล้วน้อยที่สุด ค.ผลการสำรวจปริมาณงานเขียนในแต่ละกลุ่มหัวข้อเนื้อหา พบว่างานเขียนจำนวน 41 รายการ ครอบคลุมหัวข้อเนื้อหา 1 กลุ่ม งานเขียนที่มีเนื้อหาตั้งแต่ 2 กลุ่ม 3 กลุ่ม 4 กลุ่ม และทั้ง 5 กลุ่ม มีจำนวน 35 22 10 และ 4 รายการตามลำดับ ทั้งนี้ งานเขียนที่บรรจุหัวข้อเนื้อหาเพียง 1 กลุ่มนี้ กล่าวถึงหัวข้อเนื้อหาห้องสมุดและแหล่งสารนิเทศมากที่สุด เป็นจำนวน 23 รายการ และกล่าวถึงภูมิหลังของห้องสมุดกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยน้อยที่สุด เพียง 1 รายการเท่ากัน ง. งานเขียนกลุ่มต่าง ๆ มีเนื้อหาที่พบมาก ดังนี้ 1) งานเขียนเกี่ยวกับหนังสือและการควบคุมทางบรรณานุกรม เน้นเรื่องการจัดทำบรรณานุกรมประเภทต่างๆ กับรายชื่อวารสารและรวมรายชื่อวารสาร หนังสือทั่วไปและสารคดีกับหนังสือแบบเรียนและตำรา ผู้อ่าน อุปสรรคที่ขัดขวางการอ่าน ปัญหาและข้อเสนอแนะ 2) งานเขียนเกี่ยวกับภูมิหลังของห้องสมุด เน้นเรื่องประวัติ และพัฒนาการของห้องสมุดสมัยใหม่นับตั้งแต่ พ.ศ. 2494 3) งานเขียนเกี่ยวกับห้องสมุดและแหล่งสารนิเทศ เน้นเรื่องทรัพยากรห้องสมุด บุคลากรและสถานภาพ สถานภาพห้องสมุด ปัญหาของห้องสมุดและข้อเสนอแนะ การควบคุมและการให้บริการทางบรรณานุกรม บริการและกิจกรรมต่างๆ 4) งานเขียนเกี่ยวกับการศึกษาอบรมและวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์ เน้นเรื่องระดับการศึกษาและหลักสูตรทั่วไป ประวัติและพัฒนาการ นักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาผู้สอน 5) งานเขียนเกี่ยวกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย เน้นเรื่องวารสารและสิ่งพิมพ์ของสมาคมห้องสมุด ฯ ข้อเสนอแนะ งานเขียนภาษาอังกฤษด้านห้องสมุดและบรรณารักษศาสตร์ในประเทศไทย ควรได้รับการเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางโดยแท้จริง ทั้งในด้านการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์เพื่อเพิ่มพูน หรือเสริมความเข้าใจห้องสมุดและบรรณารักษศาสตร์ในประเทศไทย และในด้านการแก้ไขปัญหาหรือการปรับปรุงงานห้องสมุดตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และควรมีการริเริ่มดำเนินการสะสมงานเขียนดังกล่าวให้สมบรูณ์ เพื่อจัดเก็บให้เป็นระบบและสามารถเรียกใช้ได้โดยสะดวกรวดเร็ว
Other Abstract: The major objective of this thesis was to analyze the content of English writings concerning libraries and library science in Thailand. Written by the Thais and foreigners from the years 1908 to 1979, the writings covered articles, books or parts of them, proceedings of seminars and conferences, research papers, masters' theses and doctoral dissertations, mimeographed materials and carbon copies. The research was conducted by reading a group of 112 writings divided by types of the authors and subdivided by types of writings. A set of content analysis tables was constructed, containing five categories of library science subjects, namely, books and bibliographical control; library background; types of library and information resources; library education, training and research; and Thai Library Association. The results concluded as follows: 1. The authors consisted of 67 persons and 4 organizations. The majority of 31 Thai authors were female, while that of 36 foreigners were male. Of all the authors, 18 contributed two or more writings accounting for 63 (56.25%) of the 112 writings. The 59 writings (52.68%) indicated reference sources. The writings of 63 items were cited for 171 times in the writings themselves, and those of 60 items for 174 times in masters' theses on Library Science, Graduate School, Chulalongkorn University during the years 1965-1979. 2. The findings of the content of writings analyzed as follows: (a) For every ten years from 1908-1979, the majority of the writing of the foreigners emphasized subject content as follows: 1908-1950 National Library; 1951-1979 college and university libraries. For 1954-1979, those of the Thais had various emphasis on the following subject content: 1954-1960 National Library; 1961-1970 library education, training and research; 1971-1979 college and university libraries. (b) Most of the 112 writings divided by types of writings covered types of library and information resources, followed by those covering books and bibliographical control, library education, training and research and Thai Library Association. Library background had the fewest writings. (c) A survey of the quantity in each content category revealed that 41 writings cover only one category. There were 35, 22, 10 and 4 writings respectively covering two, three, four and five categories. Of 41 writings with one content category, 23 covered types of library and information resources, and 1 covered 2 categories of library background and Thai Library Association. (d) The main topics included the following categories: 1) Writings concerning books and bibliographical control emphasized bibliographies, lists of periodicals and union lists of serials; general books and textbooks; readers, reading obstacles, problems and recommendations. 2) Writings concerning library background emphasized history and development of modern libraries since 1951. 3) Writings concerning types of library emphasized library resources, status and personnel; library problems and recommendations; services and bibliographical control; readers services and library activities. 4) Writing concerning library education, training and research emphasized education levels and general curricula; history and development of library education; students and the faclty. 5) Writing concerning Thai Library Association emphasized its publications. It was recommended that these English writings should be widely publicized and utilized in library tudies in order to broaden the understranding of libraries and library science in Thailand, and in solving library problems and improving library work as well as other related subjects. A working plan for the accumulation of these writings should be initiated for the purposes of a well-organized system and information retrieval.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11818
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruangsri.pdf47.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.