Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11856
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมในน้ำยาฟอกไต และประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนน้ำและสสารของเยื่อบุผนังช่องท้อง ในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตทางช่องท้อง
Other Titles: Correlation between dialysate mesothelial cell population and transport parameters in CAPD patients
Authors: มนต์ชัย ศิริบำรุงวงศ์
Advisors: เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: golfnephro@yahoo.com
Subjects: การฟอกเลือดทางช่องท้อง
ไตวายเรื้อรัง
เยื่อบุช่องท้อง
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา การฟอกไตทางช่องท้องเป็นทางเลือกหนึ่งของการบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ปัญหาที่สำคัญสำหรับการฟอกไตคือการเสื่อมสภาพของเยื่อบุผนังช่องท้องที่เกิดจากน้ำยาฟอกไต การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่พบคือ ปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมที่ลดลง เกิดการสะสมของพังผืด และปริมาณเส้นเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมักจะพบร่วมกับความสามารถในการขจัดน้ำและของเสียลดลง วิธีการศึกษา มีผู้ป่วยฟอกไตทางช่องท้องเข้าร่วมการศึกษา 39 ราย เป็นเพศชาย 22 ราย เพศหญิง 17 ราย ผู้ป่วยทั้งหมดจะได้รับการตรวจปริมาณเซลล์มีโซทีเลียม และปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมที่ตายจากกระบวนการอะโพโทซีส ในน้ำยาฟอกไตค้างคืนด้วยวิธีโฟลไซโตมีทรี ร่วมกับทดสอบประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนสสารของเยื่อบุผนังช่องท้องในวันเดียวกัน ผลการศึกษา พบปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมในน้ำยาฟอกไตค้างท้องมีค่าเฉลี่ย 0.19 +- 0.02 ล้านเซลล์และปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมที่ตายจากกระบวนการอะโพโทซีสเฉลี่ย 0.04 +- 0.07 ล้านเซลล์ โดยพบว่า ปริมาณเซลล์มโซทีเลียมและปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมที่ตายจากกระบวนการอะโพโทซีส มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับค่าสัดส่วนความเข้มข้นของระดับครีตินีนในตัวอย่างน้ำยาฟอกไต ณ เวลาชั่วโมงที่ 4 กับตัวอย่างเลือด (r = 0.62, 0.48) ขณะเดียวกันพบว่า ปริมาณเซลล์ดังกล่าวมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับค่าสัดส่วนความเข้มข้น ของระดับน้ำตาลกลูโคสในตัวอย่างน้ำยาฟอกไต ณ เวลาชั่วโมงที่ 4 กับ ชั่วโมงที่ 0 (r = -0.54) -0.41) และปริมาณการลดลงของความเข้มข้นของโซเดียมในน้ำยาฟอกไต (r = -0.39, -0.41) ในผู้ป่วยเบาหวานที่ฟอกไตทางช่องท้องเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 2 ปี พบว่ามีปริมาณเซลล์โซทีเลียมมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน (p<0.01) ขณะที่ไม่พบความแตกต่างของปริมาณเซลล์ดังกล่าวในผู้ป่วยที่ฟอกไตทางช่องท้องนานกว่า 2 ปีสรุปผลการศึกษาพบว่า ปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมและปริมาณเซลล์มีโซทีเลียม ที่ตายจากระบวนการอะโพโทซีสในน้ำยาฟอกไตค้างท้อง มีความสัมพันธ์กับค่าทดสอบประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนสสารของเยื่อบุผนังช่องท้อง และพบว่าในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการเสื่อมของเยื่อบุผนังช่องท้อง มีปริมาณเซลล์หลุดลอกออกมาในน้ำยาฟอกไตมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง
Other Abstract: Background: Peritoneal dialysis is widely used for renal replacement therapy in end stage renal disease (ESRD) patients. Exposing to dialysate, the peritoneal function will progressively change from low to high transport, and cause denudation of mesothelial cells, and ultimately tissue fibrosis and ultrafiltration failure. Methods: Mesothelial cells from dialysate effluents from patients undergoing peritoneal dialysis were assessed using flow cytometry. Adequacy and peritoneal equilibrium test were simultaneously evaluated. Results: 39 patients (22 males and 17 females) were enrolled. Numbers of total and apoptotic mesothelial cell were 0.19 +- 0.02 and 0.04 +- 0.07 million cells/mm[superscript 3] Respectively. The numbers of total mesothelial cell and apoptotic mesothelial cell in patients with high & high average transports were significantly greater than low & low average transports, p<0.05. The number of mesothelial cell in patients with diabetes, who treated peritoneal dialysis less than 2 years, was significantly higher than non-diabetic patients. Of note, the numbers of total mesothelial cell and apoptotic mesothelial cell had negative correlation with levels of D/DO glucose and sodium dipping. Conclusion: Total mesothelial cell and apoptotic mesothelial cell numbers correlated well with transport parameters. Patients with prognostic factors (high transport, no Na dipping, and diabetes) had higher amounts of both total and apoptotic mesothelial cells. Amounts of total mesothelial cell and apoptotic mesothelial cell in overnight dialysate may predict declination of peritoneal membrane function.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11856
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monchai_Si.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.