Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11874
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุบล เบญจรงค์กิจ | - |
dc.contributor.author | พิชชา จิรเดชพิทักษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2009-12-18T09:32:04Z | - |
dc.date.available | 2009-12-18T09:32:04Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746391771 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11874 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en |
dc.description.abstract | เปรียบเทียบกลยุทธ์การโฆษณาของโครงการที่อยู่อาศัย ในสภาวะเศรษฐกิจปกติและเศรษฐกิจถดถอย โดยกำหนดช่วงสภาวะเศรษฐกิจปกติอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2536-2537 และช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2538-2540 การศึกษากลยุทธ์การโฆษณาในที่นี้ได้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ได้แก่ วัตถุประสงค์การโฆษณา งบประมาณการโฆษณา การสร้างสรรค์งานโฆษณาและการใช้สื่อโฆษณา การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเฉพาะโครงการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น ซึ่งเป็นโครงการของบริษัทขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป โดยพิจารณาบริษัทที่มีปริมาณการใช้งบโฆษณาสูงสุด 10 อันดับแรก ในช่วง พ.ศ. 2536-2540 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการ นักโฆษณาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 29 ตัวอย่าง และได้นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ ร่วมกับชิ้นงานโฆษณาและเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องด้วย ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การโฆษณาในสองช่วงมีความแตกต่างกัน และสามารถมองเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้นในช่วงประมาณปลายปี 2539 เป็นต้นมา เมื่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มส่งผลกระทบมากขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในสภาวะปกติ กลยุทธ์การโฆษณาของโครงการที่อยู่อาศัย โดยส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของการสร้างยอดขาย ควบคู่กับการสร้างภาพลักษณ์ มีการใช้งบโฆษณาจำนวนมาก การสร้างสรรค์โฆษณาจะเป็นในลักษณะของ การขายสินค้าแบบเน้นอารมณ์ (soft sell) โดยใช้เนื้อหาเพื่อจูงใจด้านอารมณ์มากกว่าเหตุผล และมีการนำเทคนิคการผลิตเข้ามาเสริม ให้โฆษณาดูสมบูรณ์แบบและสวยงามมากขึ้น สื่อโฆษณาที่ใช้เน้นผสมผสานเกือบทุกสื่อ เพื่อครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด โดยใช้ทั้งสื่อมวลชนและสื่อเฉพาะร่วมกัน สำหรับในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจเริ่มถดถอย กลยุทธ์การโฆษณาได้ปรับเปลี่ยนไป โดยส่วนใหญ่จะเน้นการส่งเสริมด้านยอดขายมากกว่าภาพลักษณ์ งบการโฆษณาถูกตัดลดลง กลยุทธ์การโฆษณาในช่วงนี้จะกระทำโดยการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการวางแผนงานภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ลักษณะการสร้างสรรค์งานโฆษณาจะเน้นการให้ข้อมูล เพื่อจูงใจด้านเหตุผลมากขึ้น และมีลักษณะเป็นการขายโดยเน้นขายตัวสินค้า (hard sell) การใช้สื่อมีการพิจารณามากขึ้น โดยจะไม่หว่านสื่อเหมือนในช่วงก่อนหน้านี้ แต่จะเน้นการใช้สื่อเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายโดยตรง รวมทั้งลดปริมาณการใช้สื่อ ชนิดของสื่อและความถี่ให้น้อยลงด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | To compare the advertising strategies of housing projects in normal and recession economic condition. Normal economic was set by the year 1993-1994 and recession economic was during 1995-1997. Advertising strategy comprised advertising objectives, budgeting, advertising creation and advertising media planning. This research focuses only the housing projects in Bangkok and vicinity. The housing projects selected belong to large and medium companies that registered up to 500 million bath and were the top ten advertising spenders during the year 1993-1997. The data were gathered by indepth interview of 3 groups (29 samples) including developers, advertisers, and involved organizations. Qualitative method of analysis was used taken into consideration housing project advertisements and related articles. Findings of this research show the difference of advertising strategies in different economic conditions. It was explicit that by the end of the year 1996, when the economic showed more effect, in normal economic condition, budget spending in advertising was huge, sales volume as well as emotional attach were emphasized. Production of advertisement often showed high-tech effect. Mixed media, both mass and direct, were used for campaigning. During economic recession, advertising emphasized sales volume alone, budget has been cut down, therefore advertising creation relies purely on rational and hard sell, media use was very limited. | en |
dc.format.extent | 792780 bytes | - |
dc.format.extent | 1053350 bytes | - |
dc.format.extent | 916785 bytes | - |
dc.format.extent | 766799 bytes | - |
dc.format.extent | 3186995 bytes | - |
dc.format.extent | 740808 bytes | - |
dc.format.extent | 864438 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | พฤติกรรมผู้บริโภค | en |
dc.subject | โฆษณา | en |
dc.subject | ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ -- 2536-2540 | en |
dc.title | กลยุทธ์การโฆษณาของโครงการที่อยู่อาศัย ในสภาวะเศรษฐกิจปกติและในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย | en |
dc.title.alternative | Advertising strategies for housing project in normal and recession economic condition | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การโฆษณา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Yubol.B@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pidcha_Ji_front.pdf | 774.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pidcha_Ji_ch1.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pidcha_Ji_ch2.pdf | 895.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pidcha_Ji_ch3.pdf | 748.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pidcha_Ji_ch4.pdf | 3.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pidcha_Ji_ch5.pdf | 723.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pidcha_Ji_back.pdf | 844.18 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.