Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11909
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุรางค์ นุชประยูร-
dc.contributor.authorอนุพงค์ สุจริยากุล-
dc.contributor.authorกนิษฐา ภัทรกุล-
dc.contributor.authorวิวรพรรณ สรรประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.contributor.otherกรมควบคุมโรค-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-12-28T09:17:36Z-
dc.date.available2009-12-28T09:17:36Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11909-
dc.description.abstractการรักษาโรคเท้าช้างในปัจจุบัน คือการรักษาโดยใช้ยาไดเอทิลคาร์บามาซีน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำลายไมโครฟิลาเรียในกระแสเลือดสูง อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการทำลายพยาธิตัวแก่ยังจำกัด จึงไม่สาทารถรักษาโรคให้หายขาดได้ จำเป็นต้องมีการรักษาซ้ำนานหลายปี ปัญหาที่สำคัญของการใช้ยาไดเอทิลคาร์บามาซีนคือ การเกิดปฏิกิริยาหลังการรักษา ซึ่งกลไกการเกิดปฏิกิริยาหลังการรักษานี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากแอนติเจนของพยาธิหรือแอนติเจนของแบคทีเรียโวลบาเชียที่ปลดปล่อยออกมาจากตัวพยาธิภายหลังการรักษา การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การให้ยาด็อกซีซัยคลินร่วมกับยามาตรฐานเป็นเวลา 3-8 สัปดาห์ให้ผลดีกว่าการรักษาโรคเท้าช้างด้วยยามาตรฐานอย่างเดียว อย่างไรก็ตามการให้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดปัญหาการดื้อยาได้ การศึกษานี้จึงศึกษาการรักษาโรคเท้าช้างด้วยยาไดเอทิลคาร์บามาซีน ร่วมกับยาด็อกซีซัยคลินเพียงครั้งเดียวในการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและลดการเกิดปฏิกิริยาหลังการรักษา โดยศึกษาในประชากรจากจังหวัดตาก จำนวน44 ราย ประชากรจำนวน 25 ราย ได้รับยาไดเอทิลคาร์บามาซีนขนาด 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ร่วมกับยาหลอก และประชากรอีก 19 รายได้รับยาไดเอทิลคาร์บามาซีนขนาด 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ร่วมกับยาด็อกซีซัยคลินขนาด 200 มก. ผลการรักษาพบว่า ระดับไมโครฟิลาเรียในกระแสเลือดลดลงจนไม่สามารถตรวจพบได้ภายใน 24 ชม. หลังการรักษา ปฏิกิริยาหลังการรักษาพบได้น้อยกว่าในกลุ่มที่ได้รับยาไดเอทิลคาร์บามาซีนร่วมกับยาด็อกซีซัยคลิน (32%) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาไดเอทิลคาร์บามาซีนร่วมกับยาหลอก (44%) ปฏิกิริยาหลังการรักษาที่รุนแรงพบเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับยาไดเอทิลคาร์บามาซีนร่วมกับยาหลอกเท่านั้น (3 รายจาก 25 ราย) ระดับของไซโตไคน์อินเตอร์ลิวคิน 6 และทูเมอร์เนโครซิสแฟกเตอร์แอลฟาในพลาสมาภายหลังการรักษาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและสูงที่สุดที่ 24 ชม. หลังการรักษา ระดับของอินเตอร์ลิวคิน 6 สัมพันธ์กับความรุนแรงของปฏิกิริยาหลังการรักษา โดยที่ระดับของอินเตอร์ลิวคิน 6 ในกลุ่มที่ได้รับยาไดเอทิลคาร์บามาซีนร่วมกับยาด็อกซีซัยคลินต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาไดเอทิลคาร์บามาซีนร่วมกับยาหลอกในทุกช่วงเวลาที่ติดตามการรักษา นอกจากนี้พบว่าระดับของแอนติเจนของพยาธิตัวแก่ในกลุ่มที่ได้รับยาไดเอทิลคาร์บามาซีนร่วมกับยาด็อกซีซัยคลินต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาไดเอทิลคาร์บามาซีนร่วมกับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญที่เวลา 6 เดือนหลังการรักษา กล่าวโดยสรุป การให้ยาด็อกซีซัยคลินร่วมด้วยในการรักษาโรคเท้าช้างให้มีผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และก่อให้เกิดปฏิกิริยาหลังการรักษาน้อยกว่าการให้การรักษาโดยยามาตรฐานเพียงอย่างเดียวen
dc.description.abstractalternativeStandard treatment of lymphatic filariasis with diethylcarbamazine (DEC) is effective at killing microfilariae but show partial macrofilaricidal activity. Moreover, treatment with DEC is associated with systemic, inflammatory-mediated adverse reactions that are thought to be caused by the rapid release of microfilariae material and wolbachia endosymbiotic bacteria into the blood. Combination treatments with doxycycline for 3-8 weeks are more effective than standard treatment alone. However, long-term use of antibiotics may contribute to the drug resistance. We assessed whether a single does of doxycycline combination with standard treatment would show superior efficacy to standard treatment alone and reduce the incidence of adverse reactions. A total of 44 individual from Tak province were recruited to the randomized double-blind clinical trial study: 25 received DEC (6 mg/kg) combination with placebo, and 19 received DEC (6 mg/kg) combination with doxycycline (200 mg). The microfilariae level was rapidly reduced to zero in both treatment group within 24 hours after treatment. Incidences of adverse reactions to standard antifilarial treatment were lower in the doxycycline group (32%) than in the placebo group (44%). Severe reactions only occurred in the placebo group (3 of 25 subjects). Plasma levels of IL-6 and TNF-alpha were increased significantly after treatment, reaching maximal levels at 24 hours after treatment. Levels of IL-6 in plasma were associated with severity of adverse reaction. At all follow-up points, the IL-6 levels were significantly lower in the doxycycline group. Adult parasite antigens were significantly lower in doxycycline group than in placebo group at months 6 after treatment (p<0.05). In conclusion, combination treatment with doxycycline was more effective and caused less adverse reactions than was standard treatment alone.en
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัยเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2549en
dc.format.extent2636197 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรคเท้าช้าง -- การรักษาด้วยยาen
dc.subjectไดเอทิลคาร์บามาซีนen
dc.subjectด็อกซีซัยคลินen
dc.titleผลของยา Doxycycline ในการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและลดอาการข้างเคียงของยา Diethylcarbamazine (DEC) ในการรักษาผู้ป่วยโรคเท้าช้าง : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์en
dc.title.alternativeEffects of doxycycline on increasing of efficacy and decreasing of adverse drug reaction from treatment of lymphatic filariasis patients with diethylcarbamazine (DEC)en
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorSurang.N@Chula.ac.th-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorKanitha.Pa@Chula.ac.th-
dc.email.authorVivornpun.S@student.chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
surang_doxycycline.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.