Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11928
Title: ปัญหาสุขภาพเท้าและรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ : รายงานวิจัย
Other Titles: Foot disorders and proper shoes for elderly
Authors: ดุจใจ ชัยวานิชศิริ
ศิริพร จันทร์ฉาย
ณัฏฐิยา ตันติศิริวัฒน์
Email: Dootchai.C@Chula.ac.th
Siriporn.Ja@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: เท้า -- การดูแลและสุขวิทยา
รองเท้า
ผู้สูงอายุ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาสุขภาพเท้ามักถูกละเลยและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตลอดจนอาจเป็นสาเหตุของการลื่นล้มได้ ศึกษาอุบัติการณ์ความผิดปกติของเท้าและสมรรถภาพในการเดินของ ผู้สูงอายุ หาความสัมพันธ์ของความผิดปกติกับปัจจัยต่างๆ และชนิดของรองเท้าที่ใช้ หาความสัมพันธ์ของปัจจัยเกี่ยวข้องกับการล้ม คำนวณหาขนาด/มิติของเท้าผู้สูงอายุเพื่อใช้เป็นหุ่นในการทำรองเท้าให้ผู้สูงอายุ การวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งรวบรวมอาสาสมัครผู้สูงอายุชาวไทยสุขภาพดี อายุ 60-80 ปี ช่วยเหลือตนเองได้ สัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป ปัญหาเท้า การเดิน การล้ม การใช้รองเท้า ตรวจร่างกาย ตรวจเท้า ตรวจรองเท้า พิมพ์ฝ่าเท้า วัดขนาด/มิติเท้า ประเมินสมรรถภาพการเดินด้วย Timed Get Up and Go Test และคำนวณความเร็วในการเดิน 6 เมตรมีอาสาสมัครทั้งสิ้น 213 คน เป็นชาย 108 คน หญิง 105 คน อายุเฉลี่ย 68.6+-5.4 ปี ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายใกล้เคียงกัน – 24.65 กก./ตร.ม. ผู้สูงอายุชาย 66% หญิง 50% เกษียณอยู่กับบ้าน และ 23% ของผู้สูงอายุหญิงยังทำงานบ้าน ผู้สูงอายุเพศหญิงมีปัญหาโรคข้อเข้าเสื่อมมากกว่า (34.3% : 21.3%, p = 0.046) และมีปัญหาหลังเสื่อมมากกว่า (30.5% : 3.7%, p = 0.00) พบอาการปวดเท้า 14% โดยพบในเพศชาย 5.56 % และในเพศหญิง 22% สาเหตุ 1 ใน 3 เกิดจากเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบ 1 ใน 3 เกิดจาก Hallux valgus 1 ใน 5 เกิดจากภาวะหนังเท้าหนา (callus) และภาวะ Metatarsalgia เพศหญิงมีอาการปวดเท้ามากกว่าเพศชาย 4 เท่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั้งสองเพศสวมรองเท้าคับ ผู้หญิงที่สวมรองเท้าหุ้มส้น และรองเท้าคับมีปัญหาปวดเท้ามากที่สุดคือ 38.5% และ 35.5% ตามลำดับ พบความผิดปกติของ protective sensation ประมาณ 20% ของผู้สูงอายุกว่า 85% ของผู้สูงอายุมีเท้าผิดรูป มากที่สุดคือ Hallux valgus ชายหญิงเท่ากันประมาณ 45% รองลงมาคือ Mallet toe พบในเพศชายมากกว่าหญิง 2 เท่า (58% : 31%) โดย Hallux valgus ในเพศหญิงจะมีความรุนแรงกว่า ปวดมากกว่า ลักษณะอุ้งเท้าแบนพบในผู้สูงอายุหญิงมากกว่า (42% : 32%) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอุ้งเท้าแบนกับภาวะเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือ Hallux valgus ใน 6 เดือนที่ผ่านมา ผู้สูงอายุหญิงล้ม 29.5% ผู้สูงอายุชายล้ม 12.9% (p = 0.004) กลุ่มล้มมีอายุเฉลี่ยสูงกว่า มีปัญหาเข่าเสื่อมมากกว่า (p = 0.02) มีปัญหาปวดเท้ามากกว่า (p = 0.02) มีความผิดปกติของ protective sensation มากกว่า และมีความสัมพันธ์กับการใช้รองเท้าส้นสูง (p = 0.036) มากกว่ากลุ่มไม่ล้ม ส่วนการทดสอบ Timed Get Up & Go และความเร็วในการเดิน ไม่มีความแตกต่างกัน ได้สูตรคำนวณจากการวัดขนาดเท้าดังนี้ สำหรับผู้สูงอายุหญิง Ball width = 2.863 + 0.279 (Foot length) และผู้สูงอายุชาย Ball width = 2.487 + 0.311 (Foot length) ซึ่งนำมาเป็นต้นแบบการทำหุ่นรองเท้าให้ผู้สูงอายุชายไทย ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพเท้าเป็นจำนวนมาก ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย และการใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ซึ่งในเพศหญิงจะมีความเสื่อมมากกว่า มีอาการปวดมากกว่า และอุบัติการณ์การล้มสูงกว่าเพศชาย ผู้สูงอายุควรได้รับความรู้ในการดูแลเท้าและเลือกรองเท้าให้เหมาะสมมากขึ้น
Other Abstract: Foot problems in elderly are usually neglected. These affect general quality of life and may cause fall in this population. To study foot problems and walking performance in healthy elderly, identify the factors associated with those problems include footwear and fall, and determine foot dimensions in order to make standard shoe lasts for Thai elderly-cross-sectional descriptive study. Enrolled healthy elderly volunteers aged 60-80 years who were independently ambulated. Interviewed and physical examined the subjects about general health, foot problems. History of fall, and footwear. Measured foot dimensions, took footprint, and evaluated walking performance with timed Get Up & Go and 6-metre walking speed. There were 213 elderly subjects; 108 males, 105 females with mean age of 68.6+-5.4 years, mean BMI – 24.65 kg/sq.m. About 66% males, 50% females were retired home and 23% females still do house work. Female subjects had more OA knee (34.3% : 21.3%, p = 0.046), and more lumbar spondylosis (30.5% : 3.7%, p = 0.00). Foot pain was found in 14% : 5.56% males and 22% females. The pain resulted from plantar fasciitis (1/3), Hallux valgus (1/3), and callus (1/5). Females had 4 times more frequent foot pain than males. About 1/3 of the elderly were improper tight shoes. Females who use heeled-shoes and tight foot wears had the most frequent foot pain (38.5% and 35.5% respectively). About 20% of the elderly had impaired protective sensation. More than 85% of the elderly had foot deformities. Hallux valgus was equally found -45% in both sexes, while Mallet toe was found more in males (58% : 31%). Hallux valgus in females had more severe degree and caused more pain. Pes planus was also found more in females (42% : 35%), with no association with plantar fasciitis or hallux valgus. History of fall within 6 months was reported 29.5% in females and 12.9% in males (p = 0.004). Faller group had higher age, more OA knee (p = 0.02), more foot pain (p = 0.02), more impaired protective sensation, and was associated with high-heeled shoes (p = 0.036) than non-faller group. The timed Get Up & Go test and walking speed were not significantly different. The equation for females’ shoe size: Ball width = 2.863 + 0.279 (Foot length), and for males’ shoe size: Ball width = 2.487 + 0.311 (Foot length). These results were applied for making standard shoe lasts for Thai elderly. Foot problems were highly reported both from degenerative process and improper foot wears. Education about foot care and proper shoes should be implemented for the elderly.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11928
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dootchai_Prob.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.