Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11947
Title: กระบวนการกำหนดนโยบายในระบบการเมืองไทย : ศึกษากรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2534 ในปี 2535
Other Titles: Public policy making process in the Thai political system : a case study of the amendment in 1992 of the 1991 constitution
Authors: พัฒนะ ศุกรสุต
Advisors: สุจิต บุญบงการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ -- ไทย -- การแก้ไข
ไทย -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพื่อศึกษาบทบาทกลุ่มผู้เรียกร้องทางการเมืองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬใช้อำนาจและอิทธิพล เพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2534 โดยเฉพาะการศึกษาถึงวิธีการ ช่องทาง และการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬของกลุ่มผู้เรียกร้องทางการเมือง ผลการวิจัยพบว่า การเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น แท้จริงแล้วมาจากความต้องการของกลุ่มทางการเมืองจำนวนหนึ่ง ที่เห็นความไม่ชอบธรรมในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มีการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกซึ่งอาจเป็นบุคคลในคณะ รสช. มาเป็นนายกรัฐมนตรี กลุ่มดังกล่าวจึงมีการเคลื่อนไหวในการต่อต้านคณะ รสช. ภายหลังการเลือกตั้งได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากคณะ รสช. จริง จึงมีการเคลื่อนไหวอีกครั้งอย่างกว้างขวางในการต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนภายนอกรัฐสภา ประเด็นในการต่อต้านคณะ รสช. ได้เปลี่ยนประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญแล้ว จะทำให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และปิดกั้นโอกาสของบุคคลในคณะ รสช. ไม่ให้เข้ามามีอำนาจทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงประเด็นดังกล่าวนับว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เพราะเป็นการเปลี่ยนประเด็นจากความต้องการของบุคคลกลุ่มเล็กๆ ขยายออกไปเป็นความต้องการของมวลชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มผลักดันภายนอกรัฐสภาที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น กลุ่มผู้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงสามารถแสวงหาแนวร่วมได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในการล้มล้างอำนาจ รสช. และแก้ไขรัฐธรรมนูญในที่สุด
Other Abstract: This research is designed to study the role of pressure group in campaigning for constitutional amendment during the May 1992 uprising. In particular, it studies the methods and approaches employed by those groups in their campaign. The research finds that the demand for the amendment was initiated by political groups which were against the constitution that allows a non elected MPs to become prime minister. The groups began campaigning against the appointment of the NPKC leader as prime minister after the March 1992 elections. The campaign aimed at revising the constitution to make only elected MPs eligible for premiership which would result in termination of the NPKC's political domination. The groups were successful in mobilizing mass support for their campaigning against the NPKC and for the amendment. The mass support outside the Parliament was a key factor leading to their success in dethroning the NPKC and the revision of the constituton.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11947
ISBN: 9746347438
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patana_Su_front.pdf756.55 kBAdobe PDFView/Open
Patana_Su_ch1.pdf802.61 kBAdobe PDFView/Open
Patana_Su_ch2.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Patana_Su_ch3.pdf982.91 kBAdobe PDFView/Open
Patana_Su_ch4.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Patana_Su_ch5.pdf905.46 kBAdobe PDFView/Open
Patana_Su_back.pdf783.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.