Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11951
Title: พฤติกรรมของเสาเข็มแบเร็ตและเสาเข็มเจาะที่ติดเครื่องมือวัดในชั้นดินกรุงเทพฯ
Other Titles: Behaviour of instrumented barrette and bored piles in Bangkok subsoils
Authors: ชาญชัย ทรัพย์มณี
Advisors: วันชัย เทพรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wanchai.Te@Chula.ac.th
Subjects: เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มแบเร็ต
ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
แรงเฉือนของดิน
ดิน -- การวิเคราะห์
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันได้มีการนำเสาเข็มแบเร็ต (Barrette Pile) มาใช้แทนเสาเข็มเจาะ (Bored Pile) ขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถใช้กำลังรับน้ำหนักบรรทุกได้สูงขึ้นและรับแรงด้านข้างได้มากขึ้นอันจะทำให้สามารถลดจำนวนเสาเข็มและลดพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งจะช่วยลดการทรุดตัวที่น้ำหนักบรรทุกใช้งานและง่ายต่อการจัดวางรูปแบบฐานรากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณพื้นที่จำกัด เนื่องจากความแตกต่างกันในลักษณะรูปร่างของเสาเข็มเจาะและเสาเข็มแบเร็ตและเครื่องมือที่ใช้เจาะเสาเข็มตลอดจนเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างเสาเข็มต่างกันมาก ดังนั้นในการวิเคราะห์และออกแบบเสาเข็มแบเร็ตจึงอาจจะไม่สามารถใช้ค่าพารามิเตอร์ในการออกแบบบางตัวร่วมกับเสาเข็มเจาะได้ งานวิจัยนี้ได้รวบรวมผลการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแบเร็ตที่มีการติดตั้งเครื่องมือวัด (Geotechnical Instrumentation) ในพื้นที่กรุงเทพฯ ในโครงการ BECM Tower บริเวณ ถ.พระราม 9 และโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRTA) บริเวณสถานีบางซื่อและสถานีเทียนร่วมมิตร และได้ทำการวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบกับผลการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มเจาะที่ติดตั้งเครื่องมือวัดที่มีสภาวะปลายเข็มเดียวกัน ผลการวิจัยพบว่า ค่าแรงเสียดทาน Adhesion Factor (alpha) ในชั้นดินเหนียวและค่า Friction Factor (beta) ในชั้นทรายสำหรับเสาเข็มแบเร็ตอยู่ในแนวโน้มใกล้เคียงกับค่าสำหรับเสาเข็มเจาะแต่ในส่วนค่าแรงต้านที่ปลายเสาเข็ม พบว่าค่า Bearing Capacity Factor N [subscript q] สำหรับเสาเข็มแบเร็ตมีแนวโน้มต่ำกว่าค่าสำหรับเสาเข็มเจาะมาก ทั้งนี้เนื่องจากผลของวิธีการก่อสร้างเสาเข็มแบเร็ต นอกจากนี้ยังพบว่าผลกระทบของมิติด้านสั้นและด้านยาวของเสาเข็มแบเร็ต (เฉพาะกรณีอัตราส่วนด้านยาวต่อด้านสั้นน้อยกว่าสอง) ไม่มีผลต่อแรงเสียดทานของเสาเข็มเช่นกัน สำหรับเสาเข็มแบเร็ตและเสาเข็มเจาะที่มีปลายอยู่ในชั้นทรายชั้นที่สองผลวิจัยพบว่า การอัดฉีดน้ำปูนที่ปลายเสาเข็มจะช่วยเพิ่มค่า Friction Factor (beta) และค่า Bearing Capacity Factor N [subscript q] ในชั้นทราย ผลวิเคราะห์ค่าโมดูลัสระหว่างเสาเข็มกับดิน (E [subscript s] ) ตามทฤษฎีของ Poulos & Davis (1980) พบว่าค่า E [subscript s] สำหรับเสาเข็มเจาะเนื่องจากผลของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเทียบเท่าที่มากกว่าและเมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างค่า E [subscript s] สำหรับเสาเข็มที่มีการอัดฉีดน้ำปูนที่ปลายเสาเข็มกับเสาเข็มที่ไม่มีการอัดฉีดน้ำปูนที่ปลายเสาเข็ม พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างค่า E [subscript s] กับค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานสำหรับเสาเข็มแบเร็ตและเสาเข็มเจาะที่ไม่ได้มีการอัดฉีดน้ำปูนที่ปลายเสาเข็ม การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยนี้เสาะเข็มแบเร็ตและเสาเข็มเจาะมีการติดเครื่องมือวัดประเภท Vibrating Wire Strain Gauge (VWSG) เพื่อวิเคราะห์หาค่าหน่วยแรงเสียดทานด้านข้าง (f [subscript s]) และหน่วยแรงต้านทานที่ปลายเสาเข็ม (q [subscript E]) โดยมีจำนวนเสาเข็มแบเร็ตทั้งหมด 4 ต้น และเสาเข็มเจาะทั้งหมด 26 ต้น
Other Abstract: Recently, barrette pile is used to replace the conventional bored pile in order to increase the allowable vertical and horizontal pile capacity. In case of limited construction space, the barrette pile is more adjustable due to its rectangular shape. However, the basic construction equipments and construction time between barrette pile and bored pile are total different, therefore, the design parameters for barrette pile shall be adjusted and might be not same as bored pile. This research aims to compare pile load test results of instrumented barrette piles and instrumented bored piles in Bangkok with the same pile tip and soil conditions. The results show that the adhesion factor (alpha) and friction factor (beta) parameters for barrette piles are same as the bored piles. However, Nq-value for barrette pile is much lower than the bored pile, which is due to the effect of construction method at pile toe. In addition, the plane strain effect due to barrette dimension between long side and short side (L/B < 2) does not show any significant effect on the friction resistance. In case of barrette and bored piles having tips in second sand layer, the effect of grouted base increase both skin friction (beta-value) and bearing capacity (Nq-value) of pile in the sand layer. The study of soil-pile elastic modulus (ES) based on Poulos & Davis (1980)'s method, it was found that the Es values of barrette piles are higher than bored piles due to the effect of their large equivalent diameters. The comparison of the Es values between based grouted and non-grouted piles show that base grouting is not significant effect on the Ex values. In this study, all barrette and bored piles were instrumented with vibrating wire strain gauges (VWSG). High capacity load test was carried out on 4 instrumented barrette piles and 26 instrumented bored piles to obtain the unit skin friction (fS) and unit end bearing resistance (qE).
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11951
ISBN: 9743337482
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanchai_Su_front.pdf844.27 kBAdobe PDFView/Open
Chanchai_Su_ch1.pdf726.71 kBAdobe PDFView/Open
Chanchai_Su_ch2.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Chanchai_Su_ch3.pdf837.91 kBAdobe PDFView/Open
Chanchai_Su_ch4.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Chanchai_Su_ch5.pdf723.34 kBAdobe PDFView/Open
Chanchai_Su_back.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.