Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12000
Title: | ความชุกและพฤติกรรมในการป้องกันโรคหูตึงเหตุอาชีพ ของผู้ปฏิบัติงานฝ่ายผลิต และฝ่ายบำรุงรักษาในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย |
Other Titles: | Prevalence and preventive behaviors against occupational noise-induced hearing loss in product and maintenance workers of thermal power plants and combined cycle plants of Electricity Generating Authority of Thailand |
Authors: | ณัฐญา มาประดิษฐ์ |
Advisors: | วรวิทย์ ทัตตากร พรชัย สิทธิศรัณย์กุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล Pornchai.Si@Chula.ac.th |
Subjects: | หูตึง โรคเกิดจากอาชีพ |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โรคหูตึงเหตุอาชีพเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการทำงานสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง ในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โรคนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังและเฝ้าคุมทั้งในสิ่งแวดล้อมและตัวคนงาน การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก ที่จะศึกษาอัตราความชุกของโรคหูตึงเหตุอาชีพพฤติกรรมในการป้องกันโรคหูตึงเหตุอาชีพ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้ สิ่งชักนำให้เกิดการป้องกันโรคและการเกิดโรคหูตึงเหตุอาชีพกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคหูตึงเหตุอาชีพ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง เลือกจากผู้ปฏิบัติงานฝ่ายผลิตและฝ่ายบำรุงรักษาในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและพลังความร้อนร่วม จำนวน 3 แห่ง ที่มารับการตรวจการได้ยิน ในปีงบประมาณ 2541 รวมทั้งสิ้น 1,722 ราย เลือกเฉพาะผู้ที่มีผลการตรวจการได้ยินปกติ 511 ราย และมีการสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง 58 ราย ส่งแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้ตอบด้วยตนเอง รวม 555 ราย จากทั้งหมด 569 ราย อัตราการตอบกลับร้อยละ 87.8 รวม 480 ฉบับ เป็นเพศชาย 457 ราย เพศหญิง 23 ราย ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกของโรคหูตึงเหตุอาชีพมีค่าเท่ากับ 3.4 ต่อ 100 ประชากร พฤติกรรมในการป้องกันโรคหูตึงเหตุอาชีพโดยรวมพบว่า กลุ่มที่การได้ยินปกติมีพฤติกรรมในการป้องกันโรคร้อยละ 49.1 มากกว่ากลุ่มที่การได้ยินผิดปกติที่มีพฤติกรรมในการป้องกันโรค ร้อยละ 40.9 ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้ สิ่งชักนำให้เกิดการป้องกันโรคและ การเกิดโรคหูตึงเหตุอาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันโรค ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ การศึกษา อายุงาน และพฤติกรรมในการป้องกันโรคบางอย่าง เช่น พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันหู การไปรับการตรวจการได้ยิน มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหูตึงเหตุอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยในแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพไม่สามารถใช้อธิบายพฤติกรรมในการป้องกันโรคหูตึงเหตุอาชีพในผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าผลิตได้ ดังนั้นในขณะที่ยังไม่สามารถควบคุมระดับเสียงในที่ทำงานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้ จึงควรหันมาสนับสนุนการให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันหู และการไปรับการตรวจการได้ยินเพื่อเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันโรคหูตึงเหตุอาชีพ |
Other Abstract: | Noise-induced hearing loss (NIHL) is a disease caused by prolonged exposure to loud noise. In Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT), NIHL tends to increase thus requires continuous noise monitoring and control of both the environment and the workers. The main objectives of the research were to study the prevalence of NIHL, the worker's preventive behaviors, and the relationship between personal factors, perceptive factors, cue to action to prevent NIHL, and preventive behaviors against NIHL. This study was a descriptive one. The study population was obtained by purposive sampling of maintenance workers and product workers from 3 thermal power plants and combined cycle plants of EGAT. There were 1,722 workers underwent an audiometry in 1998, 511 cases with normal result and 58 cases with severe NIHL. 555 of these 569 were asked to self-administer the questionnaires prepared for this study. The overall response rate was 87.9% (480 out of 555), 457 males and 23 females. The prevalence rate was 3.4 per 100. Regarding preventive behaviors against NIHL, 49.1% of the normal group had these behaviors, whereas only 40.9% of the severe NIHL group had. Personal factors, perceptive factors, cue to action to prevent NIHL, and the audiometric result were not associated with preventive behaviors. However, some personal factors such as age, education and duration of employment, and some preventive behaviors such as the using of personal protective equipment (PPE) and having regular audiometry were significantly associated with the audiometric result (p<0.05). This research revealed that the Health Belief Model could not explain preventive behaviors against NIHL in these EGAT's workers. Nevertheless, PPE use and regular audiometry should be encouraged throughout EGAT to reduce NIHL when it is still not able to control noise levels in the workplace at safe level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12000 |
ISBN: | 9743340696 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuthaya_Ma_front.pdf | 787.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuthaya_Ma_ch1.pdf | 802.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuthaya_Ma_ch2.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuthaya_Ma_ch3.pdf | 757.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuthaya_Ma_ch4.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuthaya_Ma_ch5.pdf | 847.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuthaya_Ma_back.pdf | 853.09 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.