Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12045
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวลัย พานิช-
dc.contributor.authorรัตนา ชัยเศรษฐ์ศิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-02-23T06:36:05Z-
dc.date.available2010-02-23T06:36:05Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743345515-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12045-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาบทบาทของครูสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยตามการรับรู้ของตนเอง ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน และด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ตัวอย่างประชากรเป็นครูผู้สอนสังคมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 354 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละและการแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย พบว่า ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาเจตคติและค่านิยมให้ผู้เรียนมีค่านิยมรัก ภาคภูมิใจและหวงแหนวัฒนธรรมไทย ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่สอนการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยโดยตรงและสอนสอดแทรกในรายวิชาบังคับและกิจกรรมชุมนุม วิธีสอนส่วนใหญ่ที่ครูใช้ได้แก่ การบรรยายและการอภิปราย ด้านสื่อการเรียนการสอนส่วนใหญ่ได้จัดทำภาพชุดประกอบเนื้อหาวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยและโบราณสถานวัตถุ สื่อของจริงที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ หัตถกรรมพื้นบ้าน ในด้านการวัดและประเมินผล ครูส่วนใหญ่ใช้ การสังเกตพฤติกรรมในห้องเรียนการปฏิบัติจริงและการทดสอบความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย ส่วนด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ครูส่วนใหญ่จัดป้ายนิเทศ 2. ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนในด้านปฏิบัติตนตามกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรม 3. ด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านมีความรับผิดชอบเป็นอย่างดีในการอบรมสั่งสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมและให้คำปรึกษาในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามวัฒนธรรมไทยen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study the roles of social studies teachers in secondary schools on Thai culture conservation as perceived by themseleves in the aspects of instructional activities in classrooms and extra curriculum, participation in community activities and good role models. The sample group which was multi-stage random selected was 354 secondary school social studies teachers in Bangkok. The research instrument was a set of questionnaire the data were analyzed by means of percentage and frequencies. The results of this reseach were as follows: 1. In the aspect of instructional activities in classrooms and extra curriculum, most of the teachers emphasized on the attitude and value development on being proud of the fondness of Thai culture. Most of the teachers directly and insinuately taught Thai culture conservation in the core subjects and club activities. Lecture and discussion were mostly used. Most of the teachers used series of pictures about ways of life, Thai custom, ancient places and objects. Local handicrafts were mostly used as real objects. Most of the teachers used studetns' behaviour observation in classes and multiple choice tests in evaluation. Most of the teachers used bulletin board for extra curriculum activities. 2. In the aspect of participation in the community activities, most of the teachers took part in their community's religious ceremonies and cultural activities. 3. In the aspects of good role models, most of the teachers took the best responsibility for teaching students' knowledge and understanding, awareness of cultural value and giving advice on Thai cultural practices.en
dc.format.extent784888 bytes-
dc.format.extent785446 bytes-
dc.format.extent1184222 bytes-
dc.format.extent754275 bytes-
dc.format.extent853147 bytes-
dc.format.extent854186 bytes-
dc.format.extent985912 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.505-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectครูสังคมศึกษาen
dc.subjectวัฒนธรรมไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectการรับรู้ตนเองen
dc.titleบทบาทของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยตามการรับรู้ของตนเองen
dc.title.alternativeThe roles of social studies teachers in secondary schools on Thai culture conservation as perceived by themselvesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการสอนสังคมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWalai.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.505-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_Ch_front.pdf766.49 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Ch_ch1.pdf767.04 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Ch_ch2.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Ch_ch3.pdf736.6 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Ch_ch4.pdf833.15 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Ch_ch5.pdf834.17 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Ch_back.pdf962.8 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.