Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12052
Title: | การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกัน ของข้อสอบด้วยวิธีแมนเทล-แฮนส์เซลกับวิธีซิบเทสท์ เมื่อความยาวแบบสอบ ขนาดกลุ่มตัวอย่างและอัตราส่วน ของกลุ่มอ้างอิงและกลุ่มเปรียบเทียบต่างกัน |
Other Titles: | A comparison of the efficiency between the mantel-haenszel and sibtest procedures in detecting differential item functioning with different test lengths samples sizes and ratios of reference and focal groups |
Authors: | จิติมา วรรณศรี |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี กาญจนา วัธนสุนทร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Sirchai.k@chula.ac.th drkanjana@yahoo.com, edaswkan@stou.ac.th |
Subjects: | ข้อสอบ การวัดผลทางการศึกษา |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการตรวจสอบ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบระหว่างวิธีแมนเทล-แฮนส์เซลกับวิธีซิบเทสท์ โดยใช้ข้อมูลจำลองจากโปรแกรม IRTDATA เงื่อนไขที่ศึกษาได้แก่(1) ความยาวแบบสอบ 3 ขนาด คือ 30 ข้อ, 60 ข้อและ 90 ข้อ (2) ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 3 ขนาด คือ 200คน, 600 คนและ 1,000 คน โดยแต่ละขนาดมีอัตราส่วนระหว่างผู้สอบกลุ่มอ้างอิงกับกลุ่มเปรียบเทียบ 4 อัตราส่วน คือ 1:1, 1:0.9, 1:0.75 และ 1:0.5 รวมเงื่อนไขที่ศึกษาทั้งหมด 36 เงื่อนไข ผลการวิจัยพบว่า 1. วิธีแมนเทล-แฮนส์เซลกับวิธีซิบเทสท์มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ ที่ทุกขนาดกลุ่มตัวอย่างและทุกอัตราส่วน ภายใต้ความยาวแบบสอบเดียวกันเมื่อขนาดกลุ่มตัวอย่าง 200 และ 600 คน สามารถตรวจสอบพบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันได้ถูกต้องร้อยละ 50 และเมื่อขนาดกลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน สามารถตรวจสอบพบข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันได้ถูกต้องร้อยละ 100 โดยส่วนมากวิธีซิบเทสท์มีอัตราความคลาดเคลื่อนชนิดที่ 1 มากกว่าวิธีแมนเทล-แฮนส์เซลเล็กน้อย 2. วิธีแมนเทล-แฮนส์เซลกับวิธีซิบเทสท์มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน ที่ทุกระดับความยาวแบบสอบ โดยพบว่าเมื่อใช้แบบสอบที่มีความยาวปานกลาง(60 ข้อ) มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบที่ดีที่สุด |
Other Abstract: | The purpose of this research was to compare the efficiency between the Mantel-Haenszel and SIBTEST procedures in detecting differential item functioning. Data were simulated from IRTDATA program. Factors of this study were(1) 3 sizes of test lengths; 30, 60 and 90 items(2) 3 simple sizes of examinees; 200, 600 and 1,000, each sample size had 4 ratios of reference to focal group; 1:1, 1:0.9, 1:0.75 and 1:0.5. Thirty-six conditions were investigated in this study. Results of this research were as follows: 1. The Mantel-Haenszel and SIBTEST procedures were equally efficient in detecting DIF for all sample sizes and ratios under the same test length. Fifty percents of DIF items correctly identified with 200 and 600 of sample sizes. Hundred percents of DIF items correctly identified with 1,000 of sample sizes. SIBTEST procedure yielded slightly higher Type I error rates than the Mantel-Haenszel procedure. 2. The Mantel-Haenszel and SIBTEST procedures were equally efficient in detecting DIF at all sizes of test lengths, with best results at 60 items length. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12052 |
ISBN: | 9746364553 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jitima_Wa_front.pdf | 771.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitima_Wa_ch1.pdf | 805.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitima_Wa_ch2.pdf | 834.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitima_Wa_ch3.pdf | 782.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitima_Wa_ch4.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitima_Wa_ch5.pdf | 796.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitima_Wa_back.pdf | 844.22 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.