Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12085
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดวงดาว อาจองค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-03-02T08:20:10Z-
dc.date.available2010-03-02T08:20:10Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12085-
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้เสนอแนวทางใหม่ในการนำเศษผ้าฝ้ายเหลือทิ้งจากโรงงานสิ่งทอมาใช้ใหม่ในลักษณะเป็นการเสริมแรงในพอลิโพรพิลีน โดยในขั้นแรกต้องทำการแปรสภาพเศษผ้าฝ้ายผืนด้วยปฎิกิริยาการไฮโดรไลซิสด้วยกรดเพื่อให้ได้เป็นสารตัวเติมในลักษณะที่เป็นผงก่อน หลังจากนั้นจึงนำสารตัวเติมผงมาปรัปปรุงพื้นผิวด้วยสารเคมีสองชนิดคือ มาเลอิกแอนไฮไดรด์ พอลิโพรพิลีน โคพอลิเมอร์ และกรดเสตียริก เพื่อให้สามารถยึดติดและเข้ากันได้ดีกับเมทริกซ์พอลิโพรพิลีน ในขั้นสุดท้ายจึงทำการเตรียมวัสดุเชิงประกอบโดยใช้ผงฝ้ายทั้งที่ผ่านการปรับปรุงและไม่ผ่านการปรับปรุงในปริมาณ 0-20% โดยน้ำหนักของพอลิโพรพิลีน จากนั้นจึงทำการทดสอบสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน ความสามารถในการดูดซึมน้ำ และ ลักษณะพื้นผิวที่แตกหักของวัสดุเชิงประกอบ ผลการศึกษาพบว่าสมบัติความทนแรงดึงและความทนแรงตัดโค้งของวัสดุเชิงประกอบซึ่งทำจากสารตัวเติมผงฝ้ายที่ปรับปรุงด้วยมาเลอิกแอนไฮไดร์ด พอลิโพรพิลีน โดพอลิเมอร์ มีค่าเพิ่มสูงขึ้นจากพอลิโพรพิลีนก่อนที่จะเติมสารตัวเติม และมีค่าเพิ่มสูงกว่าวัสดุเชิงประกอบซึ่งทำจากผลฝ้ายที่ไม่ได้ปรับปรุงพื้นผิว และผงฝ้ายที่ปรับปรุงด้วยกรดสเตียริก ซึ่งผลการทดลองดังกล่าวนี้สามารถยืนยันและสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวที่แตกหักของวัสดุเชิงประกอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กครอนแบบส่องกราดซึ่งพบว่า การปรับปรุงสารตัวเติมผงฝ้ายด้วยมาเลอิกแอนไฮไดร์ด พอลิโพรพิลีน โดพอลิเมอร์ ทำให้สารตัวเติมสามารถยึดติดและกระจายตัวในเนื้อพลาสติกพอลิโพรพิลีนได้ดีกว่าวัสดุเชิงประกอบชนิดอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าวัสดุเชิงประกอบทุกชนิดมีแนวโน้มในการดูดซึมน้ำที่ต่ำมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัสดุเชิงประกอบอบที่มีสารตัวเติมผงฝ้ายที่ผ่านการปรับปรุงด้วยมาเลอิกแอนไฮไดร์ด พอลิโพรลีน โดพอลิเมอร์ เนื่องจากลักษณะความไม่ชอบน้ำของผงฝ้ายภายหลังจากการปรับปรุงen
dc.description.abstractalternativeThis research presents the new approach to recycle waste cotton fabrics from textile factory by using them as a reinforcing filler in polypropylene (PP). in doing so, waste cotton fabric was first transfigured by acid hydrolysis reaction in order to obtain suitable filler in the powder from. After that, the cotton filler was surface treated with two coupling agents, maleic anhydride polypropylene copolymer (MAH-PP) and stearic acid, to improve adhesion and compatibility between the cotton filler and polypropylene matrix. Finally, the composites were prepared by varying amount of treated and untreated cotton powder from 0 to 20% with 5% interval, by weight to polypropylene. Mechanical properties, thermal properties, water absorption, and fractured surface of the composites were investigated as a function of coupling agents and cotton filler content. The results show that the tensile and flexural properties of MAHPP-cotton/PP composites were greater than those of pure PP, untreated-cotton/PP, and stearic-cotton/PP composites. These results were confirmed and in good agreement with the results from SEM analysis that the adhesion and dispersion of the MAHPP-cotton in PP matrix were better than any other composites. In addition, all composites showed very low water absorption, in particular the MAHPP-cotton/PP composites, which is owing to the hydrophobic surface of the cotton power after surface treatment.en
dc.description.sponsorshipกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.format.extent7214928 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโพลิโพรพิลีนen
dc.subjectผ้าฝ้าย -- การเสริมแรงen
dc.subjectของเสียจากโรงงานen
dc.titleการปรับปรุงผิวของผงฝ้ายที่ได้จากการแปรสภาพทางเคมีของเศษผ้าเพื่อใช้เป็นสารเสริมแรงในพอลิโพรพิลีน : รายงานผลการวิจัยen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorduangdao.a@chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangdao_Ah.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.