Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12087
Title: การแสวงหาแนวทางในการลดปัญหาด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มการรับการปันผลทางประชากรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร : รายงานวิจัย
Other Titles: Searching for precedures to minimizing demographic health problems in order to maximize demographic dividend
Authors: เกื้อ วงศ์บุญสิน
นวพรรณ จารุรักษ์
สุวาณี สุรเสียงสังข์
วิราภรณ์ โพธิศิริ
Email: Kua.W@chula.ac.th
Navapun.C@Chula.ac.th
fcomssr@acc.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: สุขภาพ
เบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแล
คนพิการ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อหาระดับสถานะสุขภาพของคนไทยช่วงอายุ 20-59 ปี และเพื่อหารูปแบบการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานให้ได้รับการดูแลที่มีผลดีที่สุด รวมทั้งเพื่อหาแนวทางในการเตรียมการเพื่อรองรับปัญหาทุพพลภาพที่เหมาะสม งานวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 ทำการประเมินสถานะสุขภาพประชากร โดยใช้แบบสอบถามประเมินสถานะสุขภาพตนเองที่พัฒนาจากแบบประเมินสถานสุขภาพ SF 36 รวมทั้งการตรวจของแพทย์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระยะที่ 2 ทำการประเมินแนวโน้มการดูแลกลุ่มประชากรที่มีปัญหาทุพพลภาพ โดยใช้แบบสอบถามและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจากผู้ป่วยเบาหวาน (DM type II) ที่ได้ทดลองใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบพกพา เป็นระยะเวลา 3 เดือน และจากกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้ทดลองใช้เครื่องมือดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า ประชากรตัวอย่างส่วนใหญ่ประเมินสุขภาพตนเองว่าอยู่ในระดับดี แต่เมื่อแบ่งระดับชั้นของสุขภาพกลับพบว่าสุขภาพคนไทยอายุ 20-59 ปีกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในกลุ่มที่เริ่มมีปัญหาสุขภาพ จึงควรจัดให้มีองค์กรหรือหน่วยงานที่จะให้คำแนะนำหรือความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนอย่างถูกต้อง จริงจัง เข้าถึงอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยเบาหวานที่ทดลองใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์น้ำตาลชนิดพกพา ส่วนใหญ่เห็นว่าอุปกรณ์นั้นมีประโยชน์คุ้มค่ากับราคาที่จะต้องจ่ายและพึงพอใจกับอุปกรณ์ดังกล่าว ผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้อุปกรณ์นี้มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ใช้อุปกรณ์นี้ไม่พบการเปลี่ยนแปลงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผลของการใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาลมีค่าต่ำกว่าส่วนต้นทุน-ประสิทธิผลของการรักษาเบาหวานโดยไม่ใช้เครื่องตรวจระดับน้ำตาล จึงสรุปได้ว่าการนำเครื่องตรวจวิเคราะห์น้ำตาลชนิดพกพามาใช้ในการรักษาเบาหวานมีมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการรักษาแบบเดิมเพียงอย่างเดียว สำหรับแนวทางในการวางระบบการติดตามดูรักษาผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมโดยเร็วที่สุดในการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ใกล้กับระดับปกติ
Other Abstract: The objectives of this research aim to search for the level of health status of the Thais aged 20-59 years and to find the best pattern of health care for the diabetes patients; including to provide the appropriate way of the measurements for the disability problems. The research is divided into 2 phases: the first is to evaluate the heath status of the population by using health status questionnaire provided for self-evaluation which developed from SF 36 health status evaluated questionnaire including the medical diagnosis and laboratory tests. The second phase focuses on the evaluation of the trends in taking care of the population where the disability problems are concerned by using the questionnaire and the results of laboratory tests of diabetes patients (DM type II) which are tested by using self-monitoring of blood glucose meter for 3 months continuously and those from the patients who do not use the self-monitoring of blood glucose meter. The findings of the research reveal that most of the samples evaluate that their health are in the good level. When considering by dividing their level of heath status, it is found that the heath status of more than half of the Thais aged 20-59 years is classified to be in the group where the health problems are occurring. Therefore, the government should provide any organizations and agencies for consulting and giving accurate health knowledge which must be serious, appropriate access and efficient for the people. Most of the diabetes patients who practiced and tested by self-monitoring of blood glucose meter indicate that this equipment is very useful and cost effectiveness; and they are contented with the equipment. The results of laboratory tested of these patients using the equipment are diverse in the better way statistically significant. While the result of the research is shown that there is not any significantly laboratory test changes in the group of patients who do not use this equipment. Besides, the results indicate that the value of cost effectiveness ratio of using self-monitoring of blood glucose meter is lower than those who do not use glucose meter. In concluding the using of self-monitoring of blood glucose meter in diabetes patients curing is more efficient than using the previous curing method only. For searching the trend in taking care of the diabetes patients and followed-up system efficiently, the patients must participate in controlling their glucose level to close to the normal level as soon as possible.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12087
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pop - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kua_Wo.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.