Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1214
Title: การศึกษาวิธีเพิ่มความสามารถทนไฟให้แก่แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงดึงภายหลังชนิดยึดเหนี่ยว
Other Titles: A study of fire-endurance improvement methods for bonded post-tensioned concrete slabs
Authors: บัณฑิต คมกริชวรากูล, 2519-
Advisors: ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fcecst@eng.chula.ac.th
Subjects: วัสดุทนไฟ
คอนกรีตอัดแรง
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการเพิ่มความสามารถในการทนไฟให้แก่แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงดึงภายหลังชนิดยึดเหนี่ยว ในการศึกษาใช้แผ่นพื้นตัวอย่างขนาด 2.8x1.5 เมตร หนา 12 ซม. ทั้งสิ้น 5 ตัวอย่าง โดยในแต่ละชิ้นตัวอย่างมีการฝังท่อร้อยลวดที่มีลวดอัดแรงและวัสดุเกราท์อยู่ภายใน ตัวแปรที่ศึกษาในการเพิ่มความสามารถในการทนไฟในงานวิจัยนี้ ได้แก่ 1) ระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมปกติที่ท้องพื้น 2) ความหนาของคอนกรีตหุ้มท่อร้อยลวดเกลียว 3) ชนิดของวัสดุผสมเพิ่มในวัสดุเกราท์ในท่อร้อยลวด 4) การทาสารอินทูเมสเซนท์ที่ผิวด้านล่างของแผ่นพื้น และ 5) การติดแผ่นยิปซัมทนไฟที่ผิวด้านล่างของแผ่นพื้น โดยในการทดสอบทำโดยการติดตั้งชิ้นตัวอย่างที่ด้านบนของเตาเผา และให้ผิวด้านล่างของชิ้นตัวอย่างสัมผัสกับอุณหภูมิตามมาตรฐาน ASTM E119 ระหว่างการทดสอบทำการเก็บข้อมูลอุณหภูมิภายในเตา อุณหภูมิของคอนกรีตที่ผิวบนและที่ระดับ 3 ซม. 6 ซม. และ 9 ซม. จากผิวล่างของแผ่นพื้น อุณหภูมิของเหล็กเสริมปกติ อุณหภูมิของเหล็กเสริมอัดแรง และชนิดการหลุดร่อนของคอนกรึตที่เกิดขึ้น โดยอัตราการทนไฟของชิ้นตัวอย่างจะพิจารณาจากอุณหภูมิของลวดอัดแรงเป็นหลัก และใช้ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ASTM E119 เป็นตัวกำหนดอัตราการทนไฟของชิ้นตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าสำหรับชิ้นตัวอย่างที่ทดสอบ การลดระยะห่างเหล็กเสริมจาก 40 เป็น 20 ซม. ไม่มีผลต่อการเพิ่มความสามารถทนไฟของแผ่นพื้น การเพิ่มความหนาของคอนกรีตหุ้มท่อร้อยลวดเกลียวเพิ่มความสามารถทนไฟดีที่สุด การเปลี่ยนส่วนผสมของวัสดุเกราท์ช่วยเพิ่มความสามารถทนไฟได้เล็กน้อย การทาสารอินทูเมสเซนท์ที่ผิวด้านล่างของแผ่นพื้นสามารถชะลอการเพิ่มอุณหภูมิของลวดอัดแรงได้ในช่วง 2 ชั่วโมง และการติดแผ่นยิปซัมที่ผิวล่างของแผ่นพื้นอาจมีผลทำให้เกิดการประลัยของแผ่นพื้นอย่างกระทันหันอัน เนื่องมาจากการหลุดร่อนชนิดการระเบิดออกของผิวคอนกรีตภายหลังจากการหลุดร่อนของแผ่นยิปซัม นอกจากนี้ยังพบว่าทฤษฎีการนำความร้อน1 มิติภายใต้สภาวะแปรปรวน สามารถใช้นำมาวิเคราะห์ลักษณะการเพิ่มอุณหภูมิของชิ้นตัวอย่างที่ทดสอบได้
Other Abstract: This research investigates different methods used to improve fire-resistance of bonded post-tensioned concrete slabs. Five 2.8 m x 1.5 m reinforced concrete slabs with 12 cm thickness were used as the specimens of the study. Conduits with prestressing tendon and grouting cement were embedded in each specimen. Variables studied as methods for improving fire-endurance were 1) spacing of regular steel reinforcement at the bottom of the slab; 2) distance of concrete cover for conduits; 3) different materials used in grouting cement; 4) application of intumescent paint on the bottom surface of the specimen and 5) installation of fire-proof gypsum boards on the bottom surface of the specimen. Each specimen was placed over a horizontal furnace and the bottom surface was subjected to temperature in accordance with ASTM E-119. Furnace temperature, temperature at the top surface and at 3 cm, 6 cm and 9 cm from the bottom surface, temperature of the prestressing tendon, temperature of regular reinforcement, and characteristics of concrete spalling were recorded during the test. Fire-resistance of the specimen was based primarily on the temperature of the prestressing tendon. Temperature criteria given in ASTM E-119 were used as failure criteria for each specimen. Findings from the experimental program of this study can be summarized as follows: 1) the spacing of regular steel reinforcement did not significantly affect the fire endurance of the specimens; 2) increasing concrete cover for conduits significantly increased fire endurance of the specimen; 3) different materials used in grouting cements had little effect in increasing fire endurance; 4) intumescent coating delayed the temperature increase of presstressing tendon during the first 2 hour-period and 5) installation of gypsum boards could lead to a sudden failure of the specimen caused by explosive spalling of concrete after detachment of gypsum boards. The study also showed that the theory of one dimensional transient heat transfer could be used to estimate the temperature increase of the specimens with good accuracy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1214
ISBN: 9740309771
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bundit.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.