Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12156
Title: | การจำลองการแพร่กระจายคลื่นวิทยุ สำหรับการสื่อสารเคลื่อนที่ในเขตเมือง |
Other Titles: | Radio wave propagation modelling for mobile communication in urban environments |
Authors: | วันชัย อัมพุชินีวรรณ |
Advisors: | ฉัตรชัย ไวยาพัฒนกร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Chatchai.W@chula.ac.th |
Subjects: | การแพร่กระจายคลื่นวิทยุ คลื่นวิทยุ ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ ทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า การเลี้ยวเบนเชิงเรขาคณิต |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีงานวิจัยเกี่ยวกับ แบบจำลองการแพร่กระจายคลื่นที่ใช้กรรมวิธีเชิงรังสี ได้รับการตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากความยืดหยุ่นของกรรมวิธี และความสามารถในการประยุกต์ใช้ได้กับสภาพแวดล้อมของเมืองที่แตกต่างกัน อีกทั้งแบบจำลองประเภทนี้มีความแม่นยำสูงกว่าแบบจำลองเชิงประจักษ์ ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน สำหรับแบบจำลองการแพ่กระจายคลี่นวิทยุ ที่นิยมใช้ในกิจการสื่อสารเคลื่อนที่ของกรุงเทพมหานคร เป็นแบบจำลองเชิงประจักษ์ที่อาศัยการปรับเทียบ กับผลการวัดการแพร่กระจายจริง ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรมากทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ เงินและเวลาที่ต้องใช้ไปและเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้แบบจำลองเชิงประจักษ์ไม่มีความยืดหยุ่น และอาจไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมของกรุงเทพมหานครที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แบบจำลองเชิงรังสี ในเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร เพื่อทำนายความเข้มสนามไฟฟ้า โดยการจำลองตึกกีดขวางเป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ ที่มีความสูงแตกต่างกัน และมีพื้นผิวเรียบที่กำหนดค่าคุณลักษณะทางไฟฟ้าให้เหมือนกัน ร่วมกับการพิจารณาแบบรูปการแผ่พลังงานของสายอากาศ และทิศทางของแนวเล็งของสายอากาศ จากฐานข้อมูลของตึกกีดขวางและฐานข้อมูลสายอากาศ ประกอบกับกรรมวิธีติดตามทางเดินรังสีอย่างง่าย ที่ใช้หลักการทัศนศาสตร์เรขาคณิตและทฤษฎีเลี้ยวเบนเชิงเอกรูป ทำให้สามารถคำนวณขนาดสนามไฟฟ้าที่ตำแหน่งต่างๆ ได้ โดยฐานข้อมูลของตึกกีดขวางประมาณสัณฐานเป็นรูปทรงเรขาคณิตอย่างง่าย เช่น ทรงสี่เหลี่ยมหลายรูปประกอบกัน เพื่อช่วยลดความซับซ้อนของการติดตามทางเดินรังสีลง จากสมมุติฐานเกี่ยวกับสิ่งกีดขวางและหลักการเบื้องต้นดังที่กล่าว ทำให้สามารถจำลองลักษณะการแพร่กระจายความเข้มสนามไฟฟ้า ที่ตำแหน่งสังเกตต่างๆ ได้ และการจากการวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบ ระหว่างผลการวัดและผลการคำนวณจะได้ฟังก์ชันชดเชยเนื่องจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ละเลยไป เช่น ต้นไม้ ป้ายร้านค้า เสาไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งเมื่อนำมาประกอบกับผลการคำนวณจะได้แบบจำลองการแพร่กระจายคลื่น ที่ให้ค่าคำนวณใกล้เคียงกับผลการวัดจริง และสามารถนำไปใช้กับสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่มีฐานข้อมูลของตึกกีดขวางกระจายตัวแบบอื่นๆ ได้ |
Other Abstract: | In the last decade, there have been several papers on propagation modelling using ray tracing method. This is because of the technique's flexibility and applicabilility to deverse urban topographic characteristics. Moreover, this type o model is more accurate than the present popular empirical model. The application of radio wave propagation modelling on mobile communication environment in Bangkok, mostly based on empirical model, has difficulty that it needs the adjustment of the model and consumes a lot of resources. This makes the propagation model inflexible and it is difficult to predict the propagation path loss over all areas with only one adjustment. The ray tracing model is investigated by the author for predicting the electric field's strength in Bangkok's urban areas. The buildings are modeled by groups of rectangular shapes with mixed height, smooth-flat surface and predetermined electrical characteristics. The anthenna's parameters such as power patten and the pointing direction are also included. With building database and antenna database, basic ray tracing algorithm with field calculation using Go/UTD has been employed in the calculation of field strength. To reduce the complexity of ray tracing, the buildings are assumed to be the combination of simple rectangular shapes. With this apporach, we can produce radio wave propagation model using basic ray tracing algorithm with simple building assumption and the correcting fuction from comparative analysis makes the model more accurate and reliable. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12156 |
ISBN: | 9743330402 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wanchai_Am_front.pdf | 796.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_Am_ch1.pdf | 756.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_Am_ch2.pdf | 893.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_Am_ch3.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_Am_ch4.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_Am_ch5.pdf | 694.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_Am_back.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.