Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12168
Title: ลักษณะไทยภาคกลางสมัยใหม่ในงานออกแบบสถาปัตยกรรมประเภทบ้านพักอาศัยในปัจจุบัน
Other Titles: Central region modern Thai character in current residential architecture
Authors: อภินันท์ พงศ์เมธากุล
Advisors: วิมลสิทธิ์ หรยางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: hvimolsi@arch.tu.ac.th, hvimolsiddhi@hotmail.com
Subjects: บ้าน -- ไทย (ภาคกลาง)
การออกแบบสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมไทย
เรือนไทย
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันพบว่า สถาปนิกผู้ออกแบบได้นำลักษณะไทยภาคกลางมาใช้ในงานออกแบบบ้านพักอาศัยอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของการออกแบบสถาปัตยกรมแนวใหม่ ดังสมมุติฐานการวิจัยที่ว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าลักษณะไทยภาคกลางสมัยใหม่อันเป็นที่ยอมรับได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการศึกษา เพื่อทราบถึงความคิดเห็นของสถาปนิกทั่วไปต่อการยอมรับแนวทางการออกแบบแนวใหม่ ตลอดจนเพื่อทราบถึงคุณค่าของลักษณะไทยภาคกลางสมัยใหม่ในงานออกแบบบ้านพักอาศัยในปัจจุบัน การวิจัยนี้ได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวกับลักษณะไทยภาคกลาง รวมทั้งการศึกษาที่ได้จากการสัมภาษณ์สถาปนิกผู้ออกแบบบ้านพักอาศัยที่มีลักษณะไทยภาคกลางสมัยใหม่ ซึ่งใช้เป็นอาคารตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ตลอดจนทำการสำรวจลักษณะทางกายภาพของอาคารตัวอย่างที่ศึกษา ทั้งนี้ เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ทั้งหมดไปจัดทำแบบสอบถาม ซึ่งมีแนวคำถามที่เกี่ยวกับคุณค่า และการยอมรับลักษณะไทยภาคกลางที่นำมาใช้ในงานออกแบบบ้านพักอาศัยในปัจจุบัน และนำแบบสอบถามไปสอบถามกลุ่มสถาปนิกทั่วไปจำนวน 300 คน ผลการวิจัยพบว่า สถาปนิกทั่วไปมีความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. ความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับเอกลักษณ์ไทย บ้านพักอาศัยทั่วไปยังไม่มีเอกลักษณ์ไทย ในยุคโลกาภิวัตน์ สถาปนิกส่วนใหญ่เริ่มให้ความสำคัญต่อเอกลักษณ์ไทยในงานออกแบบ แนวทางการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยเดิมมาพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน เป็นแนวทางการออกแบบในเชิงอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย อันเป็นที่ยอมรับของสถาปนิกทั่วไป 2. คุณค่าลักษณะไทยภาคกลางสมัยใหม่ ก) รูปแบบที่มีคุณค่าค่อนข้างมาก ได้แก่ การนำต้นไม้มาใช้เป็นองค์ประกอบ การจัดวางอาคารเป็นกลุ่ม ชานหรือนอกชาน การยื่นชายคายาว หลังคาทรงสูงหน้าจั่ว และองค์ประกอบทั่วไป ได้แก่ ค้ำยัน ซุ้มประตู และเสาลอยข) รูปแบบที่มีคุณค่าไม่เด่นชัด ได้แก่ การนำเส้นสายแบบไทยมาประยุกต์ การจัดวางอาคารหลังเดี่ยว การนำลักษณะใต้ถุนมาใช้ในงานออกแบบ การแสดงออกถึงสัจจะของการใช้วัสดุ และหลังคาทรงสูงลักษณะอื่นๆ ค) รูปแบบที่มีคุณค่าค่อนข้างน้อย ได้แก่ การนำเส้นสายของหน้าบันมาประยุกต์ และการยื่นชายคาสั้น 3. การยอมรับต่อการนำลักษณะไทยภาคกลางมาใช้ในงานออกแบบ สถาปนิกทั่วไปยอมรับการนำลักษณะไทยภาคกลางมาใช้ในงานออกแบบ แต่ควรคำนึงประเด็นที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับการนำลักษณะไทยภาคกลางมาใช้ในงานออกแบบเป็นสำคัญอย่างไรก็ตาม นับว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนางานออกแบบบ้านพักอาศัยให้มีลักษณะไทยที่เด่นชัดต่อไป โดยศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ คือ 1. ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย ซึ่งทำให้ทราบถึงรากเหง้าที่มีความสำคัญต่อการพัฒนารูปแบบลักษณะไทยสมัยใหม่ได้อย่างถูกทิศทาง อันเป็นพื้นฐานอันสำคัญเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2. วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้าง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างของรูปแบบสถาปัตยกรรมในอดีตกับปัจจุบัน และยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตอันใกล้ 3. สภาพการณ์ของการเปลี่ยนแปลงโดยรวม ได้แก่ สภาพทางสังคท เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทโนโลยี ตลอดจนวิถีชีวิตในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมส่งผลให้รูปแบบสถาปัตยกรรมเปลี่ยนไปด้วย การวิจัยครั้งนี้สามารถนำผลที่ได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานออกแบบบ้านพักอาศัยให้มีลักษณะไทยภาคกลางสมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสม อันเป็นการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมไทยให้ยั่งยืนสืบไป
Other Abstract: At the present moment, Thai architects usually introduce the Central Thai character for the design of new domestic architecture. The approach gives a new character to the Central Region to Thailand. It is necessary therefore to make a careful investigation of the acceptance of the so-called "new design" among the architects and designers. Not less than 300 subjects were thus surveyed through using questionnaire. The results of investigation among architects can be reported as follows:- 1) The general information about the Thai houses: In the event of globalization, the mansions or houses are still lacking its Thai character, though most of the architects are trying to exert the importance of Thai characteristics into their design; to integrate the original Thai Architecture to the modern existence has become the goal for all architects. 2) The new modern Thai character of Central Region: a) Valuable design: One of the theme is enhanced by trees which can be introduced to become elements in grouping of buildings forming an extension of out-door environment; gable of high-pitched roof, bracing and free standing posts for examples can also be included. b) Styles with subordinate quality: The arrangement of a single mass, the honest use of materials, or the use of other forms of high-pitch roof, etc. c) Other forms which are subduable in design: Making use of the pattern in gable-end (Na-baan) of the Thai Architecture and the short projection of roof-eave. 3) The acceptance of the majority in the introduction of Central Thai style for houses: There are certain Thai features that were not accepted by all architects. However, it is necessary that we have to develop the design of these residential units and exert a clear Thai style on the design by fully studying on various aspects. They are:- 1) The history of Thai Architecture in order to identity the roots which are necessary to the developments of the new Thai character. 2) The materials and construction technology would be the causes of the difference between the past and present and leading to the future change. 3) The motivation for the social, economic, technological and cultural changes including the present ways of living; these changes would eventually effect the form of architecture This research would help to develop the appropriate design of new houses or living quarters in the Central Region of Thailand which would be able to sustain the Thai cultural heritage
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12168
ISBN: 9743330879
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apinant_Ph_front.pdf827.55 kBAdobe PDFView/Open
Apinant_Ph_ch1.pdf907.31 kBAdobe PDFView/Open
Apinant_Ph_ch2.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Apinant_Ph_ch3.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Apinant_Ph_ch4.pdf976.68 kBAdobe PDFView/Open
Apinant_Ph_ch5.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Apinant_Ph_ch6.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Apinant_Ph_back.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.