Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12175
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรวัฒน์ วิรยศิริ-
dc.contributor.advisorอวยชัย วุฒิโฆสิต-
dc.contributor.authorธีรยุทธ์ แพร่กุลธาร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-03-15T02:08:41Z-
dc.date.available2010-03-15T02:08:41Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741729898-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12175-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractวิชาชีพสถาปัตยกรรม เป็นงานบริการหนึ่งที่ถูกกำหนดอยู่ในงานบริการด้านธุรกิจ ประเภทการปฏิบัติวิชาชีพ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) อันเป็นข้อตกลงหนึ่งขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ ในช่วงเวลาที่ศึกษานี้ การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศยังเป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทยเท่านั้น ดังนั้นการเข้ามาทำงานของสถาปนิกต่างชาติจึงกลายเป็นประเด็นที่ควรจะมีการ ศึกษาวิจัย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึง การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสถาปนิกในประเทศไทย ความคิดเห็นของสถาปนิกถึง ข้อดีและข้อเสียที่อาจเกิดขึ้น และหาแนวทางในการเปิดเสรีการค้าในวิชาชีพนี้ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด วิธีการศึกษา เป็นการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างสถาปนิกแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคณะอนุกรรมการด้านการเปิดเสรีการค้าด้านบริการสถาปัตยกรรมของสภา สถาปนิก 2. กลุ่มผู้ให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่มีประสบการณ์ในการรับงานในต่าง ประเทศอย่างต่อเนื่อง 3. กลุ่มผู้ให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่มีประสบการณ์ในการทำงานภายในประเทศ เป็นหลัก โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงบรรยายโดยอาศัยการแจกแจงความถี่ประกอบการวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า ความเข้าใจในแต่ละชนิดงานของการให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน ยังไม่สอดคล้องกับชนิดงานตามกฎหมายนัก เนื่องจากตัวกฎหมายให้ความหมายในแต่ละชนิดงานไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนในทางปฏิบัติ และอาจเป็นปัญหาในเรื่องการให้ความหมาย เมื่อเปรียบเทียบกับคำนิยามการให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมขององค์การการค้า โลก (WTO) นอกจากนี้ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรมีการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมอย่างมีเงื่อนไข และเป็นขั้นเป็นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรที่จะต้องให้มีการร่วมงานกันระหว่างสถาปนิกไทยกับ สถาปนิกต่างชาติ ส่วนการให้สถาปนิกต่างชาติที่จะเข้ามาทั้งในรูปบุคคลและนิติบุคคลอย่างอิสระ นั้น ยังไม่สมควรเปิดเสรีในระยะเวลานี้ อีกทั้งยังต้องมีการกำหนดคุณสมบัติ และข้อกำหนดในการรับใบอนุญาตให้เกิดความชัดเจน และเห็นว่าวิชาชีพจะต้องมีการสร้างความพร้อมในอีกหลายด้านด้วยกัน ดังนั้น แนวทางในการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมหลัก ของสถาปนิกต่างชาติในประเทศไทยนั้น จะต้องทำร่วมกัน 3 แนวทางคือ 1. แนวทางการเลือกรูปแบบและการสร้างเงื่อนไข ในการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพ 2. การจัดทำข้อกำหนด กฎเกณฑ์ และคุณสมบัติต่างๆ ของสถาปนิกต่างชาติ เพื่อขอรับใบอนุญาตให้เข้ามาทำงาน 3. การเตรียมความพร้อมและการพัฒนาองค์กรและบุคลากร ในวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศไทยen
dc.description.abstractalternativeProfessional practice of architecture is one subsection in the business sector dealt with Wold Trade Organization (WTO) under General Agreement on Trade in Services (GATS). Previously, professional practice of architecture in Thailand was protected for Thais only but, as a WTO member under GATS, foreign architects can now work in the Kingdom. This controversy is the issue of this research. The objective of this research is to study the opinions of Thai architects on the advantages and disadvantages when foreign architects come to practice in Thailand. In addition, it aims to find a guideline solution for this problem. Research data includes purposive sampling of architects collected by an interview method. The purposive sampling of architects was divided into 3 groups, architects who work in GATS members under the Council of Thais Architects, architects who have experience in international projects, and architects who have professional experience in Thailand. The data was analyzed by descriptive writing. In this study, it was found that today the understanding about architectural services was unrelated with the meaning of the law because they were unclear. This has led to confusion and makes it difficult for architects to make comparisons base on the architectural services definition of WTO. In addition, the research also found that almost the entire sampling felt Thailand should set conditions for free trade, especially Thai architects should work with foreign architects, otherwise, foreign architects should not be allowed to work as individuals or set up companies. Further more, Thailand must set qualifications for an architectural license. The samplings also identified a number of other issues that need to be dealt with. Therefore, a guideline for fee trade in architectural services for foreign architects in Thailand has to be set up and include; first, the selection of types and conditions for free trade in architectural services. Second, the requirements for an architectural license; and third, the necessary steps to develop Thai Professional architects.en
dc.format.extent1925481 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.99-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมen
dc.subjectข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการen
dc.subjectสถาปนิกen
dc.titleแนวทางการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมหลักของสถาปนิกต่างชาติในประเทศไทยen
dc.title.alternativeGuideline for free trade in architectural services for foreign architects in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTraiwat.V@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.99-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teerayut.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.