Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1217
Title: การวิเคราะห์แผ่นพื้นที่ซ่อมด้วยแผ่นพลาสติกเสริมเส้นใยโดยใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
Other Titles: Finite element analysis of slabs repaired with fibre reinforced plastic sheets
Authors: สดสวย สุจริตธรรมกุล, 2519-
Advisors: เริงเดชา รัชตโพธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fcerrj@eng.chula.ac.th
Subjects: ไฟไนต์เอลิเมนต์
แผ่นพื้น
แผ่นพลาสติกเสริมเส้นใย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาโปรแกรมใช้งานอย่างง่าย เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมช่วงอีลาสติกของแผ่นพื้นที่ถูกซ่อมแซมโดยการเสริมภายนอกด้วยแผ่นพลาสติกเสริมเส้นใย การวิเคราะห์ใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ซึ่งพิจารณาผลของกำลังรับแรงที่ลดลงของคอนกรีตเสริมเหล็กที่ได้รับความเสียหายก่อนการซ่อมแซมด้วย โดยโปรแกรมใช้ทฤษฎีของ Reissner-Mindlin ว่าด้วยการเปลี่ยนรูปของแผ่นพื้นโดยคำนึงถึงผลจากแรงเฉือนและใช้ชิ้นส่วนแบบแผ่นซ้อน 4 ขั้นของ Ghosh และ Day แต่ละขั้วมีระดับขั้นความเสรีเท่ากับ 7 แนวการเสริมแผ่นพลาสติกเสริมเส้นใย คือ แนวขนานและตั้งฉากกับแกนหลักของแผ่นพื้นเท่านั้น จากงานวิจัยพบว่า โปรแกรมสามารถวิเคราะห์แผ่นพื้นที่ซ่อมแซมด้วยแผ่นพลาสติกเสริมเส้นใยได้ผลค่อนข้างแม่นยำในช่วงอีลาสติก โดยแผ่นพื้นมีความเสียหายก่อนการซ่อมแซมหรือไม่ก็ได้ นอกจากนี้ งานวิจัยได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเสริมกำลัง อันได้แก่ ทิศทางและปริมาณการเสริมแผ่นพลาสติกเสริมเส้นใย โดยได้ทำการทดสอบกับแผ่นพื้นทางเดียวสี่เหลี่ยมผืนผ้ารับแรงกระทำ 2 จุด และแผ่นพื้นสี่เหลี่ยมจตุรัส มีการรองรับที่มุม แรงกระทำเป็นจุดที่กึ่งกลางแผ่นพื้น จากทั้งสองตัวอย่างพบว่า ทิศทางการเสริมแผ่นพลาสติกเสริมเส้นใยเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมกำลังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กล่าวคือ การเสริมแผ่นพลาสติกเสริมเส้นใยในแนวตั้งฉากกับรอยแตกร้าวจะช่วยเพิ่มกำลังรับน้ำหนักให้กับแผ่นพื้นประมาณ 30-50% ในขณะที่การเสริมในแนวขนานรอยแตกร้าวไม่ช่วยเพิ่มกำลังรับน้ำหนักให้กับแผ่นพื้น ส่วนพื้นที่การเสริมแผ่นพลาสติกเสริมเส้นใยไม่มีผลมากนัก
Other Abstract: This research concerns the development of a simple computer programme to analyse the elastic behaviour of reinforced concrete slabs repaired with fibre reinforced plastic sheets using the finite element method. The effects of reduced stiffness in the damaged RC slabs were considered and assessed before performing the elastic analysis. The programme is based on the Reissner-Mindlin shear deformation plate theory. A four-node higher order laminated plate element with 7 degrees of freedom per node was used in this research. The FRP sheets were used to reinforce the RC slabs in directions parallel and perpendicular to the principal axes of the slabs. The results of the research showed that the programme yields accurate solutions for the test problems in the elastic range whether the slabs were damaged before repairing or not. The research also examined factors affecting the effectiveness of the strengthening such as the direction and quantity of the FRP sheets. Two slabs were simulated in the computer programmeto assess these factors. The first slab was a one-way rectangular slab with simple edge supports under two point loads and the second one was a square slab with corner supports under a concentrated load at the centre. The results indicated that the direction of FRP sheets play an important role in improving the structural behaviour. The capacities of the slab were increased by about 30-50% due to strengthening perpendicular to the cracks but, as expected, did not change in the case of strengthening parallel to the cracks. Furthermore, variation in the extent of the FRP sheets had little effect on the slab capacities.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1217
ISBN: 9740313701
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sodsuay.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.