Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12195
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย การสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับเชาวน์อารมณ์ของพยาบาลประจำการ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Relationships between personal factors, democratic child-rearing, social support, achievement motivation, and emotional quotient of staff nurses in emergency room, governmental hospitals, Bangkok Metropolis |
Authors: | เสาวรส คงชีพ |
Advisors: | ยุพิน อังสุโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | yupin.a@chula.ac.th |
Subjects: | พยาบาล ความฉลาดทางอารมณ์ เด็ก -- การเลี้ยงดู การสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาเชาวน์อารมณ์ของพยาบาลประจำการ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย การสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับเชาวน์อารมณ์ของพยาบาลประจำการ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร ตลอดจนศึกษาตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์เชาวน์อารมณ์ของพยาบาลประจำการ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลประจำการ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 189 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และแบบสอบถามเชาวน์อารมณ์ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและหาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .67 .94 .81 และ .96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย การสนับสนุนทางสังคม และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพยาบาลประจำการ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับสูง เชาวน์อารมณ์ของพยาบาลประจำการ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง 2. สถานภาพสมรส การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ไม่มีความสัมพันธ์กับเชาวน์อารมณ์ การสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับเชาวน์อารมณ์ของพยาบาลประจำการ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์เชาวน์อารมณ์ของพยาบาลประจำการ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 มีความสำคัญตามลำดับดังนี้ การสนับสนุนทางสังคม สถานภาพสมรส แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ 17.1% (R[superscript 2] = .171) สมการพยากรณ์เชาวน์อารมณ์ของพยาบาลประจำการ ในรูปคะแนนมาตรฐานคือ เชาวน์อารมณ์ = .203 การสนับสนุนทางสังคม - .211 สถานภาพสมรสคู่ + .230 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ - .150 การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย |
Other Abstract: | To study Emotional Quotient of staff nurses in emergency room governmental hospitals, Bangkok Metropolis, to investigate the relationships between personal factors, democratic child-rearing, social support, achievement motivation, and Emotional Quotient of staff nurses, and to search for the variables that could predict Emotional Quotient of staff nurses in emergency room. The subjects consisted of 189 staff nurses selected by stratified random sampling. Research instruments were Emotional Quotient, democratic child-rearing, social support, achievement motivation questionnaires which were tested for content validity. Their reliability were .67, .94, .81, and .96, respectively. Statistical methods used to analyze the data included mean, standard deviation, Pearsonʼs product moment correlation, and stepwise multiple regression analysis. Major findings were as follows: 1. Democratic child-rearing, social support, and achievement motivation of staff nurses in emergency room, governmental hospitals, Bangkok Metropolis were at high level. Emotional Quotient of staff nurses in emergency room, governmental hospitals, Bangkok Metropolis was at middle level. 2. Status of marriage, democratic child-rearing were no significantly related to Emotional Quotient of staff nurses in emergency room. Social support, achievement motivation were positively and significantly related, at the .05 level. 3. Factors significantly predicted Emotional Quotient of staff nurses in emergency room were social support, status of marriage, achievement motivation, and democratic child-rearing, at the .05 level. These predictors accounted for 17.1 percents of the variance (R[superscript 2] = .171). The standard score equation was as follow : Emotional Quotient = .203 Social support - .211 Status of marriage + .230 Achievement motivation - .150 Democratic child-rearing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12195 |
ISBN: | 9741732295 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saowaros.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.