Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12198
Title: การวิเคราะห์เงื่อนไขในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยโดยใช้ชิ้นส่วนเสา และคานคอนกรีตสำเร็จรูป และผนังไฟเบอร์ซีเมนต์กลวง : กรณีศึกษาโครงการพิมานชล 2 เฟส 3 จ. ขอนแก่น
Other Titles: A conditional analysis in housing construction utilizing precast concrete column and beam components with extruded fiber-cement wall panel : a case study of Pimarnchon II, phase 3, Khon Kaen Province
Authors: ดนุชา สุนทรารชุน
Advisors: ชวลิต นิตยะ
ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chawalit.N@Chula.ac.th
Trirat.J@chula.ac.th
Subjects: การก่อสร้าง
อาคารสำเร็จรูป
ที่อยู่อาศัย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหาเงื่อนไขที่เหมาะสมในการก่อสร้างบ้าน โดยใช้ชิ้นเสาและคานสำเร็จรูป และผนังไฟเบอร์ซีเมนต์กลวง โดยศึกษาในเรื่องของกรรมวิธีผลิตและก่อสร้างระบบสำเร็จรูป, ปัญหาในการก่อสร้างและวิธีป้องกันแก้ไข, ต้นทุนและระยะเวลาในการก่อสร้างเปรียบเทียบกับระบบเดิม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้นพื้นที่ใช้สอยเฉลี่ย 126 ตารางเมตร ในโครงการบ้านจัดสรรพิมานชล 2 เฟส 3 จังหวัดขอนแก่น ที่มีการก่อสร้างบ้านรูปแบบเดียวกันด้วยระบบเดิม โดยใช้วิธีเฝ้าสังเกตการณ์ จดบันทึก สัมภาษณ์ ถ่ายภาพการก่อสร้างในทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ใช้ใบบันทึกข้อมูลและกล้องถ่ายรูปเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า กรรมวิธีการผลิตและการก่อสร้างในระบบสำเร็จรูปมีขั้นตอนวิธีการที่แตกต่าง จากการก่อสร้างด้วยระบบเดิม โดยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ ลดงานในสถานที่ก่อสร้างลง ปัญหาสำคัญที่พบในขณะการก่อสร้าง ได้แก่ การขาดการควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบที่รัดกุมในขั้นตอนการผลิตและขนส่งชิ้น ส่วนสำเร็จรูป ปัญหาการไม่ได้คุณภาพของรอยต่อเชื่อมชิ้นส่วนเสาและคาน การแตกเสียหายของชิ้นส่วนเสาและคานคอนกรีตสำเร็จรูป 0.18% ชิ้นส่วนบันไดสำเร็จรูปเสียหาย 8.69% สำหรับต้นทุนค่าก่อสร้างของบ้านระบบสำเร็จรูปเท่ากับ 923,560.80 บาท (7,330 บาท/ตรม.) ส่วนบ้านระบบเดิมมีต้นทุนค่าก่อสร้างเท่ากับ 890,065.36 บาท (7,064บาท/ตรม.) และระยะเวลาการก่อสร้างบ้านด้วยระบบสำเร็จรูปเท่ากับ 77 วัน (2 เดือน 17 วัน) และระบบเดิม 112 วัน (3 เดือน 22วัน) จากการวิเคราะห์ผลพบว่า เงื่อนไขสำคัญในการใช้ชิ้นส่วนเสาและคานคอนกรีตสำเร็จรูป และผนังไฟเบอร์ซีเมนต์กลวงคือ การผลิตเป็นจำนวนมาก การใช้ชิ้นส่วนซ้ำกัน การบริหารจัดการ และความชำนาญด้านเทคนิคในการก่อสร้าง การก่อสร้างด้วยเสาและคานคอนกรีตสำเร็จรูปและผนังไฟเบอร์ซีเมนต์กลวงนี้ มีขั้นตอนและวิธีในการก่อสร้างซับซ้อนกว่าระบบเดิม ตั้งแต่การผลิตชิ้นส่วนในโรงงานจนถึงการประกอบติดตั้ง ณ สถานที่ก่อสร้าง ซึ่งต้องใช้การบริหารจัดการที่ดีและมีความชำนาญในเทคนิคของการผลิตและการก่อ สร้าง เพราะจะเกิดปัญหาตามมา ซึ่งการแก้ไขป้องกันต้องมีการวางแผน, ตรวจสอบให้ละเอียด, ใช้เครื่องมือวิธีการทางด้านเทคนิคที่มีความแม่นยำ จะลดความผิดพลาดจากแรงงานคนลง ราคาค่าก่อสร้างบ้านระบบสำเร็จรูปสูงกว่าระบบเดิม 3.76% แต่ระยะเวลาการก่อสร้างบ้านระบบสำเร็จรูปลดลง 31.25% และค่าแรงงานของการก่อสร้างบ้านระบบสำเร็จรูปลดลง 25.15% สามารถสรุปผลการวิจัยได้ว่า การนำระบบสำเร็จรูปโดยใช้ชิ้นส่วนเสาและคานคอนกรีตสำเร็จรูป และผนังไฟเบอร์ซีเมนต์กลวงมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเป็นไปได้โดยเงื่อนไขที่ ต้องมีการผลิตเป็นจำนวนมาก มีการใช้ชิ้นส่วนซ้ำกันเท่าที่จะทำได้ มีการบริหารควบคุมคุณภาพในการผลิตและการก่อสร้างที่รัดกุม มีประสิทธิภาพ มีความชำนาญในเทคนิควิธีการก่อสร้างซึ่งเหมาะสมกับ โครงการหมู่บ้านจัดสรรที่มีการก่อสร้างในแบบเหมือนๆ กันจำนวนมากๆ ซึ่งข้อดีของระบบสำเร็จรูปคือ ลดงานในสถานที่ก่อสร้างลง ให้งานส่วนหนึ่งไปอยู่ในระบบผลิตที่โรงงาน ที่มีการควบคุมคุณภาพได้ดีกว่าซึ่งก็เป็นผลให้ค่าแรงลดลง และใช้แรงงานในสถานที่ก่อสร้างน้อยลง และระยะเวลาในการก่อสร้างลดลงกว่าระบบเดิม ส่วนข้อด้อยคือต้องใช้เทคนิควิธีการมากกว่าระบบเดิมซึ่งต้องการการบริหารควบ คุมที่ดี แรงงานที่มีฝีมือ และราคาต้นทุนค่าวัสดุที่สูงกว่าระบบเดิม
Other Abstract: To find appropriate conditions for prefabrication in housing construction, in a case study of the use of precast concrete columns, beam components and extruded fiber-cement wall panels. The research focuses on the manufacturing procedures, construction, problems in construction, preventive and corrective measures, cost summary and a comparison with the conventional construction methods. The research sample is a two-storey detached house with a 126 square-meter functional area in Pimarnchon 2 Housing Project, Phase 3, Khon Kaen province, where houses of the same type have been built using conventional construction methods. Research methods included observations, note taking, interviews and photography, from start to finish of construction. Data record forms and cameras are research tools. The research found that manufacturing and construction stages in prefabrication are different from conventional ones. Technology has been developed to reduce the amount of work on construction sites. Major problems faced during construction include lack of quality control, strict control in the stages of manufacturing and transportation of prefabricated parts, precast concrete columns and beam components not being up to standard, breakage of parts (0.18%) and damage of prefabricated stairs (8.69%). The cost of prefabricated housing construction is 923,560.80 baht (7,330 baht/sq.m) while with conventional methods the cost is 890,065.36 baht (7,064 baht/sq.m). Prefabrication construction time is 77 days (two months and 17 days) while conventional construction takes 112 days (three months and 22 days.) From this study, it can be concluded that there are some important conditions required when using precast concrete columns beam components and extruded fiber-cement wall panels. These include mass production, repetition, management and technical expertise in construction. The prefabrication method is more complex than the conventional method. It also involves different stages and procedures from manufacturing components to installation at construction site. It requires effective management and technical expertise both in manufacturing and construction or problems will result. To prevent problems from arising, it requires planning, careful checking and use of technical methods or high precision equipment to reduce human error. The construction cost of the prefabrication method is 3.76% higher than that of the conventional method. However, construction time and labor are reduced by 31.25% and 25.15%. respectively. It can therefore be concluded that the prefabrication method, using precast concrete columns, beam components and extruded fiber-cement wall panels is possible provided that there is mass production, repetition, effective management and control of manufacturing and construction, and technical expertise. It is thus suitable for a housing project in which houses of the same design are built in a large number. One of the advantages of the prefabrication method is that on site work is reduced as material manufacturing takes place of factories where there is better quality control. This leads to a reduction in construction time and the amount of labor required and, thus, labor cost. The disadvantages are the necessity for good management and control required by the complex techniques,skilled lacors and higher cost of construction materials.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12198
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.359
ISBN: 9741732643
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.359
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Danoocha.pdf11.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.