Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12223
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วันชัย เทพรักษ์ | - |
dc.contributor.author | ประลองยุทธ์ กสิวงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-03-15T06:16:31Z | - |
dc.date.available | 2010-03-15T06:16:31Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741728069 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12223 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงเทพมหานครเป็นการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนขนาด ใหญ่ ที่ประกอบด้วยการขุดเจาะอุโมงค์และการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเจาะอุโมงค์ผ่านสถานี รถไฟฟ้าใต้ดิน ที่มีต่อการเคลื่อนตัวของกำแพงสถานี ทั้งยังศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนตัวของดินโดยรอบสถานี และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอาคารข้างเคียง การวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะการก่อสร้างสถานีรัชดาซึ่งเป็น 1 ใน 18 สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินรัชดา มีความลึกของพื้นสถานี 20.40 เมตร ความกว้าง 25 เมตร และมีความยาว 228 เมตร โดยใช้ระบบกำแพงไดอะแฟรมวอลล์เป็นระบบป้องกันดินขณะขุดดิน และใช้เป็นโครงสร้างถาวรของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินด้วย พฤติกรรมการเคลื่อนตัวของกำแพงไดอะแฟรมวอลล์และดินบริเวณรอบข้าง ได้วิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลลิเมนต์ (Finite Element Method, FEM) โดยวิเคราะห์เป็นลักษณะ 2 มิติ พร้อมทั้งจำลองพฤติกรรมของดินแบบ Mohr-Coulomb ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์โดยวิธี FEM สามารถประมาณการเคลื่อนตัวของกำแพงไดอะแฟรมวอลล์ และดินบริเวณรอบข้างใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากการวัดจริง ในขั้นตอนสุดท้ายของการก่อสร้างพื้นสถานี และยังพบว่าการเจาะอุโมงค์ทะลุผ่านกำแพงสถานี มีผลกระทบต่อการเคลื่อนตัวของกำแพงสถานีน้อย โดยผลกระทบในกรณีที่อุโมงค์เจาะทะลุผ่านกำแพงสถานีที่เสริมเหล็กใยแก้ว จะส่งผลกระทบต่อกำแพงไดอะแฟรมวอลล์ น้อยกว่าวิธีเจาะทะลุผ่านกำแพงคอนกรีตออกไปโดยตรง นอกจากนี้ยังพบว่าค่าการทรุดตัวและเอียงตัวของอาคารที่อยู่บริเวณข้างเคียง ที่เกิดจากการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินรัชดามีค่าน้อยมาก และไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่ออาคารแต่อย่างใด | en |
dc.description.abstractalternative | The subway construction in Bangkok is the Mass Rapid Transit (MRT) Mega project which consists of the tunnelling and station construction. The research aims to study the effect of Tunnel Boring Machine (TBM) boring to the movement of subway station. The soil displacement and the effect to the existing building due to station excavation is also researched. The research emphasized only the construction at Ratchada station which is one of eighteen stations of the MRT Chaloem Ratchamonkala line. The station is about 20.40 m deep, 25 m. wide and 228 m. long. Diaphragm wall is used as the retaining structure during the construction and used as the permanent subway station. The movement of diaphragm wall and soil surrounding the station was predicted by means of Finite Element Method (FEM). The model was simulated as two-dimensional analytical model with Mohr-Coulomb soil failure criteria. The results of FEM analysis show that the predicted wall movement agrees with the measured wall movement at the stage of final construction sequence of base slab. The settlement and tilting of the adjacent structures due to effect of excavation work is very small and not cause any damage to the structures. The TBM boring through diaphragm wall shows a little effect on the movement of diaphragm wall. However, the effect is more significant in case of TBM bored to the normal reinforced concrete wall than the case of fibreglass reinforcement. | en |
dc.format.extent | 2939622 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แรงเฉือนของดิน | en |
dc.subject | อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน | en |
dc.subject | การขุดเจาะ | en |
dc.title | ผลกระทบของการเจาะอุโมงค์ผ่านสถานีรัชดาต่อการเคลื่อนตัวของดินและกำแพงสถานี | en |
dc.title.alternative | Effect of TBM boring through Ratchada Station on soil and station wall displacements | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | fcewtp@eng.chula.ac.th, Wanchai.Te@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pralongyoot.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.