Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12300
Title: กลยุทธ์และประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Strategies and effectiveness of experiential marketing communications of True Corporation Plc.
Authors: นิลาวรรณ มีเดช
Advisors: สุวัฒนา วงษ์กะพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Suwattana.V@chula.ac.th
Subjects: บริษัททรูคอร์ปอเรชั่น
การสื่อสารทางการตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
ความพอใจของผู้บริโภค
ภาพลักษณ์บริษัท
ชื่อตราผลิตภัณฑ์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา 1) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 2) ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรมการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 3) ทัศนคติที่ผู้บริโภคมีต่อกิจกรรมการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ 4) ภาพลักษณ์ของผู้บริโภคที่มีต่อบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจ ทัศนคติและภาพลักษณ์ในสายตาของผู้บริโภคที่มีต่อบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยการศึกษาวิจัย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ศึกษาเรื่อง สื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ และข้อมูลทุติยภูมิ ที่ได้จากเอกสาร บทความและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 ศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจ ทัศนคติและภาพลักษณ์ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ที่เคยใช้งานหรือใช้บริการการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ในกรุงเทพฯ จำนวน 400 คน เพื่อวัดประสิทธิผลการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผลการวิจัยในส่วนของกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์นั้น พบว่ามีกลยุทธ์ในการสร้างประสบการณ์ต่างๆ ดังนี้ 1. ในส่วนของเว็บไซต์ www.trueworld.net มีการใช้กลยุทธ์การเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และกลยุทธ์การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานและตัวเว็บไซต์ 2. เว็บไซต์ www.truelife.com ใช้กลยุทธ์การสร้างโลกใบใหม่หรือชุมชนออนไลน์และกลยุทธ์การใช้ตัวการ์ตูนสมมติ และ 3. ร้านกาแฟ true coffee มีกลยุทธ์การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสาขา ส่วนผลการศึกษาในส่วนของความพึงพอใจและทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ และภาพลักษณ์ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการสื่อสารเชิงประสบการณ์ของเว็บไซต์ www.trueworld.net ในระดับปานกลาง www.truelife.com ในระดับปานกลาง และ true coffee ในระดับสูง 2. กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อกิจกรรมต่อการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ในเชิงบวก โดยกลุ่มตัวอย่างรู้สึกว่ากิจกรรมทำให้เกิดความผ่อนคลาย และรองลงมาคือกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างชอบ 3. กลุ่มตัวอย่างมีภาพลักษณ์ต่อบริษัทในเชิงบวก โดยกลุ่มเป้าหมายมีภาพลักษณ์ต่อบริษัทว่ามีความทันสมัยมากที่สุดและรองลงมาคือมีความกระตือรือร้นในการสร้างสิ่งใหม่ๆ 4. ความพึงพอใจจากการร่วมกิจกรรมการตลาดเชิงประสบการณ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อกิจกรรมการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์ในระดับสูง 5. ความพึงพอใจจากการร่วมกิจกรรมการตลาดเชิงประสบการณ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาพลักษณ์ที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในระดับสูง 6. ทัศนคติที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อกิจกรรมการสื่อสารการตลาดเชิงประสบการณ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาพลักษณ์ที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในระดับสูง
Other Abstract: To study (1) the strategies of experiential marketing communications of True Corporation Plc. (2) the satisfactions of participating in True Corporation Plc.'s experiential marketing communication activities (3) the attitudes towards True Corporation Plc.'s experiential marketing communication activities (4) the images of True Corporation Plc. And (5) the relationship between the satisfactions, attitudes and images of True Corporation Plc. This research will be divided into 2 parts. Part 1 is qualitative research about strategies of experiential marketing communications of True Corporation Plc. The primary data was gathered from in-depth interview with persons who involved in experiential marketing communications of True Corporation Plc. while the secondary data was collected from documents, articles, relevant researches and researcher's observations. Part 2 Satisfactions, attitudes and images of True Corporation Plc. is a survey research using questionnaire as a tool to collect the data from public by 400 target consumers in order to measure the effectiveness of experiential marketing communications of True Corporation Plc. The result of part 1 shows that the strategies of experiential marketing communications of True Corporation Plc. are varied depending on any kind of activities. (1) Strategies used in www.trueworld.net are content and lifestyle strategy and interaction between user and website strategy (2) strategies used in www.truelife.com are building the new world strategy and avatar chat strategy and (3) strategy used in true coffee is uniqueness in every branch strategy. The Part 2 research on satisfactions, attitudes, and images of True Corporation Plc. found that 1. The sample has (1.1) moderate level of satisfaction on www.trueworld.net, (1.2) moderate level of satisfaction on www.trueworld.net and (1.3) high level of satisfaction on true coffee 2. The sample has positive attitude towards experiential marketing communication activities arranged by True Corporation Plc. which represented mostly by relaxation from activities and the likable in activities 3. The sample has positive image towards True Corporation Plc. which represented mostly by modern image and enthusiasm image 4. The satisfaction of participating in True Corporation Plc.'s experiential marketing communication activities and attitude towards experiential marketing communications activities were positively correlated in high level. 5. The satisfaction of participating on True Corporation Plc.'s experiential marketing communication activities and image towards True Corporation Plc. were positively correlated in high level. 6. The attitude towards experiential marketing communications activities and image towards True Corporation Plc. were positively correlated in high level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12300
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nilawan.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
nilawan_ch1.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
nilawan_ch2.pdf9.52 MBAdobe PDFView/Open
nilawan_ch3.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
nilawan_ch4.pdf12.73 MBAdobe PDFView/Open
nilawan_ch5.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open
nilawan_ref.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
nilawan_app.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
nilawan_vita.pdf202.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.