Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12308
Title: ผลของการปั่นกวนต่อประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นของกระบวนการสร้างเพลเล็ตแบบไหลขึ้นขนาดต้นแบบ
Other Titles: Effect of agitation on turbidity removal efficiency of a prototype upflow pelletization process
Authors: สุขุม ดีประหลาด
Advisors: ธงชัย พรรณสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thongchai.P@Chula.ac.th
Subjects: การกวนผสม
โพลิเมอร์
น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การรวมตะกอน
เพลเล็ต
สารส้ม
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการศึกษาการใช้กระบวนการสร้างเพลเล็ตแบบไหลขึ้นขนาดต้นแบบโดยใช้น้ำดิบจริงจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงความขุ่น 40-150 เอ็นทียู ใช้ถังสร้างเพลเล็ตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ม. สูง 3.0 ม. อัตราน้ำไหลขึ้น 8.5 ม./ซม. ทำการทดลองเป็นเวลา 72 ชม. ต่อการทดลอง โดยใช้สารส้มเป็นโคแอกกูแลนต์ และโพลีเมอร์ชนิดไม่มีประจุ (มวลโมเลกุล 12 ล้าน) เป็นโคแอกกูแลนต์เอด การทดลองแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 ศึกษาผลของการปั่นกวนโดยแปรค่าสารส้ม 0.8 และ 1.0 มก. Al/ล. โพลีเมอร์ 0.3, 0.4 และ 0.5 มก./ล. และความเร็วรอบกวน 2, 3, 4 และ 5 รอบต่อนาที ส่วนการทดลองช่วงที่ 2 ศึกษาผลของอัตราเวียนมวลของแข็งโดยใช้สารส้ม 1.0 มก. Al/ล. โพลีเมอร์ 0.4 มก./ล. ความเร็วรอบกวน 3 รอบ/นาที แปรค่าอัตราเวียนมวลของแข็ง 0 (ควบคุม), 0.1 และ 0.2 ของอัตราน้ำไหลเข้าโดยทุกการทดลองทำการทดลองต่อกันโดยมีการเริ่มต้นระบบครั้งแรกเพียงครั้งเดียว จากการทดลองสรุปได้ดังนี้ 1. ระบบสามารถสร้างเพลเล็ตได้บางส่วน ประมาณ 30% ของมวลของแข็งทั้งหมด โดยจำเป็นต้องมีการเริ่มต้นระบบมาก่อน 2. ระบบสามารถผลิตน้ำที่มีคุณภาพสูง (ต่ำกว่า 5 เอ็นทียู) ได้โดยใช้สารส้ม 0.8 มก. Al/ล. ร่วมกับโพลีเมอร์ 0.3-0.4 มก./ล. หรือใช้สารส้ม 1.0 มก. Al/ล. ร่วมกับโพลีเมอร์ 0.3-0.5 มก./ล. สำหรับน้ำดิบมีความขุ่นประมาณ 60 เอ็นทียู และสารส้ม 0.8 มก. Al/ล. ร่วมกับโพลีเมอร์ 0.5 มก./ล. หรือใช้สารส้ม 1.0 มก./ล. ร่วมกับโพลีเมอร์ 0.4-0.5 มก./ล. สำหรับน้ำดิบมีความขุ่นประมาณ 100 เอ็นทียู 3. การเพิ่มปริมาณโพลีเมอร์ในช่วง 0.3-0.5 มก./ล. มีผลให้ประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่น มวลของแข็งทั้งหมด และมวลเพลเล็ตเพิ่มขึ้น และทำให้เพลเล็ตมีขนาด ความเร็วจมตัว และความหนาแน่นประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 4. ความเร็วรอบกวนที่เหมาะสมสำหรับระบบเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพสูงในการทดลองนี้อยู่ในช่วง 3-4 รอบ/นาที (G = 23.9-36.8 s-1 หรือ Gt = 12,906-19,872) 5. การเพิ่มอัตราเวียนมวลของแข็งในช่วง 0-0.2 ของอัตราไหลเข้ามีผลให้ประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นในระยะสั้น (72 ซม.) มวลของแข็งทั้งหมด และมวลเพลเล็ตลดลง เนื่องจากเครื่องสูบน้ำเวียนมวลมีความปั่นป่วนสูงทำให้ฟล็อกและเพลเล็ตแตกออกกลายเป็นภาระเพิ่มให้กับระบบ
Other Abstract: In this study, a prototype upflow pelletization process was tested with a 40-150 NTU Chao Phraya river using a 1.5 m diameter and 3.0 m height pelletizer with the upflow rate of 8.5 m/hr continousty for 72 hours for each run. Alum and nonionic polymer (MW. 12 million) were used as a coagulant and a coagulant aid, respectively. This study was divided into 2 cases, first studied the effect of agitation by varing 0.8 and 1.0 mg Al/l of alum, 0.3, 0.4 and 0.5 mg/l of nonionic polymer, and 2, 3, 4 and 5 rpm of paddle speed (G = 13.0, 23.9, 36.8 and 51.4 s-1). And the second studied the effect of recirculation rate by varing 0, 0.1 and 0.2 of recirculation ratio (Q/QR), alum dose of 1.0 mg Al/l, nonionic polymer dose of 0.4 mg/l and 3 rpm of paddle speed. The solid mass was developed in the reactor by a special start-up process in only the first run. Each run was tested continuously with no special start-up. This study was concluded as follows: 1. This process could develope a 30% (w/w) partial pellet and needed a special start-up. 2. The high water quality (less than 5 NTU) was obtained from the treatment using the above process. To treat 60 NTU raw water, 0.8 mg Al/l alum and 0.3-0.4 mg/l nonionic polymer or 1.0 mg Al/l alum and 0.3-0.5 mg/l nonionic polymer were used. And 0.8 mg Al/l alum and 0.3-0.5 mg/l nonionic polymer or 1.0 mg Al/l alum and 0.4-0.5 mg/l nonionic polymer were used for 100 NTU raw water turbidity. 3. The increasing nonionic polymer dose in the range of 0.3-0.5 mg/l effected on the increasing of turbidity removal efficiency, solid mass and pellet mass. In addition the diameter, settling velocity and density of pellet were raised. 4. The appropriate paddle speed in this experiment was 3-4 rpm (G = 23.9-36.8 s-1 or Gt = 12,906-19,872). 5. The increasing recirculation ratio rate (Q/QR) in the range of 0-0.2 effected on the reducing of turbidity removal efficiency, solid mass and pellet mass. Furthermore diameter, settling velocity and dessity of pellet were also increased because the high turbulant of recirculation pump broke down floc and pellet which increased loading to the process.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12308
ISBN: 9743316604
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukhum_De_front.pdf826.05 kBAdobe PDFView/Open
Sukhum_De_ch1.pdf682.35 kBAdobe PDFView/Open
Sukhum_De_ch2.pdf678.19 kBAdobe PDFView/Open
Sukhum_De_ch3.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Sukhum_De_ch4.pdf755.54 kBAdobe PDFView/Open
Sukhum_De_ch5.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Sukhum_De_ch6.pdf692.02 kBAdobe PDFView/Open
Sukhum_De_ch7.pdf680.55 kBAdobe PDFView/Open
Sukhum_De_back.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.