Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12366
Title: รูปแบบและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของกิจกรรมการผลิตมีดอรัญญิกใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Patterns and economic linkages of Aranyik knife production in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
Authors: จุฑา สุพลธวณิชย์
Advisors: ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศษสตร์
Advisor's Email: Daranee.T@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมมีด -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
มีดอรัญญิก
วิสาหกิจชุมชน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กิจกรรมการผลิตมีดอรัญญิกเป็นหนึ่งในการดำเนินกิจการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ มีชื่อเสียง ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาอย่างยาวนานเกือบ 200 ปี เมื่อมีการจัดตั้งโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้นในปี พ.ศ. 2546 ได้มีกลุ่มของผู้ประกอบกิจการผลิตในท้องถิ่น 2 ประเภทที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ กลุ่มของครัวเรือนต่างๆ ที่ผลิตมีดซึ่งรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มสถานประกอบกิจการผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการจ้างแรงงานขนาด ต่างๆ โดยมีลักษณะของการดำเนินกิจการตามแนวความคิดของ การกระจายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปสู่ท้องถิ่นที่แตกต่างกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ตลอดจนรูปแบบและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของกิจกรรมการผลิตมีดอรัญญิก ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของผู้ประกอบการทั้ง 2 ประเภท โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด ซึ่งแบ่งออกเป็น ครัวเรือนที่เป็นสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 56 ครัวเรือน สถานประกอบการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 7 แห่ง และผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญบางราย เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละประเด็นโดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ จากการศึกษาสรุปได้ว่า นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะของการดำเนินกิจการผลิตมีดของครัวเรือน ต้องพึ่งพาพ่อค้าคนกลางในท้องถิ่นในด้านการกู้ยืมต้นทุน และการจัดจำหน่าย โดยมีการผลิตเพื่อจำหน่ายส่งเป็นประจำ การรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการถูกกดราคารับซื้อจากร้านค้า ส่วนสถานประกอบการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่ต้องพึ่งพาแหล่ง เงินทุนนอกสถาบัน มีแหล่งนำเข้าวัตถุดิบที่เชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ และมีช่องทางในการจัดจำหน่ายไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายตามเมืองใหญ่ของ ประเทศ ไปจนถึงตลาดในต่างประเทศโดยตรง ลักษณะของการดำเนินกิจการผลิตเป็นไปตามความต้องการของผู้ประกอบการ การเข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มผู้ประกอบการทั้ง 2 ประเภท ได้ช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ผลิตมีดอรัญญิกให้เป็นที่ยอมรับในคุณภาพมากยิ่ง ขึ้น ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปัจจัย ที่มีส่วนในการส่งเสริมกิจกรรมการผลิตมีดอรัญญิกของผู้ประกอบการ ได้แก่ การให้การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการแต่ละประเภทมีบทบาทในการร่วมกันจัดหา ปัจจัยการผลิตต่างๆ โดยกำกับดูแลการใช้จ่ายต้นทุนที่กู้ยืมมาจากสถาบันการเงินให้เป็นไปตามวัตถุ ประสงค์ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการผลิตเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบจัดแสดงหน้าร้านมากขึ้น โดยเน้นให้การผลิตมีดแนวโรงงานเพื่อจำหน่ายส่งตามใบสั่งเป็นการผลิตแบบเป็น ประจำ และการผลิตมีดแนวศิลป์เพื่อจำหน่ายปลีกตามใบสั่งเป็นการผลิตแบบเป็นครั้ง คราว
Other Abstract: The production of Aranyik knives has been one of the most well-known products of Ayutthaya Province for almost 200 years. When the One Tambon One Product program (OTOP) was established in 2003, two kind of the local entrepreneurs took part in the program : Small and Micro Community Enterprise (SMCE), the gathering of households locally producing knives, and Small and Medium Enterprise (SME), that have employment. Both kinds are operated differently under the program designed to disperse economic growth to local communities. This research aims to study the history, the patterns and the economic linkages of both kinds of entrepreneurs' Aranyik knife production which took part in OTOP program by purposive sampling method, collecting data from 56 households, the members of SMCE groups, 7 SMEs and some key-informants by interviewing with questionnaires. From the studies, it is found that households’ production relies on local middlemen to borrow production materials and send products back to sell in the middlemen' shops. Their aim of production is for wholesale trade. The forming of SMCE does not solve middlemen problems. In case of SME, it does not depend on informal finance, its sources of raw materials linked to Bangkok and product lines are for final consumer in big cities and foreign market. They can make productions by their own demand. The joining of the OTOP program of both enterprises supported the Aranyik knife's production to be more accepted in its quality. The research proposes means to develop important functions taken place as the support for Aranyik knife's production of the enterprises that are: gathering raw materials and distributing their products in each group by themselves, controlling credit lent from financial institution to be spent in the production, supporting the production for selling by displaying in the shop, producing mass knife-products in regular order and producing artistic knife-products for periodical order.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12366
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1183
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1183
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jutha.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.