Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12388
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี | - |
dc.contributor.advisor | นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล | - |
dc.contributor.author | สิริรัตน์ กันตี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-03-30T01:46:28Z | - |
dc.date.available | 2010-03-30T01:46:28Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12388 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพาหะนำโรคติดเชื้อทางเดิน อาหาร ของผู้สัมผัสอาหารในร้านจำหน่ายอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ประชากรกลุ่มศึกษาเป็นผู้ประกอบการและลูกจ้างร้านจำหน่ายอาหาร จำนวน 248 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้สัมผัสอาหารเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการเป็นพาหะนำโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร และเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดำเนินการในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2550 ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของการเป็นพาหะนำโรคติดเชื้อทางเดินอาหารของผู้สัมผัสอาหาร คิดเป็น 36.3% และเมื่อพิจารณาความชุกจากผลตรวจทางปรสิตในตัวอย่างอุจจาระที่ส่งตรวจ คิดเป็น 15.3% โดยเป็นเชื้อปรสิตชนิดก่อโรค 6.9% และจากผลตรวจเพาะเชื้ออุจจาระ คิดเป็น 31.0% โดยผู้สัมผัสอาหารที่เป็นพาหะ 1 คน พบชนิดของเชื้อได้ตั้งแต่ 1- 2 ชนิด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพาหะนำโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ของผู้สัมผัสอาหารในร้านจำหน่ายอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีความสัมพันธ์ในเชิงผกผันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ และการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย โดยตรวจร่างกายและตรวจเลือดให้กับผู้สัมผัสอาหาร โดยสรุป จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ความชุกของการเป็นพาหะนำโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารมีอัตราที่สูง จึงควรมีการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจคัดกรองโรคในผู้สัมผัสอาหาร และให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเดินอาหารเพื่อเป็นการป้องกันและควบ คุมโรคติดเชื้อดังกล่าว | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this cross-sectional descriptive study was to determine the prevalence and related factors of gastrointestinal infectious disease carriers among food handlers at the food shops in Chulalongkorn University. Data were collected from 248 recruits by using a structured questionnaire during May-July, 2007. They were then analyzed and presented as frequency and percentage for the prevalence, and as odds ratio (95% confidence interval) for the association between each potential risk factor and carrier status. The results indicated that the prevalence rate of the gastrointestinal infectious disease in food handlers was 36.3 percent, as for the prevalence rate of the parasitic infestation was 15.3%. Among these, 6.9% were infected with pathogenic parasites. The prevalence rate of bacterial pathogenic carrier was 31.0%. Each carrier had 1-2 pathogenic organisms. Factors which were statistical significantly related to gastrointestinal infectious disease carriers among food handlers were gender, history of previous physical examination and blood testing. In conclusion, this study showed a high prevalence of gastrointestinal infectious disease carriers among food handlers at the food shops in Chulalongkorn University. So, periodic stool examination and food sanitation education should be provided for this food handler group. | en |
dc.format.extent | 2046907 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.561 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ -- โรค | en |
dc.subject | สุขาภิบาลอาหาร | en |
dc.subject | พาหะนำโรค | en |
dc.subject | ร้านอาหาร | en |
dc.title | ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพาหะนำโรคติดเชื้อทางเดิน อาหารของผู้สัมผัสอาหาร ในร้านจำหน่ายอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2550 | en |
dc.title.alternative | Prevalence and related factors of the gastrointestinal infectious disease carriers among food handlers at the food shops in Chulalongkorn University, 2007 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อาชีวเวชศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Wiroj.J@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Narin.H@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.561 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirirat.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.