Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12392
Title: ความสัมพันธ์ของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี กับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
Other Titles: The association of hepatitis B virus and lymphoma
Authors: ขจรศักดิ์ มีมงคลกุลดิลก
Advisors: วโรชา มหาชัย
ธานินทร์ อินทรกำธรชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: fmedvmc@md.chula.ac.th, Varocha.M@Chula.ac.th
Tanin.I@Chula.ac.th
Subjects: ตับอักเสบบี
ไวรัสตับอักเสบบี
ต่อมน้ำเหลือง -- มะเร็ง
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาและเหตุผล การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ และอาจมีบทบาทในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีการระบาดสำหรับการติดเชื้อไวรัส ตับอักเสบบี อย่างไรก็ตาม ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยัง ไม่เคยมีรายงานมาก่อนในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในผู้ป่วยคนไทยที่เป็นโรค มะเร็งต่อมน้ำเหลือง วิธีการ ได้ทำการเจาะเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย ครั้งแรกว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่หน่วยโลหิตวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2544 จำนวน 50 ราย กลุ่มควบคุมคือผู้ที่มาบริจาคโลหิต 50 ราย โดยจับคู่กับผู้ป่วยในด้านเพศและอายุ ผลการศึกษา อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยและกลุ่มควบคุมคือ 48.02 ปี (19 ถึง 89 ปี) และ 48.02 ปี (19 ถึง 89 ปี) ตามลำดับ พบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 12 ราย (24 %) ในกลุ่มควบคุม พบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 3 ราย (6%) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง 2 กลุ่ม (p<0.001) อัตราเสี่ยงเท่ากับ 5.5 (ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เท่ากับ 1.22 ถึง 24.82) ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็น ชนิดบีเซลล์เกรดปานกลาง (75 %) ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมี Hepatitis e antigen เป็นลบ (75%) สรุป ความชุกที่สูงของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำ เหลืองที่เรานำเข้าการศึกษาช่วยเสนอแนวคิดที่ว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงตัวหนึ่งของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในประเทศไทย
Other Abstract: Background Hepatitis B virus infection is implicated in the association with hepatocellular carcinoma, and has been recently suspected to play a role in the development of malignant lymphoma worldwide. Thailand is an endemic region for hepatitis B virus infection, however the prevalence of hepatitis B in patients with lymphoma has never been elucidated. Objective To determine whether high prevalence of hepatitis B virus infection exists in Thai patients with lymphoma. Method Hepatitis B virus surface antigen was determined in a cohort of fifty consecutive patients newly diagnosed with lymphoma at Department of Hematology, King Chulalongkorn Memorial Hospital between January and December 2001. Fifty age-and sex-matched normal blood donors were used as a control group. Result The median age of the patients and controls was 48.02 (19 to 89) and 48.02 (19 to 89) years, respectively. Hepatitis B virus infection was found in twelve cases of lymphoma patients (twenty-four percents). In the control group, hepatitis B virus infection was documented in three cases (six percents). The difference was statistically significant between the two groups with the odds ratio of 5.5 (95% confidence interval 1.22-24.82) (P<0.001). The majority of lymphoma in hepatitis B virus infected patients was B cell type of intermediate grade (75%). Hepatitis e antigen were negative in the majority of the patients (75%). Conclusion The high prevalence of hepatitis B virus infections in lymphoma patients in our population suggested that hepatitis B virus infection might be one of the etiological factors of lymphoma in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12392
ISBN: 9740314635
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kajohnsak.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.