Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12403
Title: การออกแบบตัวควบคุมปรับเทียบและการปรับจูนพารามิเตอร์สำหรับเฮลิโอสแตท
Other Titles: Design of calibrating controller and parameter tuning fr heliostat
Authors: ธนาฒย์ วชิรปราการสกุล
Advisors: มานพ วงศ์สายสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Manop.W@Chula.ac.th
Subjects: เฮลิโอสแตท
การสะท้อนแสง
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เฮลิโอสแตท (กระจกหมุนได้ที่ใช้ในการแปลงพลังงานจากดวงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานอื่นๆ) ถูกปรับตำแหน่งเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์ไปยังตัวรับกลาง เฮลิโอสแตทจะเปลี่ยนตำแหน่งตามการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ เพื่อที่จะสะท้อนแสงไปยังตัวรับกลางอย่างแม่นยำตลอดเวลาทำงาน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ของลักษณะการสะท้อนแสงของดวงอาทิตย์ไปยังตัวรับกลาง โดยใช้เฮลิโอสแตทและออกแบบตัวควบคุมเทียบมาตรฐาน ตัวควบคุมเทียบมาตรฐานถูกพัฒนาเพื่อลดผลของพื้นที่ติดตั้งเฮลิโอสแตท (พื้นอาจไม่เรียบสนิท) และปรับแก้ตำแหน่งเฮลิโอสแตทที่สะท้อนแสงไม่ตรงตามตำแหน่งอ้างอิง เนื่องจากมีการรบกวนภายนอก เช่น เมื่อมีลมพัดวูบหนึ่งอาจทำให้ตำแหน่งทิศทางของเฮลิโอสแตทเปลี่ยนแปลงไป ในการประมาณความชันของพื้นที่ติดตั้งจะใช้วิธีนิวตัน วิธี steepest descent และการวิเคราะห์เชิงพีชคณิตมาช่วยในการคำนวณ ส่วนในการปรับแก้ตำแหน่งที่ผิดเพี้ยนจะเสนอตัวควบคุมแบบสัดส่วน ตัวควบคุมแบบป้อนกลับสถานะเต็มที่ใช้คู่กับตัวสังเกตการณ์ พร้อมทั้งมีตัวกรองเพื่อลดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากเครื่องมือวัด สุดท้ายจะเสนอผลจำลองการทดลองว่าได้ผลตามต้องการเพียงใด เพื่อที่จะนำตัวควบคุมนี้ไปใช้ประยุกต์กับอุปกรณ์จริงต่อไป
Other Abstract: A heliostat (steerable mirror in solar/electric energy conversion) is oriented to reflect light beam to a central receiver. The heliostat periodically tracks the sun, which serves as a precise reference. This thesis propose a mathematical model of reflection by the heliostat and a calibrating controller. The calibrating controller is developed for reducing the effect of the ground that the heliostat is installed on and regulating the heliostat which reflects light beam incorrectly to the central receiver because of an external disturbance such as wind. Newton method, steepest descent method with backtracking line search and linear algebra are used to estimate the slope of the ground. A full-state feedback with a nonlinear observer is used to correct the position of light on a central receiver to a reference position. Simulation results are given for typical heliostat configuration.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12403
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.997
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.997
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanart_va.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.