Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12458
Title: ความเชื่อ และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรีไทยภาคเหนือ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Thai musical culture : its believe and ritual within the North Region of Thailand
Authors: บุษกร สำโรงทอง
Email: Bussakorn.S@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: ดนตรี -- ไทย (ภาคเหนือ)
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม -- ไทย (ภาคเนือ)
ไทย (ภาคเหนือ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ดนตรีที่มีชื่อเสียงของภาคเหนือได้แก่ วงสะล้อ ซอ ซึง มีการขับร้องแบบภาคเหนือเรียกว่า การขับซอ ซึ่งมีวงดนตรีประกอบ นอกจากนี้ยังมีวงกลองสะบัดชัย วงกลองปู่จา และวงปี่พาทย์พื้นเมือง ซึ่งมีการเรียกชื่อต่างกันไป เช่นวงพาดค้อง วงเต่งทิ้ง วงป้าด หรือวงป้าดก๊องบ้าง แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องที่ ดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือได้รับการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยวิธีมุขปาฐะ การเรียนการสอนมักดำเนินที่บ้านของครู ทำให้ครูและศิษย์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน ผู้เรียนมิใช่จะได้รับเพียงวิชาความรู้ด้านดนตรีเท่านั้น แต่ยังได้เรียนรู้การวางตนในการประกอบวิชาชีพนักดนตรี การดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม ศิลปินที่เชี่ยวชาญจะถ่ายทอดความรู้เรื่องพิธีกรรมการบูชาครูไปยังอนุชน ซึ่งพิธีกรรมนี้ถือเป็นพิธีกรรมที่สำคัญสำหรับผู้เริ่มเรียนและผู้แสดงขั้นตอนของการไหว้ครูมีการบูชาพระรัตนตรัยก่อนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาพุทธที่เข้าไปมีบทบาทในการประกอบพิธีกรรม เครื่องบูชาครูสะท้อนความเชื่อของศิลปิน ซึ่งมีเรื่องเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ภูมิปัญญาล้านนาที่ชาญฉลาดซึ่งแฝงอยู่ในข้อห้ามต่างๆ สอนให้ผู้ปฏิบัติมีความละเอียด รอบคอบ และประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความเคารพนบนอบต่อผู้เป็นครู การสืบสานวัฒนธรรมดนตรีนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ดนตรีที่งดงามแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของท้องถิ่นล้านนาที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นของไทยให้คงอยู่สืบไปอีกด้วย
Other Abstract: The most popular musical profession within this area is Salaw Saw Seong ensemble and the “Saw”- the Lanna styled vocalist accompanied with Lanna musical ensemble and the ancient Lanna drums called Glong Sabatchai and Glong Puja. The name of Lanna’s percussion ensemble could be called Pad Gong, Wong Teng Ting or Wong Pad according to the preference of people in each location. Thai folk music of the North region of Thailand has been transmitted from generation to generation by memorization. There is a very close and a somewhat familiar relationship between the music teacher and the student since the study always takes place in the teacher’s home. There the student gains not only musical knowledge but also learns from this role model such as how to obtain music professionalism and conduct themselves in an admirable way in the community. These musical masters whom spent their life exploring folk music, have also passed down a ceremony of showing respect to the teacher. This ritual of respect is one of the most important facets of music instruction for the beginner. The typical offering in this ritual reflects the beliefs of the people whom are involved. The proceeding of the rite mostly start with paying respect to Buddha and his teaching including the monks. This part shows the Buddhist influence through the rite. There are also some myths about spirits and gods involved with the ceremony. The continuity of traditional oral music teaching and the ceremony of showing respect to the teacher has preserved not only the beautiful music. It has preserved the expression of their unique identity, ways of thought and Lanna’s cultural knowledge that is distinct from other regions of Thailand.
Description: การถ่ายทอดดนตรีภาคเหนือ -- ความเชื่อและพิธีกรรม -- บทวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12458
Type: Technical Report
Appears in Collections:Fine Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bussakorn_Thai.pdf21.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.