Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1249
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐพร โทณานนท์-
dc.contributor.advisorวิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล-
dc.contributor.authorณัฐ งามเจตนรมย์, 2517--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-31T04:27:54Z-
dc.date.available2006-07-31T04:27:54Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741718403-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1249-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการที่จะผลิตปุ๋ยเคมี ให้มีความสามารถในการชะลอการปลดปล่อยธาตุอาหาร โดยใช้สารเคลือบที่มีโปรตีนจากกากถั่วเหลือง เป็นวัตถุดิบหลักในการที่จะนำมาเคลือบปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 สารเคลือบที่ใช้ในการวิจัยนี้จะประกอบด้วยโปรตีนจากกากถั่วเหลือง (Soy Protein Isolate; SPI) น้ำกลั่น สาร Plasticizer สาร Crosslinking Agent (ในที่นี้ใช้สารละลาย Formaldehyde) และสี โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 7%, 82.5%, 7%, 3% และ 0.5% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่า ลักษณะของฟิล์มที่เคลือบปุ๋ยซึ่งได้แก่ ความหนาของฟิล์มเคลือบและโครงสร้างของเนื้อฟิล์ม มีความสำคัญต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารในปุ๋ย โดยถ้าฟิล์มเคลือบมีความหนาเพิ่มขึ้น และโครงสร้างของเนื้อฟิล์มแน่นขึ้น มีจำนวนรูพรุนน้อยและมีขนาดของรูพรุนเล็ก จะทำให้ปุ๋ยที่ผ่านการเคลือบสามารถชะลอการปลอดปล่อยธาตุอาหารได้ ในระยะเวลายาวนานขึ้น ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ฟิล์มที่เคลือบปุ๋ยมีความหนาเพิ่มมากขึ้นคือ จำนวนครั้งในการเคลือบที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้โครงสร้างของเนื้อฟิล์มมีความแน่นมากขึ้น มีจำนวนรูพรุนน้อยลง และมีขนาดของรูพรุนเล็ก ได้แก่ การใช้สารเคลือบที่มีความเข้มข้นของโปรตีน จากกากถั่วเหลืองที่เพิ่มมากขึ้น การใช้สารเคลือบที่มี Mineral Oil เป็นสาร Plasticizer ที่ไม่ละลายน้ำแทน Glycerin ที่เป็นสารที่ละลายน้ำ และสุดท้ายคือการเพิ่มการเชื่อมโยงพันธะในโปรตีนโดยการ Activate ฟิล์มเคลือบด้วยสารละลาย Formaldehyde ทำให้โครงสร้างของเนื้อฟิล์มเคลือบเปลี่ยนจากโครงสร้างแบบ Amorphous ที่ละลายน้ำง่ายเป็นโครงสร้างแบบผลึก ที่ละลายน้ำยากอัดตัวกันอยู่แน่น จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ปุ๋ยเคลือบที่มีการ Activate จะมีแนวโน้มการปลดปล่อยธาตุอาหาร N ได้นานกว่าปุ๋ยเคลือบที่ไม่ผ่านการ Activate และนานกว่าปุ๋ยที่ไม่มีการเคลือบคือ ปลดปล่อยหมดในระยะเวลาประมาณ 9 วัน 6 วัน และ 3 วันตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeTo study the feasibility to obtain slow release 8-24-24 chemical fertilizer coating with soy protein isolate as an essential raw material. The coating material is mainly composed of soy protein isolate (SPI), distilled water, plasticizer, formaldehyde as cross-linking agent and color with an optimum composition of 7%, 82.5%, 7%, 3% and 0.5% by weight, respectively. It is found that the characteristic of coating film such as thickness of film and structure of the coating film are important factors affecting the release ability. The increase in thickness of film and the denseness of structure with small pores, resulting in extended period of releasing time. The main factor to increase a thickness of film is by coating fertilizer for several times. The factors to more dense the structure of coating film with small pores are using high concentration of soy protein isolate, using the mineral oil, a non-soluble material, as plasticizer and increasing cross-linking of protein bonds by activated coating film with formaldehyde solution that can change the structure of coating film from amorphous to crystall. From this work can conclude that the activated coated fertilizer have a long period of time for releasing nitrogen (N) compared with the non-activated coated fertilizer and uncoated fertilizer. The period of releasing time of these fertilizer are 9 days, 6 days and 3 days, respectively.en
dc.format.extent6875175 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปุ๋ยen
dc.subjectโปรตีนen
dc.subjectกากถั่วเหลืองen
dc.titleการพัฒนาปุ๋ยเคมีชนิดปลดปล่อยช้า ที่เคลือบด้วยโปรตีนจากกากถั่วเหลืองen
dc.title.alternativeDevelopment of slow release protein-coated chemical fertilizer using soy-bean residueen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมีen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisornattaporn.t@chula.ac.th-
dc.email.advisorwiwut.t@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nat.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.