Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12527
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล | - |
dc.contributor.advisor | อานนท์ วรยิ่งยง | - |
dc.contributor.author | อติชาต หงษ์ทอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ลพบุรี | - |
dc.date.accessioned | 2010-04-12T10:13:58Z | - |
dc.date.available | 2010-04-12T10:13:58Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12527 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | โรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความสำคัญยิ่งในปัจจุบัน และแนวโน้มแพร่ระบาดในหลายประเทศ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ทัศนคติเรื่องโรคไข้หวัดนก การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้หวัดนก และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่เลี้ยงสัตว์ปีกในจังหวัดลพบุรี โดยแบ่งเป็นพื้นที่ที่มีการรายงานผู้ป่วยและพื้นที่ที่ไม่มีการรายงานผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง จำนวน 456 ครัวเรือน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ระหว่างเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม 2549 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีมัธยฐานของอายุ เท่ากับ 50 ปี มีการศึกษาส่วนใหญ่ระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 83.2) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 46.3) สถานภาพสมรส ร้อยละ 84.3 มัธยฐานรายได้ 3,000 บาท ประเภทสัตว์ปีกที่เลี้ยงมากที่สุด คือ ไก่พื้นเมือง (ร้อยละ 79.7) มีวิธีการเลี้ยงแบบปล่อยมากที่สุด (ร้อยละ 63.6) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนกอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 41.9)เมื่อแบ่งเป็นพื้นที่ พบว่า พื้นทีที่มีการรายงานผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังมีความรู้อยู่ในระดับดี (ร้อยละ 65.4) พื้นที่ที่ไม่มีการรายงานผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.5) มีทัศนคติเรื่องไข้หวัดนกอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 52.4) เมื่อแบ่งเป็นพื้นที่ พบว่า พื้นที่ที่มีการรายงานผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังมีทัศนคติอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 65.4) พื้นที่ที่ไม่มีการรายงานผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังมีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 57.3)มีการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้หวัดนกมีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 49.7) เมื่อแบ่งเป็นพื้นที่ พบว่า พื้นที่ที่มีการรายงานผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังมีการปฏิบัติตัวเสี่ยงอยู่ในระดับน้อยหรือปานกลาง (ร้อยละ 52.9)พบว่า ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก มีความสัมพันธ์กับ อายุ การศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส รายได้ การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงนก วิธีการเลี้ยงสัตว์ปีก ประวัติการเจ็บป่วย พื้นที่ที่มีการรายงานผู้ป่วยและพื้นที่ที่ไม่มีการรายงานผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p is less than or equal to 0.05) ทัศนคติเรื่องโรคไข้หวัดนก มีความสัมพันธ์กับ อาชีพ สถานภาพสมรส รายได้ วิธีการเลี้ยงสัตว์ปีก ประวัติการเจ็บป่วย และพื้นที่ที่มีการรายงานผู้ป่วยและพื้นที่ที่ไม่มีการรายงานผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p is less than or equal to 0.05) การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้หวัดนก มีความสัมพันธ์กับ อาชีพ สถานภาพสมรส รายได้ วิธีการเลี้ยงสัตว์ปีก ประวัติการเจ็บป่วย การสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p is less than or equal to 0.05) ความรู้ทัศนคติเรื่องโรคไข้หวัดนก และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้หวัดนก พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p is less than 0.05) โดยสรุปการให้ความรู้เรื่องไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่องทั้งในพื้นที่ที่มีการรายงานผู้ป่วยและพื้นที่ที่ไม่มีการายงานผู้ป่วย จะทำให้ประชาชนที่เลี้ยงสัตว์ปีกมีความตระหนัก และนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมในการป้องกันโรคไข้หวัดนก | en |
dc.description.abstractalternative | Avian influenza is currently an important emerging communicable disease which tends to be epidemic in all countries. The objectives of this cross-sectional descriptive study were to determine knowledge, attitude, practice and related factors of avian influenza prevention among people raising poultry in the area with and with out case reports under surveillance in Lopburi province. The sampled populations were 456 households selected by multistage sampling technique. They were divided into two groups based on case reports under surveillance. The data were collected by questionnaire interview from November to December 2006. The study revealed that most of the samples were male with the median age of 50 years. More than 80% completed primary school, 46.3% were agriculturists, and 84.3% were married. The median monthly income was 3,000 baths. Seventy nine percent of the samples raised the local chicken and 63.6% raised by a cage-free method. The overall knowledge of avian influenza was in the moderate level (41.9%) the overall attitude of avian influenza was in the good level (52.4%) whereas the overall practice of avian influenza prevention was in the moderate level (49.7%. The samples who lived in the area with case reports under surveillance had knowledge and attitude of avian influenza in the good level (65.4% and 65.4%) but the risk of acquiring avian influenza by practice was in the mild or moderate level (46.3%) whereas the samples who lived in the area without case reports under surveillance had knowledge, attitude of avian influenza, and practice of avian influenza prevention in the moderate level (60.5%, 57.3% and 52.9% respectively). There were statistically significant association between knowledge of avian influenza (p is less than or equal to 0.05) and age, education, career, marital status, income, raising of chicken, raising of bird, methods of raising poultry, history of illness, and area with and without case reports under surveillance (p is less than 0.05). Practice of avian influenza prevention was significantly associated with career, marital status, income, methods of raising poultry, history of illness, and history of contact ill or died poultries (p is less than or equal to 0.05). There were statistically significant association among knowledge, attitude of avian influenza, and practice of avian influenza prevention (p is less than 0.05). In conclusion, education of avian influenza and its prevention should be implemented both in the area with and without case reports under surveillance to increase awareness and proper practice in prevention of avian influenza. | en |
dc.format.extent | 1325120 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ไข้หวัดนก -- การป้องกันและควบคุม | en |
dc.subject | เกษตรกร -- ไทย -- ลพบุรี | en |
dc.title | ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้หวัดนกของประชาชนที่เลี้ยงสัตว์ปีกในจังหวัดลพบุรี | en |
dc.title.alternative | Knowledge attitude and practice of avian influenza prevention among people raising poultry in Lopburi Province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์ชุมชน | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Narin.H@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Arnond.V@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
atichat.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.