Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12535
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิฤดี เหมะจุฑา-
dc.contributor.authorอังกูร ภาวสุทธิไพศิฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2010-04-20T06:21:02Z-
dc.date.available2010-04-20T06:21:02Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746382047-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12535-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en
dc.description.abstractการกระจายยาที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยังคงเป็นปัญหาที่พบในหลายโรงพยาบาล ความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกเป็นปัญหาหลักอย่างหนึ่งในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นการพัฒนาระบบการรับคำสั่งแพทย์ที่โรงพยาบาลหนองบัวลำภูนี้มีจุดประสงค์เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกและเพิ่มประสิทธิภาพในระบบดังกล่าว โดยดำเนินการระหว่างเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2540 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 การวิจัยในครั้งนี้ได้ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาระบบในการรับคำสั่งเดิมที่ตึกอายุรกรรม หลังจากการสัมภาษณ์และสังเกตขั้นตอนการทำงานและเวลาที่ใช้ในการรับคำสั่งแพทย์ของพยาบาล 3 ราย หลังจากนั้น ทำการเก็บข้อมูลแบบย้อนหลังโดยเทียบเอกสารแจ้งยอดชำระเงินจำนวน 506 ใบ กับใบคำสั่งแพทย์ พบความคลาดเคลื่อน 404 รายการจากทั้งหมด 8,050 รายการ (ร้อยละ 5.01) ซึ่ง 185 รายการ (ร้อยละ 2.26) อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อผลการรักษาผู้ป่วย นอกจากนี้ระบบดังกล่าวทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองเวลาของฝ่ายพยาบาลและฝ่ายเภสัชกรรมต้องคัดลอกเอกสารจำนวน 7 ชิ้น นอกจากนั้นจากการเก็บข้อมูลจากยาเม็ดที่ได้รับคืนแต่ละสัปดาห์เป็นเวลา 1 เดือน พบว่าปริมาณยาเม็ดที่ได้รับคืนจากหอผู้ป่วยในแต่ละสัปดาห์เฉลี่ย 1,547 เม็ด (มูลค่า 3,140 บาท) จากแบบบันทึกการตรวจสอบรายการยาสำรองในหอผู้ป่วยประจำสัปดาห์พบว่าปริมาณยาฉีดที่ใช้ไปแต่ไม่ได้มีการบันทึกลงเอกสารแจ้งยอดชำระเงินของผู้ป่วยเพื่อเบิกยาคืนเป็นจำนวน 17.5+-6.5 หลอด/ขวด/สัปดาห์ (มูลค่า 1,709 บาท) ส่วนเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการรับคำสั่งแพทย์เฉลี่ยต่อผู้ป่วยหนึ่งรายเท่ากับ 6.56 นาที ระบบใหม่ออกแบบโดยใช้ 4 กลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งได้แก่ 1. เภสัชกรเป็นผู้รับคำสั่งแพทย์แทนพยาบาล 2. ประยุกต์โปรแกรมจ่ายยาผู้ป่วยนอก 3. การประสานงานระหว่างฝ่ายการพยาบาลและฝ่ายเภสัชกรรม 4. การพัฒนาระบบการควบคุมยาบนหอผู้ป่วย หลังจากทำการทดลองระบบใหม่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า การคัดลอกคำสั่งแพทย์ โดยเปรียบเทียบเอกสารแจ้งยอดชำระเงิน 1,158 ใบ กับคำสั่งแพทย์พบความคลาดเคลื่อน 7 รายการ (ร้อยละ 0.034) จากการคัดลอกทั้งหมด 20,713 รายการ ซึ่งความคลาดเคลื่อน 3 รายการ (ร้อยละ 0.014) อาจส่งผลโดยตรงต่อผลการรักษาผู้ป่วย การรับคำสั่งแพทย์ระบบใหม่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยแสดงให้เห็นด้วยความสามารถในการลดจำนวนรายการที่ต้องคัดลอกจากระบบเดิมได้ร้อยละ 62.67 ขอจำนวนรายการทั้งหมด ปริมาณยาเม็ดที่ได้รับคืนจากหอผู้ป่วยในแต่ละสัปดาห์ลดลงเหลือเฉลี่ย 354 เม็ด (มูลค่า 306 บาท) จากแบบบันทึกการตรวจสอบรายการยาสำรองในหอผู้ป่วยประจำสัปดาห์พบว่าปริมาณยาฉีดที่ใช้ไปแต่ไม่ได้มีการบันทึกลงเอกสารแจ้งยอดขำระเงินของผู้ป่วยเพื่อเบิกยาคืน 7.1 + 5.6 หลอด/ขวด/สัปดาห์ (มูลค่า 419 บาท) เวลาทั้งหมดที่ใช้ในการรับคำสั่งเฉลี่ยต่อผู้ป่วยหนึ่งรายเท่ากับ 5.10 นาที ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้เภสัชกรเพื่อเป็นบุคลากรหลักในระบบที่ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบประสานงานร่วมกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการรับคำสั่งแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพen
dc.description.abstractalternativeIneffective and inefficient medication distribution is a current problem in many hospitals. Transcribing error is one type of problem potentially affected patient care. A system, aimed at reducing transcribing error as well as increasing efficiency in receiving the physicians's orders, was developed at Nongbualumpoo Hospital during July 1997 to February 1998. The study was done in a medicine ward to determine and analyze problems in the existing system. After interviewing and observing the task and time used in receiving the physicians's orders done by 3 nurse, transcribing errors were tetrospectively collected by comparing the 506 transcribed documents to original orders. The results revealed 404 errors out of 8,050 items (5.01%) and out of 404, 185 incidences (2.26%) might be harm to the patients, Furthermore, there was a repeatedly and time-consuming task of transcribing order's into 7 documents by the nurses and in the pharmacy. By collecting one month of the pharmacy record, the amount of returned medications to the pharmacy each week was 1,547 tablets (3,140 baht) on the average. Use of injectable medications from floor stock items without entering in patient's list of expenses were identified by checking each floor stock item against the pharmacy records each week. The uncharged injectables in the existing system were 17.5+-6.5 ampules/vials/week (valued of 1,709 baht) the time required to finish the transcribing process in the existing system was 6.56 minutes per patient. The system using 4 strategies designed to overcome the above problems ; those ware 1. realigning the transcribing tasks from a nurse to a pharmacist, 2. Using a dispensing computer program, 3. Coordinating work process process between nursing and pharmacy, 4. Revising procedures in controlling medication use in the ward. The new system wer operating for 2 weeks before data were collected prospectively for transcribing error. By comparing transcribed documents of 1,158 documents, 7 errors (0.034%) out of 20,713 transcribing items were found and out of 7 errores 3 incidences (0.014%) might affected the patient directly. The efficiency of the new system was increased as shown in the reduction of 62.67% transcribed items usually done by nursing. The time required for the transcribing process in the new system was 5.10 minutes per patient. The amount of returned medication to the pharmacy were decreased to 354 tablets (306 bath) per week. The uncharged injectables were accounted for 7.1+-5.6 ampules/vials/week. The results of this study clearly indicated the advantage of using a computer system coupled with a well designed coordinating system with a pharmacist as a key operator in increasing efficiency in receiving of the physicians' orders.en
dc.format.extent540179 bytes-
dc.format.extent552776 bytes-
dc.format.extent906597 bytes-
dc.format.extent380026 bytes-
dc.format.extent1316498 bytes-
dc.format.extent527575 bytes-
dc.format.extent1127881 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารทางการแพทย์en
dc.subjectโรงพยาบาล -- ระบบการจ่ายยาen
dc.subjectเภสัชกรรมของโรงพยาบาลen
dc.subjectยาen
dc.titleการพัฒนาระบบการรับคำสั่งแพทย์ ณ โรงพยาบาลหนองบัวลำภูen
dc.title.alternativeDevelopment of system for receiving of physician's orders at Nongbualumpoo Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAphirudee.H@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aungkurn_Ph_front.pdf527.52 kBAdobe PDFView/Open
Aungkurn_Ph_ch1.pdf539.82 kBAdobe PDFView/Open
Aungkurn_Ph_ch2.pdf885.35 kBAdobe PDFView/Open
Aungkurn_Ph_ch3.pdf371.12 kBAdobe PDFView/Open
Aungkurn_Ph_ch4.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Aungkurn_Ph_ch5.pdf515.21 kBAdobe PDFView/Open
Aungkurn_Ph_back.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.