Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12555
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธงชัย พรรณสวัสดิ์-
dc.contributor.authorเอกพจน์ เหลืองเอกทิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2010-04-22T03:30:22Z-
dc.date.available2010-04-22T03:30:22Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746385941-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12555-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en
dc.description.abstractศึกษาความเป็นไปได้ของการเพิ่มประสิทธิภาพของลานตากสลัดจ์ โดยการแยกน้ำที่ค้างเป็นชั้นอยู่บนลานตากสลัดจ์ออกจากสลัดจ์ ได้ทดลองบนลานตากจำลองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 570 มม. สูง 900 มม. ภายในบรรจุชั้นกรอง 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นกรวดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 มม. หนา 100 มม. ชั้นกลางเป็นทรายหยาบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 มม. หนา 100 มม. และชั้นบนสุดเป็นทรายซึ่งมีขนาดประสิทธิผล 0.36 มม. และมีสัมประสิทธิ์ความสม่ำเสมอ 1.48 หนา 350 มม. โดยใช้สลัดจ์ซึ่งนำมาจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบต่างๆ ของโรงงานต่างชนิด แปรความเข้มข้นของของแข็งแขวนลอยในสลัดจ์ให้แตกต่างกัน 4 ค่า และแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุด คือชุดควบคุม (ไม่แยกน้ำใส) และชุดทดลอง (แยกน้ำใสส่วนบนออกหลังสลัดจ์จมตัว) โดยที่แต่ละชุดใช้ปริมาตรสลัดจ์ 76.5 ลิตร (สมมูลกับความหนาของชั้นสลัดจ์เมื่อเริ่มตากเท่ากับ 30 ซม.) เพื่อศึกษาผลของการแยกน้ำใสส่วนบนที่มีต่อเวลาในการตากสลัดจ์ เปรียบเทียบกับกรณีควบคุมซึ่งไม่มีการแยกน้ำใสส่วนบน นอกจากนี้ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของความเข้มข้นของของแข็งแขวนลอย, ความต้านทานจำเพาะ (r), capillary suction time (CST) และระยะเวลาตากแห้ง (จนได้ความเข้มข้นของของแข็งในสลัดจ์ไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์) และศึกษาสัดส่วนของปริมาณน้ำที่ระบาย ปริมาณน้ำใสที่แยกได้ และปริมาณน้ำที่ระเหยจากสลัดจ์ประเภทหนึ่งๆ ด้วย ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า หากสลัดจ์มีสมบัติที่แยกเป็นชั้นน้ำอยู่เหนือชั้นสลัดจ์บนลานตาก การแยกน้ำใสส่วนบนออกก็สามารถช่วยลดเวลาในการตากแห้งได้บ้าง (ลดลงได้ 1/2 ถึง 1 วัน) แต่ถ้าสลัดจ์ไม่สามารถแยกเป็นชั้นน้ำที่สามารถดึงออกได้ เวลาในการตากสลัดจ์ให้แห้งเป็นกากของแข็ง (20 เปอร์เซ็นต์ของของแข็ง) สำหรับกรณีชุดควบคุมและกรณีชุดทดสอบก็ไม่แตกต่างกัน และจากการเปรียบเทียบสัดส่วนของปริมาณน้ำทั้ง 3 ส่วน พบว่าปริมาณการระบายและปริมาณน้ำใสส่วนบนที่แยกได้จะลดลง เมื่อความเข้มข้นของของแข็งในสลัดจ์สูงขึ้น สำหรับในส่วนของความสัมพันธ์ของความเข้มข้นของของแข็งแขวนลอย ความต้านทานจำเพาะ (r), capillary suction time (CST) และระยะเวลาตากแห้งพบว่าเมื่อความเข้มข้นของของแข็งแขวนลอยเพิ่มขึ้น ค่า CST และค่าระยะเวลาตากแห้งจะเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นค่า CST และความเข้มข้นของของแข็งในสลัดจ์ จึงสามารถใช้ในการทำนายเวลาในการตากสลัดจ์ได้ โดยเฉพาะการวัด CST สามารถทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่มาก ในขณะที่ความต้านทานจำเพาะไม่สามารถบอกลักษณะความสัมพันธ์ กับพารามิเตอร์อื่นๆ ได้en
dc.description.abstractalternativeTo study the enhancement of the efficiency of sludge drying beds and investigated on 570 mm diameter X 900 mm H pilot-scale drying beds, with 3 layers of filtering media, namely, 10-15 mm diameter gravel of 100 mm height, 3-5 mm diameter coarse sand of 100 mm height, and 0.36 mm ES with 1.48 UC sand of 350 mm height for the lower, intermediate and upper layers, respectively. The applied volume of sludge was 76.5 litres which was equivalent to 300 mm of sludge initial height on the beds. Tested sludge samples were collected from various wastewater treatment plants of different types of industries and pre-prepared into four different concentrations. Two experimental sets were initiated in this study, i.e. without and with the withdrawal of supernatant after sludge settling on the sludge drying beds. The ratio of drained water to siphonable water to evaporated water was established for this study. Furthermore there was investigation on correlationship among solids concentration, specific resistance (r), capillary suction time (CST) and drying time (to reach 20% sludge solids). It was observed that the tested sludge with good settling property yielded on the drying beds cause a large amount of supernatant which could be siphoned off. As a result, the residual sludge was drier than that without this property. However, the sludge in the control unit dewatered readily in the next few days and its final solids concentration was closed to that of the test unit. Save in drying time was just a little (1/2 to 1 days). Relationship between sludge solids concentration, specific resistance, capillary suction time and drying time was shown that specific resistance could not be related to other parameters.en
dc.format.extent685823 bytes-
dc.format.extent271034 bytes-
dc.format.extent1479417 bytes-
dc.format.extent1181831 bytes-
dc.format.extent2911911 bytes-
dc.format.extent230300 bytes-
dc.format.extent3018708 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัดen
dc.subjectกากตะกอนน้ำเสียen
dc.titleการเพิ่มประสิทธิภาพของลานตากสลัดจ์ โดยการแยกน้ำส่วนบนออกก่อนen
dc.title.alternativeEnhancement of the efficiency of sludge drying beds by predecantation of the supernatanten
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorThongchai.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekkaphoj_Lu_front.pdf669.75 kBAdobe PDFView/Open
Ekkaphoj_Lu_ch1.pdf264.68 kBAdobe PDFView/Open
Ekkaphoj_Lu_ch2.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Ekkaphoj_Lu_ch3.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Ekkaphoj_Lu_ch4.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open
Ekkaphoj_Lu_ch5.pdf224.9 kBAdobe PDFView/Open
Ekkaphoj_Lu_back.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.