Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12575
Title: แนวทางการทำดัชนีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับอาคารประเภทโรงแรม
Other Titles: An approach to formulate green building index for hotel
Authors: อามาล ภักดีธรรม
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Soontorn.B@Chula.ac.th
Subjects: โรงแรม -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เครื่องชี้ภาวะสิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์พลังงาน
โรงแรม -- การออกแบบ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในสภาวะปัจจุบันการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการออกแบบอาคารเป็นเรื่องที่สำคัญ ผลจากการออกแบบอาคารที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันที่ขาดการเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินความจำเป็นทั้งทางตรงและทางอ้อม การวิจัยนี้วัตถุประสงค์หลักของการวิจัย คือ ศึกษาตัวแปรทางด้านสิ่งแวดล้อม ศึกษากระบวนการออกแบบอาคารที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม และศึกษาวิธีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการต่างๆ สร้างแบบประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการออกแบบอาคาร ผลจากการวิจัยนี้จะเน้นการประเมินผลการทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการออกแบบอาคารประเภทโรงแรม กระบวนการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาและรวบรวมข้อมูลสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆ การพิจารณาระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และศึกษากระบวนการออกแบบอาคาร ตัวแปรหลักที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ การใช้สภาพแวดล้อมให้เกิดประโยชน์ การเลือกตำแหน่งและทิศทางของอาคาร การเลือกรูปทรงของอาคาร การเลือกระบบเปลือกอาคาร การเลือกวัสดุประกอบอาคาร การเลือกระบบปรับอาคารภายในอาคาร และการเลือกระบบการจัดเก็บขยะ ขั้นตอนต่อมาเป็นการแสวงหาค่าน้ำหนักของตัวแปรที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยจำแนกจากลักษณะการเกิดผลกระทบของตัวแปรดังกล่าวเป็น 3 กรณี ดังนี้ ระยะเวลาที่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การคืนสภาพของสิ่งแวดล้อม และพื้นที่ที่เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ระดับคะแนนของการเกิดผลกระทบแบ่งออกเป็น 3 ระดับ กล่าวคือ ระดับที่มีค่าเท่ากับ 1 คือผลกระทบที่เกิดขึ้นและทำความเสียหายให้สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ระดับที่มีค่าเท่ากับ 2 คือผลกระทบที่เกิดขึ้นและทำความเสียหายให้สิ่งแวดล้อมปานกลาง และระดับที่มีค่าเท่ากับ 3 คือผลกระทบที่เกิดขึ้นและทำความเสียหายให้สิ่งแวดล้อมมากที่สุด การสร้างดัชนีบอกค่าน้ำหนักของลักษณะการเกิดผลกระทบดังกล่าวใช้วิธีลำดับความสัมพันธ์ เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถจำกัดการศึกษาผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมภายในโครงการให้แคบลงและตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ จากนั้นจึงพิจารณาลักษณะการเกิดผล กระทบโดยกำหนดเป็นคะแนนความสัมพันธ์ของตัวแปร คะแนนความสัมพันธ์ที่ได้นำไปสร้างดัชนีแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปร ในขั้นตอนสุดท้าย ค่าคะแนนความสัมพันธ์ของตัวแปรแต่ละคู่ได้นำมาใช้เป็นค่าน้ำหนักในการสร้างแบบประเมิน การแบ่งระดับการประเมินจะแบ่งเป็น 5 ระดับคะแนนโดยนำค่าคะแนนความสัมพันธ์มาเป็นค่าสัมประสิทธิ์ในการปรับฐานคะแนนที่ได้รับจากแบบประเมิน ผลของการวิจัยพบว่า ในการออกแบบอาคารควรจะคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามลำดับดังนี้ คุณภาพของการใช้พลังงาน คุณภาพทางทัศนวิสัย คุณภาพของน้ำภายในโครงการ คุณภาพของดินภายในโครงการ คุณภาพอากาศภายในโครงการ คุณภาพอากาศภายในอาคาร คุณภาพของเสียงภายในอาคาร และคุณภาพของเสียงภายในโครงการ เมื่อได้ทำการทดสอบแบบประเมินมาทดสอบอาคารประเภทโรงแรมพบว่าโรงแรมที่ทำการทดสอบได้คะแนนจากการประเมิน 66.52 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในระดับ 2 หมายถึง อาคารดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 33.48 เปอร์เซ็น การวิจัยนี้จึงเป็นการเริ่มต้นในการจัดทำดัชนีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ประเมินผลอาคารประเภทโรงแรมที่สามารถพัฒนาต่อไปได้ กรณีศึกษานี้เป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงวิธีการให้คะแนน และค่าน้ำหนักของตัวแปรต่างๆ รวมทั้งการศึกษาอาคารประเภทโรงแรมหลังอื่นๆ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับตัวอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: At present, the evaluation of the impacts of design on the environment is important because a design that does not consider its impacts on the environment will both directly and indirectly result in natural resources wastage. This research is therefore aimed at studying the environmental variables, to study building design procedures, to consider the environmental impact of various projects. This information has been used to create environment index for evaluating the hotel buildings. The results from this research concentrate on evaluating impacts on the environment caused by hotel building. The first stage of the research is to collect and study information on differentiation of the environment, to consider the environmental impacts of various projects, to study building design procedures. The environmental variables which are related to the environment of the project and the design variables that damage the environment are the main variables of the evaluation index. These variables include the positive use of the environment, the selection of the building's location and orientation, the building form, the building envelope, the building's air-conditioning system, the building materials and the refuse disposal system. The second stage is to decide the weighting of the environmental variables, which can be classified according to the characteristics of their potential impact, duration on the environment, ability of the environment to recover, and the area of damage to the environment. Each case has a scale of impact ranging from 1 to 3.1 represents an impact of the least damage, 2 is for the medium damaging impact and 3 is for the most damaging impact. The weighting index of impacts in all 3 cases has been made in a matrix table of relationship which is a practical way to directly focus the study of the impact caused by the activities within the projects for the coverage and objectives. Afterward, the relations between the variables must be set according to their characteristics and the intensity of the impact. The relations of the variables are set by considering the weighting of the variables. Then, the index of variable relations has been produced. The final stage, the scale of each pair of variables is used as the weighting, which is used to make up the evaluation index. The scale of evaluation has been divided into 5 levels, using the relation score as the coefficient for adjusting the mean score that we get from the evaluation. The research found that green building design in general should take into account the quality of the use of energy, the quality of a field of vision, water quality, soil quality, air quality of the area of the project, indoor air quality, acoustic quality inside the building, acoustic quality of the area of the project. According to the experimental evaluation index of the case study building, the hotel building achieves 66.52 points which consider to be in the second tier. In other words, that hotel affected environment at about 33.48 percent. The study is initially a sample case. This research is therefore the early formulation of index which can be applied and future developed to be used for the evaluation of hotel buildings. There should be comprehensive studies on the methods of making and weighting variables as well as studying building models in order to efficiently use them as sources for the evaluation of environmental impacts related to buildings.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีอาคาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12575
ISBN: 9746389017
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arnal_Pa_front-1.pdf575.08 kBAdobe PDFView/Open
Arnal_Pa_ch1.pdf801.77 kBAdobe PDFView/Open
Arnal_Pa_ch2.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open
Arnal_Pa_ch3.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Arnal_Pa_ch4.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open
Arnal_Pa_ch5.pdf568.86 kBAdobe PDFView/Open
Arnal_Pa_back.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.