Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12621
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจณา จันทองจีน-
dc.contributor.authorณัฐพันธุ์ ศุภกา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-05-07T02:20:50Z-
dc.date.available2010-05-07T02:20:50Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743340041-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12621-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractแบคทีเรียสายพันธุ์ P2 ซึ่งคัดแยกได้จากตัวอย่างดินที่ปนเปื้อนด้วยน้ำมันเครื่องบริเวณอู่ซ่อมรถยนต์ จังหวัดปราจีนบุรี สามารถย่อยสลายฟีแนนทรีนเพื่อใช้เป็นแหล่งคาร์บอนและแหล่งพลังงานได้ ผลการจำแนกชนิดทางอนุกรมวิธานด้วยการวิเคราะห์ลำดับเบสของจีน 16 เอสไรโบโซมัลอาร์เอ็นเอ พบว่าสายพันธุ์ P2 เป็นแบคทีเรียในสกุล Sphingomonas และให้ชื่อว่า Sphingomonas sp. สายพันธุ์ P2 สายพันธุ์ P2 สามารถย่อยสลายฟีแนนทรีนในอาหารเหลว MM ได้อย่างรวดเร็วจากปริมาณเริ่มต้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตรลดเหลือในปริมาณที่ไม่สามารตรวจวัดได้ด้วยไฮเพอร์ฟอมานซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี หลังเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 72 ชั่วโมง นอกจากนี้ Sphingomonas sp. สายพันธุ์ P2 สามารถย่อยสลายพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นได้อีกหลายชนิดคือ แนพธาลีน อะซีแนพธิลีน อะซีแนพธีน ฟลูออรีน แอนทราซีน และ ไดเบนโซฟูแรน จากการทดสอบพบว่าสายพันธุ์ P2 ยังสามารถย่อยสลายพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุล คือ ฟลูออแรนธีน และไพรีนได้เมื่อมีฟีแนนทรีนรวมอยู่ในอาหารเหลว MM ด้วย จากการตรวจสอบด้วยธินแลร์โครมาโตกราฟีพบว่ามีสารมัธยันต์เกิดขึ้นหลายชนิดระหว่างการย่อยสลายฟีแนนทรีนของ Sphingomonas sp. สายพันธุ์ P2 จากการนำสารมัธยันต์มาทำให้บริสุทธิ์ขึ้นโดยซิลิกาเจลคอลัมน์โครมาโตกราฟีและไฮเพอร์ฟอมานซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานที่ได้จากการวิเคราะห์แมสสเปกตรัมและสเปกตรัมของโปรตอนเอ็นเอ็มอาร์สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์สารมัธยันต์ได้หนึ่งชนิดคือ กรด 1-ไฮดรอกซี-2-แนพโธอิก จากการนำ Sphingomonas sp. สายพันธุ์ P2 มาทดสอบความสามารถในการดำรงชีวิตและย่อยสลายฟีแนนทรีนในดิน (1 มิลลิกรัมต่อดินแห้ง 1 กรัม) พบว่าสายพันธุ์ P2 สามารถดำรงชีวิตและย่อยสลายฟีแนนทรีนได้อย่างมีประสิทธิภาพในดินปลอดเชื้อ แต่ในดินไม่ปลอดเชื้อพบว่าปัจจัยทางชีวภาพในดินทำให้การอยู่รอดและประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟีแนนทรีนของสายพันธุ์ P2 ลดลง อย่างไรก็ตามสายพันธุ์ P2 สามารถเพิ่มอัตราการย่อยสลายฟีแนนทรีนในดินไม่ปลอดเชื้อได้ 23% จากการทดลองพบว่าการที่ Sphingomonas sp. สายพันธุ์ P2 มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟีแนนทรีนลดลงในดินไม่ปลอดเชื้อ อาจมีสาเหตุมาจากการที่จุลินทรีย์ท้องบางสายพันธุ์ในดินที่นำมาใช้ในทดลองนี้สามารถยับยั้งการเจริญของสายพันธุ์ P2 ได้en
dc.description.abstractalternativeA bacterial strain P2, able to utilize phenanthrene as a sole source of carbon and energy, was isolated from lubricant-contaminated soil sample collected from a garage in Prajinburi province, Thailand. From 16 SrRNA gene sequence analysis, the strain P2 belonged to the genus Sphingomonas and was designated as Sphingomonas sp. strain P2. This strain rapidly degraded phenanthrene in liquid medium from 100 mg.l-1 to undetectable amount by HPLC analysis within 72 h. In addition to phenanthrene, Sphingomonas sp. strain P2 was able to degrade a wide variety of polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs), including naphthalene, acenaphthylene, acenaphthene, fluorene, anthracene, and dibenzofuran. It was also able to co-metabolize high molecular weight PAHs, fluoranthene and pyrene, inliquid minimal medium supplemented with phenanthrene. During the growth in the presence of phenanthrene, several degradative metabolites were detected by thin-layer chromatography and were further purified by using silica gel-column chromatography and high-performance liquid chromatography. Comparison of mass spectral and proton nuclear magnetic resonance spectral analyses of the metabolites with authentic compounds, one of the metabolites was identified as 1-hydroxy-2-naphthoic acid. Survival of this strain and its ability to degrade phenanthrene (1 mg/g) in both sterile and non-sterile soils were tested. The bacterium was found to survive efficiently in sterile soil with high phenanhtrene degradative ability (100% degradation) while its growth was affected by some biotic factors in non-sterile soil. However, this strain could reduce the concentration of phenanthrene in non-sterile soil by 23%. Some indigenous organisms with antagonistic activity against Sphingomonas sp. strain P2 isolated from the non-sterile soil possibly be the cause of reducing its ability.en
dc.format.extent862865 bytes-
dc.format.extent723507 bytes-
dc.format.extent1090210 bytes-
dc.format.extent952462 bytes-
dc.format.extent1866245 bytes-
dc.format.extent808373 bytes-
dc.format.extent709341 bytes-
dc.format.extent1010652 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectแบคทีเรียen
dc.subjectดินen
dc.subjectฟีแนนทรีนen
dc.subjectโพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอนen
dc.titleความสามารถของแบคทีเรียดินที่คัดแยกได้ในการย่อยสลายฟีแนนทรีน และพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นen
dc.title.alternativeAbility of isolated soil bacteria in degrading of phenanthrene and other polycyclic aromatic hydrocarbonsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKanchana.J@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttapun_Su_front.pdf842.64 kBAdobe PDFView/Open
Nuttapun_Su_ch1.pdf706.55 kBAdobe PDFView/Open
Nuttapun_Su_ch2.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Nuttapun_Su_ch3.pdf930.14 kBAdobe PDFView/Open
Nuttapun_Su_ch4.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Nuttapun_Su_ch5.pdf789.43 kBAdobe PDFView/Open
Nuttapun_Su_ch6.pdf692.72 kBAdobe PDFView/Open
Nuttapun_Su_back.pdf986.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.