Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12637
Title: | การพัฒนากระบวนการสอบความก้าวหน้าวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ให้ผลวินิจฉัยป้อนกลับ |
Other Titles: | A development of the computerized formative testing process in English subject with diagnostic feedback |
Authors: | ปิยาพร ขาวสอาด |
Advisors: | พวงแก้ว ปุณยกนก |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Puangkaew.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน ภาษาอังกฤษ -- การสอบ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการสอบความก้าวหน้าวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ให้ผลวินิจฉัยป้อนกลับ โดยแยกเป็นโปรแกรมแบบสอบและโปรแกรมซ่อมเสริม ขั้นตอนในการวิจัยคือกำหนดปัญหาโดยศึกษาสภาพและความต้องการในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ปัญหาและสิ่งที่ต้องการในกระบวนการสอบความก้าวหน้าที่จะพัฒนา ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สร้างและพัฒนาข้อสอบ เลือกภาษาคอมพิวเตอร์และเขียนโปรแกรม จัดทำเอกสารประกอบการใช้โปรแกรม และประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม ซึ่งผู้วิจัยเลือกใช้โปรแกรม Authorware ในการเขียนโปรแกรม โดยจะให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้สอบทันทีเมื่อผู้สอบยืนยันคำตอบ และรายงานผลการสอบโดยรวมอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการสอบ หากผู้เข้าสอบไม่ผ่านในจุดประสงค์ใด โปรแกรมก็จะแจ้งให้นักเรียนซ่อมเสริมในจุดประสงค์นั้น โดยสามารถศึกษาเนื้อหาและฝึกหัดได้จากโปรแกรมซ่อมเสริมที่สร้างคู่มากับโปรแกรมแบบสอบ ทดลองใช้โปรแกรมเพื่อตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดพลับพลาชัย จำนวน 88 คน แยกเป็นกลุ่มที่สอบความก้าวหน้าด้วยแบบสอบธรรมดา 44 คน และกลุ่มที่สอบความก้าวหน้าด้วยกระบวนการสอบความก้าวหน้าที่พัฒนาขึ้น 44 คน ผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมแบบสอบและโปรแกรมซ่องเสริมที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานตามที่กำหนดไว้ โปรแกรมสามารถบันทึกผลคะแนนและข้อบกพร่องเพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับให้แก่ผู้เรียนและผู้สอน นักเรียนผู้ใช้โปรแกรมเห็นว่าโปรแกรมที่พัฒนาเป็นประโยชน์และมีความสะดวกในการใช้งานอยู่ในระดับมาก นักเรียนที่สอบความก้าวหน้าไม่ผ่าน สามารถสอบผ่านในขั้นตอนของการซ่อมเสริมได้ประมาณร้อยละ 70 และเมื่อเปรียบเทียบโดยใช้คะแนนจากแบบสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น นักเรียนที่สอบความก้าวหน้าด้วยแบบธรรมดาและนักเรียนที่สอบความก้าวหน้าด้วยกระบวนการที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้คะแนนที่ได้จากการสอบกลางภาควิชาภาษาอังกฤษที่ทางโรงเรียนจัดสอบ ผลปรากฏว่า นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to develop a computerized formative testing process in English subject with diagnostic feedback. The formative testing process was divided into two programs; formative testing program and remedial program. The procedures of this research were: problem identification by studying the states and needs of English instruction development, problem and needs analysis to decide what should be in the formative testing process, computer program designing, item writing, computer language selection, computer program writing, program function testing manual writing, and program evaluation. Both programs were written by using Authorware Program and designe to show feedback of each choice when the student confirms his/her answer and to give the report of the whole test when the testing is finished. If the student fails in which objective(s), the program will recommend him/her to go to the remedial program to learn and practice before taking remedial test in the objective(s) he/she has failed. The programs were used by 44 Pratomsuksa 6 students and their achievement was compared with the achievement of 44 Protomsuksa 6 students who took the traditional paper-pencil formative test. The students in the experimental grop were assigned to evaluate the programs by answering the questionnaires. The findings showed that the programs (evaluated by the researcher and the experimental group students) were efficient, useful and convenient to use. The students who took the remedial program can pass the remedial test about 70 percent. The achievement of the students who took the formative testing process measured by the researcher's test was different from the achievement of the students who took the traditional paper-pencil formative test at .001 significant level, but the comparison of the achievement of the two groups of the students on the school mid-term test was not significantly different. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12637 |
ISBN: | 9743323384 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyaporn_Kh_front.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyaporn_Kh_ch1.pdf | 777.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyaporn_Kh_ch2.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyaporn_Kh_ch3.pdf | 2.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyaporn_Kh_ch4.pdf | 928.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyaporn_Kh_ch5.pdf | 783.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyaporn_Kh_back.pdf | 2.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.