Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12773
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์-
dc.contributor.advisorบุญมี เณรยอด-
dc.contributor.authorต่อตระกูล อุบลวัตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-06-02T06:55:53Z-
dc.date.available2010-06-02T06:55:53Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12773-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์อุปสงค์ของผู้เรียนที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาต่างชาติที่จะมาให้บริการการศึกษา ในประเทศไทย 2) ศึกษาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาไทยจากการเปิดเสรีทางการค้า และ 3) เสนอยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยในบริบทการเปิดเสรีทางการค้า การวิเคราะห์อุปสงค์(Potential Demand)ของผู้เรียนที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาของต่างชาติที่มาตั้งให้บริการในประเทศไทย ตามข้อตกลงเสรีทางการค้า โดยทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนที่กำลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เกรด12 หรือ ปี 13 จาก 5 กลุ่มโรงเรียน คือ นักเรียนจากโรงเรียนที่สอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ (EP)โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนเอกชน โรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัย ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 627 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า ระดับความต้องการของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง สาขาวิชาที่ผู้เรียนต้องการเรียนมากที่สุด 3 ลำดับคือ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิศวกรรมศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ สำหรับประเทศที่ผู้เรียนต้องการให้มาตั้งมหาวิทยาลัยในประเทศไทย คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย ปัจจัย 3 ลำดับแรกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนในสถาบันอุดมศึกษาต่างชาติ คือ โอกาสการมีงานทำหลังจากสำเร็จการศึกษา คุณภาพของคณาจารย์ และความเป็นมาตรฐานสากลของหลักสูตร ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับอุปสงค์ของนักเรียนมี 6 ปัจจัยร่วมกัน คือ ทักษะภาษาที่จะได้รับจากการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ เพศของผู้เรียน ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในการเรียนการสอน โอกาสการเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน รายได้ในอนาคต และรายได้ครอบครัว การศึกษาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาไทยจากการเปิดเสรีทางการค้า และเสนอยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยในบริบทการเปิดเสรีทางการค้าเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ จากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในการกำหนดยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 20 สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน และการจัดสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาข้อสรุปร่วมถึงผลกระทบและยุทธศาสตร์ พบว่า สถาบันอุดมศึกษาของไทยทั้งรัฐและเอกชน คาดการณ์ถึงผลกระทบว่าจะไม่เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง แต่มิได้หมายความว่าจะไม่เกิดผลกระทบใดๆเลย ผลกระทบที่สถาบันอุดมศึกษาไทย อาจจะได้รับผลกระทบมีอยู่ 4 ประเด็น คือ 1. การเคลื่อนย้ายกำลังคนในส่วนของคณาจารย์ 2. การแข่งขันด้านความเป็นนานาชาติ 3. การแข่งขันด้านชื่อเสียงของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับต่างชาติ 4. การแข่งขันด้านความพร้อมในการลงทุน ตลอดจนอุปกรณ์การเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยในบริบทการเปิดเสรีทางการค้า ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ 7 ยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาไทย ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ด้านการปฏิรูประบบบริหารจัดการอุดมศึกษา 2. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษา 3. ยุทธศาสตร์ด้านคุณภาพการศึกษา 4. ยุทธศาสตร์ด้านต้นทุนการจัดการศึกษา 5. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาความสามารถทางภาษาต่างประเทศ 6. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทยในบริบทนานาชาติ และ 7. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to analyze the potential demand of Thai students for higher education offered by foreign institutions in Thailand 2) to determine possible impacts on Thai higher education institutions from Free Trade Agreement 3) to propose strategies for Thai higher education institutions in the context of Free Trade Agreement. Questionnaire was employed to analyze potential demands of Thai students for higher education offered by foreign institutions in Thailand in the context of Free Trade Agreement. The samples comprised 627 students, who were studying in Mathayom 6 or Grade 12 or Year 13 from five types of school. There were English program, international, private, public, and demonstration schools. The SPSS program was applied to analyze the data. The results suggested that the potential demands of Thai students were at the median level. The first three preferred programs for students were Commerce and Accountancy, Engineering, and Communication Arts. The USA, UK, and AUS were expected to establish their institutions in Thailand. The first three factors influencing enrollment decisions in foreign higher education institutions were employment opportunities upon graduation, faculty quality, and standards of program. Six factors that bore effects on the demand level of students were language skills acquired from an international program, gender, medium of instruction, opportunity to be an exchange student or to do research overseas, expected salary after graduation, and family’s income. In addition to the possible impacts on Thai higher education institutions from Free Trade Agreement and strategies for Thai higher education institutions in the context of Free Trade Agreement, the results were drawn from interviews of 21 senior administrators of both Thai public and private higher education institutions, and from a seminar of these administrators. It was found that both Thai public and private higher education institutions projected that the impacts would not be serious. According to the interviews, there were four issues of main concern i.e. mobility of instructors to foreign institution , competition to become internationalized, competition for reputation between Thai and foreign institutions, and competition on readiness in terms of investment and teaching equipment. The proposed strategies for Thai higher education institutions in the context of Free Trade Agreement consisted of seven aspects as follows :1) strategy on reform of higher education management 2) strategy on faculty and staff development 3) strategy on quality of education 4) strategy on cost of education 5) strategy on development of foreign language abilities 6) strategy on the retention of Thai identity in the international context 7) strategy on image building of Thai higher education institutions.en
dc.format.extent2116257 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.304-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการค้าเสรีและการคุ้มครองen
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- การบริหารen
dc.titleการนำเสนอยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาไทยในบริบทการเปิดเสรีทางการค้าen
dc.title.alternativeProposed strategies for Thai higher education institutions in the context of free trade agreementen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPruet.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorBoonmee.n@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.304-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tortrakool_ub.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.