Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12921
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์-
dc.contributor.authorอภิชาต อึ้งประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2010-06-17T11:22:38Z-
dc.date.available2010-06-17T11:22:38Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9745315028-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12921-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractแม้ว่าการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนนั้นต้องใช้เงินลงทุนมาก แต่เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ก็จะส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟฟ้าราคาเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นโอกาสให้ รัฐบาลซึ่งเป็นผู้ลงทุนนั้นสามารถคืนทุนได้ อย่างไรก็ดี ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับ ผลกระทบของระบบไฟฟ้าขนส่งมวลชนต่อราคาอสังหาริมทรัพย์อย่างเป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถ ทราบได้ว่าผลกระทบเป็นตัวเงินที่เกิดขึ้นจากการมีทำเลใกล้สถานีรถไฟฟ้าเป็นอย่างไร เพื่อตอบ ปัญหาดังกล่าว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่าง ราคาของห้องชุดที่พักอาศัยกับระยะทางจากสถานีรถไฟฟ้า และเพื่อสร้างแบบจำลองที่ใช้ประเมิน ราคาห้องชุด ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการรวบรวมประกาศเสนอขายจากทางนิตยสาร ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และโปรแกรมแผนที่ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างแบบจำลอง สมการถดถอยแบบเฮโดนิก (Hedonic Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมุติฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ ระหว่างราคาของห้องชุดกับระยะทางระหว่างอาคารชุดกับสถานีรถไฟฟ้า อันเป็น ตัวแปรซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการเข้าถึงระบบไฟฟ้า และเพื่อใช้ในการประเมินราคาห้องชุด ที่พักอาศัย จากผลการศึกษาพบว่า ราคาของห้องชุดที่พักอาศัยมีความสัมพันธ์กับรากที่สองของ ระยะทางจากสถานีรถไฟฟ้า ภายใต้คุณสมบัติของอาคารชุดและห้องชุดที่ใกล้เคียงกัน เมื่ออาคารชุด อยู่ไกลจากสถานีมากยิ่งขึ้น ราคาของห้องชุดจะลดลง ด้วยระยะทางที่เท่ากัน ระยะทางในช่วงใกล้ สถานีจะส่งผลมากกว่าระยะทางช่วงไกลจากสถานี โดยชุดข้อมูลที่ใช้ทดสอบในวิทยานิพนธ์นี้ ห้องชุดในอาคารที่อยู่บริเวณติดกับสถานีกับห้องชุดในอาคารที่ห่างจากสถานี 1 กิโลเมตร จะมีราคาต่างกันประมาณ 6.8 แสนบาท ห้องชุดในอาคารที่อยู่ในบริเวณติดกับสถานีกับห้องชุด ในอาคารที่ห่างจากสถานี 2 กิโลเมตร จะมีราคาต่างกันประมาณ 9.7 แสนบาท ผลการศึกษา ดังกล่าวสามารถใช้ในการประเมิน การเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์ บริเวณใกล้เคียง สถานีรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ซึ่งเป็นฐานภาษีใหม่ และสามารถใช้เป็นแหล่งทุนสำหรับ การลงทุนก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตได้en
dc.description.abstractalternativeWhile the construction costs of mass rapid transit system are very high, upon completion of the system, prices of real estate properties nearby ten to increase substantially. This presents an opportunity for the government to recoup its investment. However, there has been no systematic study in Thailand that relates the impacts of mass rapid transit system to property prices, which allow the government to estimate potential revenues that may be generated by such captitalization. To shed light on this issue, this thesis has two objectives; 1)to determine the relationship between condominium prices and their distances to transit station which reflect the abillity of residents of access the mass rapid transit system, and 2) to estimate statistical models, that can be used to predict condominium prices. The data used in this study were gathered from real-estate magazines, government agencies' websites and digital maps, and were analyzed using Hedonic Regression technique. The estimation results showed that the price of condominium is a function of the square root of distance from transit station. Controlling for property attributes, the further from transit station the property is, the lower the price. Prices decline faster near transit station and more slowly at further location. The estimated rent gradient implies that a property adjacent to transit station is 680,000 Baht more expensive than one that is located two kilometers away from the station, and 970,000 Baht more than one that is located two kilometers away. The results can be used to predict the revenues that can be raised from property tax hike which can in turn be used to finance further expansion of the transit system.en
dc.format.extent1415242 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอาคารชุด -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectรถไฟฟ้า -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectอสังหาริมทรัพย์ -- การประเมินราคาen
dc.titleผลกระทบของความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนต่อราคาอาคารชุดที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeThe effects of accessibility to mass rapid transit system on condominium prices in Bangkok areaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsaksith.c@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apichart_eu.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.