Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12928
Title: | การปรับปรุงการจัดตารางการผลิตในโรงงานผลิตเบรกและคลัตช์ |
Other Titles: | Production scheduling improvement in brakes and clutches manufacturing factory |
Authors: | ดวงกมล มัทวานนท์ |
Advisors: | สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suthas.R@Chula.ac.th |
Subjects: | การกำหนดงานการผลิต กำลังการผลิต อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ รถยนต์ -- เบรก รถยนต์ -- คลัทช์ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาปัญหาการผลิตของผลิตภัณฑ์เบรกและคลัตช์ของโรงงานตัวอย่าง และหาแนวทางการปรับปรุงการจัดตารางการผลิต เพื่อลดเปอร์เซ็นต์การส่งมอบสินค้าไม่ทันกำหนด และการผลิตสินค้าได้ไม่เต็มกำลังการผลิต โดยประยุกต์ใช้วิชาการทางวิศวกรรมอุตสาหการ โดยเสนอวิธีการจัดตารางการผลิตโดยวิธีการทางฮิวริสติกของซีดีเอส และประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการปรับปรุงการจัดตารางการผลิต จากการศึกษาพบว่าสาเหตุที่ทำให้การจัดตารางการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ ทำการจัดตารางการผลิตโดยขาดทฤษฎีและหลักการมารองรับ ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงโดยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ Microsoft Access และ Visual Basic.Net เข้ามาช่วยในการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดการจัดตารางการผลิต และเข้ามาช่วยในการจัดตารางการผลิต ผลจากการศึกษาพบว่าภายหลังจากการปรับปรุง ทำให้ระบบการจัดตารางการผลิตมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยสามารถลดเวลาในการจัดตารางการผลิตลงได้ จากเดิม 8 ชั่วโมง เป็น 2.5 ชั่วโมง โดยลดลงจากเดิมถึง 68.75% สามารถลดการส่งมอบงานไม่ทันตามกำหนดลงได้จากเดิม 33.33% เป็น 16.67% ลดลงจากเดิม 50% อัตราการทำงานล่วงเวลาลดลง จากเดิม 36 ชั่วโมง เป็น 24 ชั่วโมง ลดลงจากเดิม 33.34% นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยสร้างระบบฐานข้อมูลให้เป็นมาตรฐานและง่ายต่อการใช้งาน |
Other Abstract: | To study production problem in brakes and clutches manufacturing factory, and then to purpose the solution by inproving production scheduling to reduce delivery problems and improve production capacity by applying industrial engineereing knowledge, that is scheduling with CDS's Heuristic Approach (Campbell, Dudek and Smith), ahd applying scheduling software. The study has found that the significant factor affecting the effectiveness of the production scheduring is the absence of the scheduling section. The research, therefore has present the approach in solving this problem by applying Microsoft Access and Visual Basic in order to set up database which is necessary for production scheduling and promote production scheduling system. The study indicated that with the implemention of this recommendation, the efficiency of production scheduling increased. This result in the reduced of the time used for scheduling from 8 hours to 2.5 hours decrease by 68.75%, decrease failure delivery from 33.33% to 16.67% decrease by 50%, decrease over time from 36 hours to 24 hours decrease by 33.34%. Additionally, the study also strengthened the application of database system to be more revitalized. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12928 |
ISBN: | 9741735944 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Duangkamon _ma.pdf | 2.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.