Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12958
Title: ผลกระทบของตลาดน้ำตลิ่งชันต่อชุมชนริมน้ำคลองชักพระ แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Impact of Talingchan Floating Market on Khlong Chakphra Community, Khlong Chakphra sub-district, Talingchan District, Bangkok
Authors: ศรัณยพงศ์ โชติวรรณ์
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suwattana.T@Chula.ac.th
Subjects: การท่องเที่ยว
ตลาดน้ำ
การพัฒนาชุมชน
การท่องเที่ยวทางน้ำ
ตลาดน้ำตลิ่งชัน (กรุงเทพฯ)
คลองชักพระ (กรุงเทพฯ)
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความเป็นมาของตลาดน้ำตลิ่งชันและชุมชนริมน้ำคลองชักพระ เพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของตลาดน้ำตลิ่งชันในช่วงจัดตั้ง พ.ศ. 2530 และช่วงปรับปรุง พ.ศ. 2541 รวมถึงศึกษาผลกระทบของตลาดน้ำตลิ่งชันต่อชุมชนริมน้ำคลองชักพระ วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสารและใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ประชาชนริมน้ำจากกลุ่มตัวอย่าง 100 ราย และผู้ค้าจำนวน 7 ราย และการสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบด้วยประธานประชาคมตลาดน้ำตลิ่งชัน ผู้ประกอบการค้า ผู้นำชุมชน นักท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ผลการศึกษามีดังนี้ จากการศึกษาพบว่า ตลาดน้ำตลิ่งชันมีมานานแล้วตั้งแต่ตั้งถิ่นฐานชาวสวนย่านตลิ่งชัน จึงเป็นตลาดน้ำแบบธรรมชาติโดยแท้จริง ต่อมาเกิดน้ำท่วม มีการตัดถนนเพื่อขยายตัวของเมือง ทำให้ตลาดเลิกไป ต่อมาในปี 2530 เขตตลิ่งชันได้จัดตั้งตลาดน้ำขึ้นมาใหม่เป็นรูปแบบตลาดนัดสินค้าการเกษตร และมีนักท่องเที่ยวเริ่มเข้ามาเที่ยวคลองชักพระมากขึ้น ในช่วงปี 2534-2535 เมื่อเกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากภาวะสงครามอ่าวเปอร์เซีย และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และนโยบายของผู้บริหารเขตที่ไม่มีนโยบายการปรับปรุงตลาดน้ำ ทำให้มีนักท่องเที่ยวน้อยลงส่งผลให้ตลาดน้ำทรุดโทรงลง ต่อมาในปี 2541 มีการปรับปรุงตลาดน้ำขึ้นมาใหม่และมีการจัดตั้งกลุ่มประชาคมเกิดขึ้น โดยเป็นการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นได้มาค้าขายที่ตลาดน้ำ มีกิจกรรมตลิ่งชันทัวร์ จึงทำให้ตลาดน้ำได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนถึงปัจจุบัน ผลกระทบของตลาดน้ำตลิ่งชันต่อชุมชนริมน้ำคลองชักพระ จากการศึกษาพบว่ามีทั้งผลกระทบทางบวกและทางลบโดยแบ่งเป็นสามด้านคือ ด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ด้านกายภาพพบว่า ผลทางบวกหรือผลดีคือทำให้ประชาชนได้รับบริการพื้นฐานจากรัฐที่สำคัญได้แก่ การปรับปรุงถนนที่เข้ามาตลาดน้ำคือถนนฉิมพลี และถนนชักพระ ด้านเศรษฐกิจพบว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น และมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย ด้านสังคมและวัฒนธรรมพบว่าส่งเสริมให้มีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่น เช่น ประเพณีชักพระช่วงเดือนพฤศจิกายน เทศกาลกระท้อนห่อที่จัดขึ้นประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เป็นต้น ส่วนผลทางลบหรือผลเสีย ด้านกายภาพพบว่าเสียงของเรือท่องเที่ยวที่วิ่งเร็วทำให้รบกวนชาวบ้านจนเกิดความรำคาญ และพฤติกรรมของผู้ประกอบการค้าและนักท่องเที่ยวบางคนที่ทิ้งขยะลงในบริเวณตลาดน้ำตลิ่งชันรวมถึงในคลองชักพระด้วย ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในเรื่องสินค้ามีราคาแพงขึ้น มีการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว การย้ายถิ่น ความเสื่อมของวัฒนธรรม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด พบว่าเกิดขึ้นน้อยมากกับชุมชนริมน้ำคลองชักพระ แนวทางการลดผลกระทบทางลบในเรื่องเสียงเรือยนต์ควรให้ทางกรมเจ้าท่าเข้ามาดูแลอย่างต่อเนื่องและจริงจังเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ส่วนเรื่องคุณภาพน้ำ แม้จะได้รับการระบุจากชุมชนว่ามีผลกระทบเล็กน้อยแต่ก็ควรมีการป้องกันตั้งแต่ต้น ควรมีการสร้างจิตสำนึกให้กับทุกๆคนในการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมรวมถึงมีมาตรการในการลงโทษผู้ที่ทิ้งขยะลงในคลองขักพระ ส่วนแนวทางการส่งเสริมผลกระทบด้านบวกให้มีความยั่งยืนต่อไปคือเรื่องของการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น ควรที่จะให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับสิทธิประโยชน์เพื่อให้ทุกครอบครัวได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการค้าขายในตลาดน้ำแห่งนี้โดยเท่าเทียมกัน โดยกำหนดให้ประชาชนมาค้าขายเพียงครอบครัวละหนึ่งคนเท่านั้น
Other Abstract: To study the background of the Talingchan Floating Market and Khlong Chakphra Community, its changes and changing factors of the Market since its establishment in 1987 and the improvement in 1998. They also included the impact of Talingchan Floating Market on Khlong Chakphra Community. The used methods were qualitative and quantitative with documentary research and questionnaire interview. The samples were 100 residents of Khlong Chakphra Community, and 70 merchants at Talingchan Floating Market. Indepth interviews were conducted and the target groups are Chairman of the Talingchan Floating Market civic group, Community chairman, merchants, tourists and Talingchan District officers. The study found that the Talingchan Floating Market was a part of the orchard settlements in the Talingchan District, functioned as a natural floating market. Later flood and railroad put and end to the floating market. In 1987, new Talingchan Floating Market was wet up again by the Talingchan District. It was a natural farmer market. During 1991-1992 economic crisis because of the Gulf War and the political turmoil in May 1992 caused the decling of tourism. In 1998 the Talingchan Floating Market was rejuvenated and organized by Talingchan Floating Market civic group, to make tourism, creating marketing opportunity for local people popular as today. The impact of the Talingchan Floating Market on Khlong Chakphra Community were both positive and negative, considered in three aspects: physically, socio-economic and culture. In terms of physically positive impact, people received better basic services from government from building the Chimphree and Chakphra roads to the Talingchan Floating Market. For economic aspect, new jobs were created and income increased for local people and many consuming goods available. For social and cultural aspect tourism management by Community was encouraged. On the negative impact, noises from boat tours were annoying for the people. Moreover, goods so expensive, in migration, narcotics, and crimes were found at a little impact or non-impact for the people. The recommendations were to reduce the negative impact from boat tours and to increase the monitoring of the Harbour Department. For water quality problems, people should raise consciousness on environmental protection and to punish who threw away the garbage down to canal. To promote positive sustainable impact, in terms of local income it was recommended that those every family had equal opportunity to participate in selling at the Floating Market by permitting only one person for family.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12958
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.510
ISBN: 9741431899
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.510
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saranyapong_ch.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.