Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12988
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง | - |
dc.contributor.author | จิรศักดิ์ อุดหนุน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-06-25T08:17:15Z | - |
dc.date.available | 2010-06-25T08:17:15Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12988 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตและอาจารย์ สาขาวิชาดนตรีที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บ 2)ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลงสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตระดับอุดมศึกษาต่างสถาบันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการประพันธ์เพลง และ 3)นำเสนอรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บวิชาการประพันธ์เพลง สำหรับนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามได้แก่ นิสิตปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 60 คน และนิสิตปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีตะวันตก คณะมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 80 คน และอาจารย์สาขาดนตรี รวมจำนวน 11 คน กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบได้แก่นิสิต 2 สถาบันที่ศึกษาอยู่ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2550 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบประเมินผลงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตและอาจารย์ มีความเห็นว่า การปฐมนิเทศ ควรจัดในห้องเรียน เครื่องมือบนเครือข่าย เพื่อการสนทนา คือ กระดานสนทนา และเว็บ-เบท วิดีโอ คอนเฟอเรนซิ่ง (WBV) กระดานสนทนาประจำวิชา เหมาะสำหรับการระดมสมองกลุ่มย่อย วิธีการที่เหมาะสมมากที่สุดในการสร้างผลงาน คือ กิจกรรมในชั้นเรียน และใช้โปรแกรมพิมพ์โน้ต ที่เหมาะสมกับการใช้บนเครือข่าย การนำเสนอผลงานเป็นแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียน อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะนิสิตในชั้นเรียน และด้วยการสนทนา และประเมินงานกลุ่มพร้อมกันในชั้น 2. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลง สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน มีคะแนนผลงานการประพันธ์เพลงในระดับดี 3. รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลงสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน มี 5 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นเตรียม ได้แก่ การปฐมนิเทศ และทดสอบก่อนเรียน 2) ขั้นสอน ได้แก่ การนำเสนอเนื้อหาในชั้นเรียน 3) ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม 4) ขั้นตรวจสอบผลงาน และ 5) ขั้นสรุปบทเรียน และประเมินผลการทำงานเป็นกลุ่มในชั้นเรียน | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to 1) study the opinions of students and the instructors in music program concerning web-based cooperative learning 2) study the effect of the web-based cooperative learning model on music composition of undergraduate students in music program in different higher education institutions and 3) propose the web-based instructional model on music composition for undergraduate students in different higher education institutions. The samples used in survey phase included 60 undergraduate students in music education of Chulalongkorn University and 80 students in western music program of Kasetsart University and 2) 11 instructors form both music programs. The samples used in implementing the model were 14 undergraduate students in the second semester 2007 academic year. The research finding revealed that 1) Students and instructors agreed that orientation should be in class, online tods for dialogue were webboard and web-based videoconferencing (WBV), webboard for group brainstorm, the most preferable methods for constructing an assignment were in-class activities and online-note publishing program, face-to-face in-class assignment presentation, an instructors provided assignment feedback during class discussion and online via webboard, and both an instructor and students evaluated and seconmended group assignments in class. 2) It was found that the students learned form web-based instructional model based on cooperative learning method gained music composition assignment scores in good. 3) The web-based instructional model based on cooperative learning model on music composition for undergraduate students in music program in different higher education institutions is five steps process 1) preparation step includes an orientation and pretest assignment 2) learning and teaching step includes content presentation in a classroom step 3) group activities step 4) assignment review step and 5) summary and group assignment assessment in classroom step. | en |
dc.format.extent | 19809959 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1091 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การเรียนการสอนผ่านเว็บ | en |
dc.subject | การทำงานกลุ่มในการศึกษา | en |
dc.title | การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเว็บ วิชาการประพันธ์เพลงสำหรับนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ระดับอุดมศึกษาต่างสถาบัน | en |
dc.title.alternative | A proposed of web-based cooperative learning model on music composition for undergraduate students in different higher education institutions | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Onjaree.N@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.1091 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jirasak..pdf | 19.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.