Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1300
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยพันธุ์ รักวิจัย-
dc.contributor.authorสมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-01T06:49:25Z-
dc.date.available2006-08-01T06:49:25Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741733917-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1300-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปากพนังรวมทั้งชายฝั่งใกล้เคียง มีองค์ประกอบหลายตัวและซับซ้อนยาวนาน จนไม่สามารถแน่ใจได้ว่าการศึกษาวิเคราะห์เท่าที่เคยทำมาแล้ว และที่จะทำต่อไปในอนาคต จะสามารถเข้าถึงและครอบคลุมองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ครบถ้วน รวมทั้งจะสามารถวิเคราะห์ผลกระทบอันเกิดจากกระบวนการที่ซับซ้อนของธรรมชาติได้อย่างถูกต้องแท้จริงหรือแม้แต่ใกล้เคียง ทั้งนี้เพราะจำกัดของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันด้วยเหตุนี้การศึกษาโดยลำดับความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้ถูกต้องแน่นอนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการวิเคราะห์และตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเล วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงประวัติการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งลุ่มน้ำปากพนัง รวมทั้งปัจจัยเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเสนอแนวทางการศึกษาจัดการเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล โดยใช้วิธีการศึกษาสภาพแนวชายฝั่งในช่วงปี คือ พ.ศ. 2509-10, 2517-18, 2538 และ 2542 มาเปรียบเทียบกัน เพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา สภาพแนวชายฝั่งที่นำมาใช้เปรียบเทียบนี้ ได้มาจากการต่อภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหาร ซึ่งเป็นภาพถ่ายที่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้โดยตรง ต้องทำการปรับแก้ค่าพิกัด และกำจัดความบิดเบี้ยวและความคลาดเคลื่อนต่างๆ ก่อนนำมาใช้งาน ผลการศึกษาพบว่าชายฝั่งปากพนังมีการเปลี่ยนแปลงทั้งกัดเซาะและทับถมตลอดทั้งแนว ส่วนมากเกิดการทับถม โดยทับถมมากที่สุดในช่วงปี 2538-2542 และเกิดการเซาะมากที่สุดในช่วงปี 2518-2538 ซึ่งเป็นช่วงปีที่เกิดพายุและเหตุการณ์พิเศษบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมากกว่าช่วงปีอื่น บริเวณที่ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงคือชายฝั่งบริเวณบ้านเกาะฝ้าย-นำทรัพย์ มีอัตรากัดเซาะสูงสุด 7.45 เมตร/ปี ในช่วงปี 2538-2542 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการสร้างคันกันทรายที่ปากคลองระบายน้ำบ่อคณฑีในปี 2527 การศึกษานี้ได้พยายามรวบรวมข้อมูลทั้งที่เกี่ยวข้องกับชายฝั่งปากพนังโดยตรง และข้อมูลแวดล้อมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ถึงแหลมตาชี จ.ปัตตานี เนื่องจากกระบวนการชายฝั่งจะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันตลอดทั้งแนวชายฝั่ง ถึงแม้ว่าข้อมูลที่มีอยู่ปัจจุบันอาจจะวิเคราะห์ในส่วนของสาเหตุการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งได้อย่างไม่ชัดเจนก็ตาม แต่การศึกษานี้ก็จะเป็นเสมือนการศึกษาเบื้องต้นสำหรับความพยายามในครั้งต่อไป ซึ่งหากในอนาคตมีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบและมีข้อมูลมากกว่าปัจจุบันนี้ ก็จะสามารถศึกษาวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจนมากขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThe shorelien changes at the Pak Phanang River basin and the surrounding shorelines have long been caused by many factors and highly complicated which result in doubts about the past studies and even some futuer studies. They may not be able to cover all factors involved as well as to clearly analyze the effects of the complex natural processes due to inadequate data available at present. therefore a study, which chronologically portrays historical events from the past to present is necessary for an analysis and a consideration related to the shoreline change problems. This thesis aimed at the historical changes of the shoreline at the Pak Phanang River basin as well as some fundamental causes of such changes. Some previous studies and managements related to the shoreline changes were presented. By comparison of the shorelines in years 1966-7, 1974-5, 1995 and 1999, the shoreline changes were determined during each period. The shoreline data were obtained by assembling the aerial photos obtained from the Royal Thai Survey Department. However, these photos were not directly assembled. Some adjustments were carefully made on actual coordinates, distortion and other errors. The study results revealed that there were changes of the Pak Phanang shorelines was found, aspecially in the period of 1995-1999. The highest recession had occurred during 1975-95 which was the period with severe storms and special events in the lower gulf. The most severe recession, about 7.45 m/year during 1995-1999, had occurred at the shoreline between Ban Ko Fai-Ban Nam Sap. It had happened immediately after the construction of a jetty at the mouth of the Bo Khon Thai drainage canal in 1984. This study had attempted to colled all data related to the Pak Phanang shoreline and its environment inthe lower gulf of Thailand, covering the shoreline from A. Khanom, C.Nakhon Si Thammarat down south to Ta Chee Cape, C.Pattani. Since the coastal processes were considered connected along the entire shorelines. It was found that the available data at present were inadequate for a definite conclusions about the causes of shoreline changes. This study was expected to provide some basis for further studies. In case of more data and better systematic observations are available, a more comprehensive study can be made.en
dc.format.extent40042495 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectชายฝั่ง -- ไทยen
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งen
dc.subjectแม่น้ำปากพนังen
dc.titleการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งลุ่มน้ำปากพนังen
dc.title.alternativeShoreline changes at Pak Phanang River basinen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมแหล่งน้ำen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChaipant.R@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompratana.pdf28.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.