Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13018
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุทุมพร จามรมาน-
dc.contributor.advisorเอื้อพงศ์ จตุรธำรง-
dc.contributor.authorวารุณี พูลสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-07-09T08:13:40Z-
dc.date.available2010-07-09T08:13:40Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743335447-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13018-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในมหาวิทยาลัยและความสุขสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิตของนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จากโมเดลการคัดเลือก 2 โมเดล คือ โมเดลการคัดเลือกด้วยวิธีการสอบร่วมกับโมเดลการคัดเลือกด้วยวิธีการคัดเลือกเอง และเปรียบเทียบโมเดลดังกล่าว ในประเด็นความสามารถในการทำนายและความคลาดเคลื่อนในการทำนาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นปีการศึกษา 2536-2541 จำนวน 1,168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับภูมิหลังของนักศึกษาแพทย์และความสุขสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิต และแบบบันทึกเกี่ยวกับเกรดเฉลี่ยสะสมและคะแนนสอบคัดเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมลิสเรล 8.12 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลทั้ง 2 ที่มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วยตัวแปรด้านภูมิหลังของนักศึกษาแพทย์และคะแนนสอบคัดเลือก 15 ตัว ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในมหาวิทยลัยและความสุขสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิต ซึ่งโมเดลทั้ง 2 มีตัวแปรดังกล่าวเหมือนกัน 13 ตัวและแตกต่างกัน 4 ตัว โดยที่โมเดลการคัดเลือกด้วยวิธีการสอบร่วม อธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในมหาวิทยาลัยและความสุขสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิตได้ร้อยละ 39 และร้อยละ 3 ตามลำดับ ความตรงของโมเดลแสดงด้วยค่าไค-สแควร์ = 172.29 ที่องศาความเป็นอิสระ 150 ระดับนัยสำคัญ 0.10 ประกอบกับดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI = 0.98) และดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI = 0.96) มีค่าเข้าใกล้ 1 และโมเดลการคัดเลือกด้วยวิธีการคัดเลือกเอง อธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในมหาวิทยาลัยและความสุขสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิตได้ร้อยละ 16 และ ร้อยละ 17 ตามลำดับ ความตรงของโมเดลแสดงด้วยค่าไค-สแควร์ = 161.75 ที่องศาความเป็นอิสระ 140 ระดับนัยสำคัญ 0.10 ประกอบกับดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI = 0.97) และดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI = 0.94) มีค่าเข้าใกล้ 1 2. ในการเปรียบเทียบโมเดล โดยใช้ค่าสถิติ 3 ประเภท เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์การทำนายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในมหาวิทยาลัย (R2สอบร่วม = 0.39, R2คัดเลือกเอง = 0.16) ค่าสัมประสิทธิ์การทำนายของความสุขสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิต (R2สอบร่วม = 0.03, R2คัดเลือกของ = 0.17) และค่ากำลังสองเฉลี่ยของส่วนเหลือ (RMRสอบร่วม = 0.033, RMRคัดเลือกเอง = 0.037) พบว่าแต่ละโมเดลดีในลักษณะต่างกัน โดยโมเดลการคัดเลือกด้วยวิธีการสอบร่วมเป็นโมเดลที่ดีในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในมหาวิทยาลัย ในขณะที่โมเดลการคัดเลือกด้วยวิธีการคัดเลือกเองเป็นโมเดลที่ดีในการทำนายความสุขสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิตen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to predict the academic achievement and wellness of medical students of the Faculty of Medicine Siriraj Hospital University by the two models--the entrance examination model and the institute self selection model--and to compare them in sense of the ability of prediction and the error of prediction. The samples consisted of 1,168 medical students of the Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University in the 1993-1998 academic years. The research instruments were the questionaires containing background and wellness and the records containing cumulative grade-point average and entrance examination scores. The data was analyzed by LISREL version 8.12. The research results were as follows. 1. Both models were fit to the empirical data that each had 15 backgrouds and entrance examination scores variables affecting the academic achievement and wellness. In these 15 variables, 13 variables were the same and 4 variables were difference. The entrance examination model accounted for 39% and 3% of the variance in academic achievement and wellness respectively, which the validity of the model was indicated by the chi-square equal to 172.29 with 150 degree of freedom, p = 0.10, goodness of fit index equal to 0.98 and adjusted goodness of fit index equal to 0.96. The institute self selection model accounted for 16% and 17% of the variance in academic achievement and wellness respectively, which the validity of the medel was indicated by the chi-square equals to 161.75 with 140 degree of freedom, p = 0.10, goodness of fit index equals to 0.97 and adjusted goodness of fit index equals to 0.94. 2. The comparison of the two models was made by using the three criteria--the coefficient of determination of academic achievement (R2entrance = 0.39, R2self selection = 0.16) ; the coefficient of determination of wellness (R2entrance = 0.03, R2self selection = 0.17) and the root mean squared residual (RMRentrance = 0.033, RMRself selection = 0.037)--found that each model had different strength. The entrance examination model was good for the prediction of the academic achievement. The institute self selection model was good for the prediction of the wellnessen
dc.format.extent613204 bytes-
dc.format.extent574174 bytes-
dc.format.extent2104510 bytes-
dc.format.extent769898 bytes-
dc.format.extent766917 bytes-
dc.format.extent556874 bytes-
dc.format.extent2068573 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.423-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- การสอบคัดเลือกen
dc.subjectนักศึกษาแพทย์ -- การดำเนินชีวิตen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.subjectพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.titleการเปรียบเทียบผลการทำนายของโมเดลการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาระหว่างวิธีการสอบร่วมกับวิธีการคัดเลือกเองของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลen
dc.title.alternativeA comparison of prediction results of the models in selecting applicants for higher education between the entrance examination and the institute self selection models, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol Universityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorUtumporn.J@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.423-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warunee_Po_front.pdf598.83 kBAdobe PDFView/Open
Warunee_Po_ch1.pdf560.72 kBAdobe PDFView/Open
Warunee_Po_ch2.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Warunee_Po_ch3.pdf751.85 kBAdobe PDFView/Open
Warunee_Po_ch4.pdf748.94 kBAdobe PDFView/Open
Warunee_Po_ch5.pdf543.82 kBAdobe PDFView/Open
Warunee_Po_back.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.