Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13047
Title: | พฤติกรรมทางเพศและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาทางเพศของสตรีวัยหมดระดู ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี |
Other Titles: | Sexual behaviors and factors affecting sexual difficulties of natural menopausal of Mueang district in Ubonratchathani province |
Authors: | ปิยนุช พันธ์ศิริ |
Advisors: | สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล วีนัส อุดมประเสริฐกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Surasak.T@chula.ac.th Venus.U@Chula.ac.th |
Subjects: | วัยหมดระดู -- ไทย -- อุบลราชธานี วัยหมดระดู -- พฤติกรรมทางเพศ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาถึงพฤติกรรมทางเพศและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาทางเพศของสตรีวัยหมดระดู ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี และศึกษาความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาทางเพศ ระหว่างกลุ่มตัวอย่างในเขตเมืองและนอกเมือง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยโดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ และทีเทสต์ ผลการวิจัยพบว่า การมีกิจกรรมทางเพศหรือการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวัยหมดระดูยังเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น โดยช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างมีเพศสัมพันธ์ 56.8% และไม่มีเพศสัมพันธ์ 43.2% ในกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ พบว่า มีความถี่ในกิจกรรมทางเพศดังกล่าวเฉลี่ย 1-2 ครั้ง/เดือน ในกลุ่มที่ไม่มีกิจกรรมทางเพศ เหตุผลส่วนใหญ่เนื่องมาจากไม่มีความต้องการทางเพศและสุขภาพไม่ดี ทั้งนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดหลังหมดระดู มีปัญหาทางเพศ 56.8% และไม่มีปัญหาทางเพศ 43.2% โดยในกลุ่มที่มีปัญหาทางเพศนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีความต้องการทางเพศหรือลดลง รองลงมาคือการไม่บรรลุจุดสุดยอดจากการมีเพศสัมพันธ์ คู่นอนสมรรถภาพทางเพศเสื่อม ความไม่กระชับของช่องคลอด ช่องคลอดแห้ง และเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ ตามลำดับ โดยกลุ่มที่ประสบปัญหาทางเพศพบมากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของอายุ และเมื่อประสบปัญหาการมีเพศสัมพันธ์โดยส่วนใหญ่อยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร และไม่ทราบว่าจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาทางเพศของสตรีวัยหมดระดู พบว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับ ลักษณะที่อยู่อาศัย และปัจจัยด้านสุขภาพเกี่ยวกับ ยาที่ใช้เป็นประจำ การเจ็บป่วยที่เป็นบ่อย (ในปัจจุบัน) การดื่มสุรา การออกกำลังกาย และปัญหาสุขภาพทางร่างกาย/จิตใจที่เกิดในวัยหมดระดู มีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาทางเพศของสตรีวัยหมดระดู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาทางเพศของสตรีวัยหมดระดู ระหว่างกลุ่มตัวอย่างในเมืองและนอกเมือง พบว่า มีความแตกต่างกันในปัจจัยทุกด้าน ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับลักษณะของประชากร สภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมทางเพศด้วย |
Other Abstract: | To study the sexual behaviors and factors affecting sexual difficulties of natural menopausal of Mueang district in Ubonratchathani province and study the difference of factors between urban and suburban area with 250 persons. The data were analyzed by descriptive statistics, Chi-square test and T-test. From the study the people in this group were mostly had sexual intercourse with 56.8 % and 43.2% did not have intercourse in the past of 6 months. The average of sexual intercourse frequency was 1-2 time per month. Group did not have intercourse, who was more likely to report experiencing a combination of sexual desire and poor of healthy. Many of group with 56.8% had sexual difficulties and 43.2% did not have these problem, mostly decrease of sexual desire or lack of interest and the others were encounter failure to orgasm, dysfunctional male, lack of well-fitting, poor lubrication and painful intercourse. It was increase a lot of age. When menopausal group had problem, more than were still and did not know to solve. When study to associated of factors affecting sexual difficulties of natural menopausal, result showed that factors of environment about appearance to sleep and factors of health about using drug, ill health, drinking alcohol, exercise and problem of condition in menopause were significantly correlated (p < 0.05). And all of factors were difference in couples urban and suburban, which were correlated characteristic of population, economic, social and culture will be affecting the way of life include sexual behaviors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เพศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13047 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.382 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.382 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyanoot_ph.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.