Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13048
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorตรีศิลป์ บุญขจร-
dc.contributor.advisorชุติมา ประกาศวุฒิสาร-
dc.contributor.authorสหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-07-20T02:25:40Z-
dc.date.available2010-07-20T02:25:40Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13048-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractศึกษาการประกอบสร้างความเป็นชายแบบ "สุภาพบุรุษ" จากบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงยุค "สุภาพบุรุษ" ของศรีบูรพาและศึกษาความเป็นชายแบบ "สุภาพบุรุษ" ที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา ผลจากการศึกษาพบว่า "สุภาพบุรุษ" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือการแสดงลักษณะความเป็นชายของชนชั้นสูงสอดรับกับค่านิยมในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่ว่า "สุภาพบุรุษ" คือ ผู้มีชาติกำเนิดดี อีกทั้ง "สุภาพบุรุษ" ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมุ่งแสดงภาพผู้เสียสละ ตลอดจนมีความสำนึกในบทบาทและหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติ การมีความกล้าหาญ การปฏิบัติตนต่อผู้หญิง การรู้จักควบคุมอารมณ์ การเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่น นอกจากนี้ "สุภาพบุรุษ" ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังผูกโยงกับความเป็นชาติ ที่หมายถึงประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วน "สุภาพบุรุษ" ของศรีบูรพาหมายถึงการแสดงออกถึงความเป็นชายที่ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องอยู่ในชนชั้นสูง สามัญชนก็สามารถเป็น "สุภาพบุรุษ" ได้ ถ้าเป็นผู้มีความประพฤติดีหรือเป็นคนดี สอดรับกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.๒๔๗๕ ที่สามัญชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกัน "สุภาพบุรุษ" ของศรีบูรพายังแสดงภาพของผู้ชายที่เสียสละ มีความกล้าหาญ มีการปฏิบัติตนต่อผู้หญิง มีความยุติธรรม ตลอดจนเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่น ซึ่งคำว่าผู้อื่นของศรีบูรพาหมายถึงประชาชน สอดรับกับอุดมการณ์ที่ศรีบูรพาต้องการให้ "สุภาพบุรุษ" ประพฤติตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือประชาชนมากกว่าตนเอง ทั้งนี้แนวความคิดเรื่อง "สุภาพบุรุษ" ที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา ได้ชี้ให้เห็นว่าการประกอบสร้างความเป็น "สุภาพบุรุษ" ในแต่ละยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้ง "สุภาพบุรุษ" ยังเปลี่ยนแปลงไปตามอุดมการณ์ที่ประกอบสร้างมาจากแนวพระราชดำริใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับทัศนะของศรีบูรพาen
dc.description.abstractalternativeTo study the social and cultural contexts and the construction of manhood in the literary works of King Rama VI and Sriburapha and the concept of "gentleman" in the literary works of King Rama VI and Sriburapha. It is found that the term "gentleman" in the age of King Rama VI is the representation of manliness of male aristocrats which corresponds to the values in social and cultural contexts that "gentleman" is determined by the refined birth. Moreover, the quality of "gentleman" in King Rama VI's literary works aims to signify a gentleman as a person who devotes himself and possesses awareness of his duties toward himself, family and nation, bravery, conferring upon ladies, self-control, and paying respect to the other's honor and rights. In addition, the concept of "gentleman" by King Rama VI is tightly connected to the concept of nation contributing to the royalty toward the King. On the other hand, Sriburapha wants to present the image of “gentleman” as a man who may not be born from the noble class. A common man can turn to be a "gentleman" if he behaves well corresponding to the social and cultural contexts after the change from the Absolute Monarchy to Democracy in 1932 when all men were presumed to be equal. Sriburabha's qualification of "gentleman" represents a man who embraces devotion, bravery, conferring upon ladies, respect and benevolence for people. Here, "people" means civilians. It accounts for Sriburabha's ideal that a true gentleman should behave for the sake of people not himself. In conclusion, the concept of "gentleman" in the literary works of King Rama VI and Sriburapha indicates that the construction of "gentlemanliness" in each period of time evolves according to the social and cultural contexts. The concept of "gentleman" is also revolutionized following the ideal acquiring from the idea of King Rama VI and Sriburapha.en
dc.format.extent2494660 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.991-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468en
dc.subjectศรีบูรพาen
dc.subjectบุรุษในวรรณคดีen
dc.subjectวรรณคดีไทย -- ประวัติและวิจารณ์en
dc.title"สุภาพบุรุษ" ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพาen
dc.title.alternative"Gentleman" in the literary works of King Rama VI and Sriburaphaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTrisilpa.B@Chula.ac.th-
dc.email.advisorChutima.Pr@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.991-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saharot_ki.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.