Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13050
Title: การวิเคราะห์คุณสมบัติของสารสกัดจากผิวหนัง : วัตถุดิบชนิดใหม่สำหรับวิศวกรรมเนื้อเยื่อ
Other Titles: Characterization of dermal extracts : the new raw material for tissue engineering
Authors: เกษม ธีรกฤตยากร
Advisors: ถนอม บรรณประเสริฐ
อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Udomsak.B@Chula.ac.th
Subjects: วิศวกรรมเนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อสังเคราะห์
ผิวหนัง
สเต็มเซลล์
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีปริมาณมากในร่างกายและประกอบด้วย Extracellular matrix เป็นปริมาณมากจึงมีศักยภาพในการใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับเตรียมเป็นโครงเนื้อเยื่อสังเคราะห์ (Scaffold) สำหรับวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue engineering) ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมสารสกัดจากผิวหนังแล้ววิเคราะห์องค์ประกอบ เตรียมเป็นโครงเนื้อเยื่อสังเคราะห์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติและการตอบสนองของเซลล์ต้นกำเนิด งานวิจัยนี้เตรียมสารสกัดจากผิวหนัง (Dermal extracts) เป็น 3 สูตร กำหนดชื่อเป็น DE-1, DE-2, และ DE-3 ประกอบด้วยคอลลเจน 92.23, 79.07 และ 161.68 ไมโครกรัม/มก.น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ และประกอบด้วย Sulfated GAGs ปริมาณ 3.09+-0.51, 1.36+-0.39 และ 6.91+-0.87 ตามลำดับ สารสกัดจากผิวหนังนำมาเตรียมเป็นโครงเนื้อเยื่อสังเคราะห์จากคอลลาเจนชนิดที่ 1 (Type I Collagen) จากบริษัท Sigma-Aldrich Corp. คอลลาเจนชนิดที่ 1 มีรูพรุนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ที่สุด คือ 188.84+-35.41 ไมโครเมตร โครงเนื้อเยื่อสังเคราะห์จากสารสกัดจากผิวหนังสูตร DE-1, DE-2, และ DE-3 และคอลลาเจนชนิดที่ 1 มีรูพรุนขนาดเส้นผ่านศูนย์ 145.68+-46.86, 142.54+-45.39, 97.81+-21.99 และ 188.84+-35.41 ไมโครเมตร มีค่า Compressive modulus เป็น 145.68+-46.86, 142.54+-45.39, 97.81+-21.99 และ 188.84+-35.41 กิโลปาสคาล และมีระยะเวลาในการย่อยสลายจนมีน้ำหนักเหลือร้อยละ 50 จากน้ำหนักเริ่มต้น เป็น 3.30, 3.30, 6.30 และ 2.57 ชั่วโมง ตามลำดับ การทดสอบการตอบสนองของเซลล์ต่อโครงเนื้อเยื่อสังเคราะห์ ใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกมนุษย์ (Human B-MSCs) เมื่อทดสอบกับโครงเนื้อเยื่อสังเคราะห์จากสารสกัดจากผิวหนังสูตร DE-1, DE-2, DE-3 และ คอลลาเจนชนิดที่ 1 พบว่าเซลล์มีการยึดเกาะร้อยละ 73.15+-6.72, 73.15+-4.55, 72.01+-7.31 และ 89.79+-6.57 ตามลำดับจาการนำเซลล์เข้าสู่โครงเนื้อเยื่อสังเคราะห์ เมื่อทดสอบการเกิด Osteogenic diffrerntiation พบว่าในอาหารเพาะเลี้ยงปกติเซลล์ต้นกำเนิดสามารถเกิด Osteogenic diffrerntiation ได้ แสดงว่าวัตถุดิบทุกชนิดที่ทดสอบสามารถเหนียวนำการเกิด Osteogenic diffrerntiation ได้ นอกจากนี้แม้ไม่มีเซลล์โครงเนื้อเยื่อสังเคราะห์แต่พบการสะสมแคลเซียมเพิ่มขึ้นในโครงเนื้อเยื่อสังเคราะห์ได้ซึ่งเกิดจากวัตถุดิบที่ทำโครงเนื้อเยื่อสังเคราะห์มีคุณสมบัติในการจับกับแคลเซียมได้เอง งานวิจัยนี้ยืนยันให้เห็นว่า สารสกัดจากผิวหนังสามารถใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับวิศวกรรมเนื้อเยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: Skin, the large volume organ in human body with abundant of extracellular matrix, has potential to be used as raw material for scaffold preparation Tissue engineering. This research aim to characterize extracellular matrix components in dermal extracts. Characterize fundamental property and assess the stem cell responses in dermal extract-derived scaffold. Cadaveric human skin was prepared to be 3 fractions of dermal extracts, defined, as DE-1, DE-2, and DE-3. these dermal extracts, DE-1, DE-2, and DE-3, respectively contained collagen 92.23, 79.07 and 161.68 ug/mg dry weight and contained sulfated glycosaminoglycans 3.09+-0.5, 1.36+-0.39 and 6.91+-0.87 ug/mg dry weight. Scaffolds were prepared and were characterized properties comparing with scaffold from type l collagen, commercially provided by Sigma-Aldrich corporation. For DE-1, DE-2, and DE-3 and type l collagen scaffold, average pore diameter were 145.68+-46.86, 142.54+-45.39, 97.81+-21.99 and 188.8+-35.41 um, respectively, degradation time for 50 percent weight loss were 3.30, 3.30, 6.30 and 2.57 hours, respectively. Human bone marrow-derived mesenchymal stem cell (h B-MSCs) were isolated and were characterized for assessing the stem cell response to dermal extract-derived scaffold. Cell attachment, measured after 1 day of seeding, of DE-1, DE-2, and DE-3 and type l collagen scaffolds were 73.15+-6.72, 73.15+-4.55, 72.01+-7.31 and 89.79+-6.57 percent, respectively. Osteogenic differentiation of h B-MSCs in each type of scaffolds was assayed. The results of Alkaline phosphatase activity indicated that, even though in normal culture medium, h B-MSCs were differentiated. The results confirmed osteoinductive property of all type of scaffold materials. Surprisingly, scaffolds without h B-MSCs showed increasing calcium deposit. All type of scaffold materials deposit calcium by themselves. This research insisted the potential of dermal extracts to be use as new raw material for tissue engineering.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13050
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.420
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.420
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kasem_th.pdf7.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.