Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1310
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานะ ศรียุทธศักดิ์-
dc.contributor.authorสุรเดช เลิศศิริมงคลสุข, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-01T08:18:00Z-
dc.date.available2006-08-01T08:18:00Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741718276-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1310-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การออกแบบและประดิษฐ์ระบบวัดและบันทึกสัญญาณกล้ามเนื้อโดยใช้แผ่นความจำแบบแฟลช ระบบวัดและบันทึกสัญญาณกล้ามเนื้อประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนฮาร์ดแวร์ และส่วนซอฟต์แวร์ ในส่วนฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนวงจรวัด ส่วนควบคุม และส่วนเก็บข้อมูล ส่วนวงจรวัดมีทั้งหมด 8 ช่อง แต่ละช่องประกอบด้วย วงจรขยายผลต่างวงจรกรองผ่านสูง วงจรกรองผ่านต่ำ และวงจรขยายกลับเฟส วงจรวัดทั้งหมดทำเป็นแบบ Surface Mount เพื่อลดขนาดของระบบ วงจรวัดออกแบบให้วัดสัญญาณในช่วงความถี่ 5-1000 Hz และมีอัตราขยายรวม 1280 เท่า ส่วนควบคุมใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC16F877 เป็นตัวควบคุมระบบ ทำหน้าที่สุ่มเก็บสัญญาณกล้ามเนื้อด้วยอัตราสุ่ม 2 kHz และบันทึกข้อมูลที่ได้ลงในแผ่นความจำแบบแฟลช ซึ่งใช้เป็นส่วนเก็บข้อมูล ข้อมูลที่เก็บในแผ่นความจำแบบแฟลชสามารถโอนย้ายไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้โดยง่าย นอกจากนั้นระบบวัดและบันทึกสัญญาณกล้ามเนื้อใช้แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือขนาด 3.6 V เป็นแหล่งจ่ายพลังงานให้กับระบบ ในส่วนซอฟต์แวร์ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนจัดการข้อมูล และส่วนแสดงการวิเคราะห์ผล ส่วนเก็บข้อมูลเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีของ PIC16F877 ทำหน้าที่สุ่มเก็บข้อมูลของสัญญาณกล้ามเนื้อจากช่องที่ 1 ไปจนถึงช่องที่ 8 ต่อเนื่องกันไป ด้วยอัตราสุ่มช่องละ 2 kHz ส่วนจัดการข้อมูลเขียนด้วยภาษา C เพื่อใช้ในการแยกข้อมูลของแต่ละช่องสัญญาณ และแปลงค่าจากเลขฐานสอง เป็นค่าแรงดันที่วัดได้จริง ส่วนแสดงการวิเคราะห์ผลทำหน้าที่ในการแสดงผลในรูปกราฟสัญญาณทั้งทางเวลาและทางความถี่ ในส่วนนี้พัฒนาขึ้นโดยการใช้โปรแกรม MATLAB จากการทดสอบระบบพบว่าระบบวัดไม่มีการรบกวนกันระหว่างช่องสัญญาณและบันทึกข้อมูลได้นาน 34 นาที เมื่อใช้แผ่นความจำแบบแฟลชขนาด 32 MB ซึ่งเพียงพอในการนำไปวิเคราะห์ทางด้านกายศาสตร์ และจากการทดสอบวัดสัญญาณกล้ามเนื้อที่ตำแหน่งไบเซ็บ พบว่าสเปกตรัมกำลังของสัญญาณกล้ามเนื้อมีค่ามากขึ้นเมื่อมีการเกร็งของกล้ามเนื้อ และความถี่ของสัญญาณกล้ามเนื้อที่พบอยู่ในช่วง 5-200 Hzen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the present study are to design and implement a portable electromyogram (EMG) data acquisition system using flash memory. The system consists of 2 main parts; hardware and software. The hardware consists of 3 parts; measuring circuit, controller and data storage. The measuring circuit has 8 channel instrumentation amplifiers and band pass filters. Surface mounted technology is applied to reduce the size of the system. It is designed to detect the signals in the frequency range of 5-1000 Hz. The total gain of the system is 1280. PIC16F877 is used as a controller. The EMG is measured with a sampling rate of 2 kHz for each channel. The EMG data is then recorded into flash memory. The data could download easily to personal computer. 3.6 V mobile phone battery is used as a power source. The software consists of 3 parts; data sampling, data processing and display. The data sampling part is written using PIC16F877 assembly. It samples EMG continuing from channel 1-8 with the sampling rate of 2 kHz. The processing data part is written using C language. It is used to separate data into 8 channels and convert values from binary to decimal. The display part could display signals both in time domain and frequency domain. It is written using MATLAB. It was found that the cross-talk between each A/D channel could not be observed. The system could measure and record EMG data for 34 minutes when using 32MB memory. This is enough for applying to the ergonomic analysis. The system is applied to measure EMG signal at the biceps. It was found that the power spectrum of the EMG increased when there was contraction of the muscle. The frequency band of the EMG in the range of 5-200 Hz was observed.en
dc.format.extent2349967 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหน่วยความจำแฟลชen
dc.subjectกล้ามเนื้อen
dc.subjectสัญญาณกล้ามเนื้อen
dc.subjectอิเล็กโตรไมโอกราฟีen
dc.titleระบบวัดและบันทึกสัญญาณกล้ามเนื้อแบบพกพาโดยใช้แผ่นความจำแบบแฟลชen
dc.title.alternativePortable EMG data acquisition system using flash memory carden
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorMana.S@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suradech.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.