Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13112
Title: คุณลักษณะของละครเอเชียยอดนิยม ศึกษากรณีละครญี่ปุ่น ไต้หวันและเกาหลีในโทรทัศน์ไทย
Other Titles: The attributes of Asian popular television drama : the case of Japanese, Taiwanese and Korean dramas in Thai television
Authors: สุภาวรรณ วรรธนะศุภกุล
Advisors: อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubonrat.S@chula.ac.th
Subjects: ละครโทรทัศน์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาคุณลักษณะของละครเอเชียที่ได้รับความนิยม และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ละครเอเชียได้รับความนิยมในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์การเล่าเรื่องละครเอเชียยอดนิยมจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ละครญี่ปุ่น ละครไต้หวัน และละครเกาหลี รวม 9 เรื่อง ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ และนักวิชาการด้านเอเชียศึกษารวม 3 คน ผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะของละครเอเชียยอดนิยมมีคุณลักษณะดังนี้ ละครญี่ปุ่น มีคุณลักษณะเด่นคือ การเล่าเรื่องมีจังหวะกระชับ รวดเร็ว บทสนทนาสะท้อนแง่คิดเนื้อหาที่ท้าทายค่านิยมเดิม มุ่งส่งเสริมกำลังใจ โดยสื่อความหมายผ่านภาพความสัมพันธ์ของครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ แม้จะมีเนื้อหาที่ท้าทายค่านิยมเดิมของสังคม แต่ก็เป็นความขัดแย้งที่ลงเอยอย่างประนีประนอม โดยใช้โทนการเล่าเรื่องแบบสนุกสนานเพื่อผ่อนคลาย ละครไต้หวัน มีคุณลักษณะ เด่นในการเล่าเนื้อหาที่สะท้อนปัญหาสังคมและการรวมแก๊ง การสร้างตัวละครแบบขบถต่อสังคม และอยู่ในช่วงก้าวข้ามวัย สร้างให้ตัวละครชายมีเสน่ห์ดึงดูด การสื่อความหมายที่เสียดสีสังคม และสื่อความเป็นปัจเจกชน เนื้อหาเกี่ยวกับชนชั้นล่างที่พยายามดิ้นรนเพื่อยกฐานะทางสังคม หรือความขัดแย้งที่มาจากการเลือกทางเดินชีวิตของตนกับวิถีทางที่สังคมกำหนด ตัวละครมักแก้ปัญหาแบบตัดขาดมากกว่าประนีประนอม ละครเกาหลี มีคุณลักษณะเด่นในการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่สื่ออารมณ์ของละคร ประกอบกับฉากธรรมชาติและภาพบรรยากาศของภูมิประเทศ เพื่อให้เข้ากับเนื้อหาความรักเชิงอุดมคติและการแสวงหาตัวตนรวมถึงเอกลักษณ์ของตัวละคร โดยปล่อยให้เรื่องราวในอดีตและความทรงจำเป็นตัวเล่าเรื่องในปัจจุบัน แต่ละตอนมักจะหักมุม เนื้อหาสะท้อนปัญหาระหว่างการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นหนุ่มสาวขัดแย้งกับครอบครัว แต่ก็มักลงเอยแบบประนีประนอม ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ละครเอเชียทั้ง 3 ประเทศได้รับความนิยม คือ 1) เนื้อหาที่พูดถึงปัญหาแบบเอเชียร่วมกัน โดยเฉพาะปัญหาของวัยรุ่นซึ่งเป็นกลุ่มผู้รับสารหลัก อาทิ ผู้หญิงถูกกดอยู่ภายใต้อำนาจผู้ชายในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ และการถูกครอบงำในการเลือกทางเดินชีวิตโดยครอบครัวหรือผู้ใหญ่ ผ่านการเล่าเรื่องด้วยโทนและการคลี่คลายปัญหาที่แตกต่างกันตามมุมมองของผู้ผลิตสารที่มีต่อวัยรุ่นในแต่ละประเทศ 2) การกำหนดทิศทางการเผยแพร่และกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยซึ่งเป็นผู้นำเข้าละครเอเชีย ภายใต้ปัจจัยด้านการแข่งขันระหว่างสถานี 3) วงจร Tie-in ในอุตสาหกรรมสื่ออื่นที่เกี่ยวข้อง ผลที่ตามมาจากความนิยมที่เกิดขึ้น ก็คือ การเป็นช่องทางใหม่ในการประชาสัมพันธ์ประเทศ เผยแพร่ภาพลักษณ์ และสร้างความนิยมในสินค้าจากประเทศนั้นๆ
Other Abstract: To study the attributes of popular Asian television dramas and to study the factors contributing to their popularity. The research is a qualitative research employing narrative analysis and depth interview of key informants as its methods. The research analyzes 9 television dramas series from Japan, Taiwan and Korea. The research found the following attributes; Japanese drama-The narration used quick tempo, the story and dialogue question the dominant social and cultural values, and the main theme encourages higher goal. The scene and visual images were confined within the family setting. The conflict in the story line often resolved happily. Taiwanese drama-The narration used normal tempo, the story reflect the life of youth set in social problems such as outsider and gangster, the main characters are charismatic, and the theme of love and struggle end with an ironic tone. Youth in these stories are depicted as rebel in deep conflict with their family and social values. They are in search of individualism and hence, uncompromising with adults. Korean drama-The narration used slow tempo, and exhibited visual and sound images to communicate the emotion of the main characters, the scenic view and setting are designed to match with the romantic love theme of youth who are searching for self identity at the same time. The stories were driven by the past and sometimes, painful memory. There were cliff-hangers in each episode and the content reflected the love relationship of youth who were in conflict with their family but resolved happily in the end. The factors contributing to the popularity of these dramas are; 1) The story that share similar theme of love and how youth struggle to grow up in the modern urban setting and patriarchy system in Asia. 2) The competition and marketing strategies of the television stations which import these dramas. 3) The business tie-in of the media industries which contributed to the promotion of national images as well as cultural products and other goods.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13112
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1680
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1680
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawan_Wa.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.