Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13187
Title: การศึกษาการจัดการวัสดุไม่ใช้แล้วประเภทของแข็งในอุตสาหกรรมเรซิน
Other Titles: The study of solid waste management in resin industry
Authors: กันยารัตน์ โกศิริ
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th
Subjects: ของเสียจากโรงงาน
การจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการของเสีย
อุตสาหกรรมเรซิน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการจัดการวัสดุไม่ใช้แล้วประเภทของแข็งในอุตสาหกรรมเรซิน ผลิตอัลคิดเรซินและโพลีเอสเตอร์เรซินชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งพบวัสดุไม่ใช้แล้วประเภทของแข็งที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อโรงงานคือ ค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัสดุไม่ใช้แล้ว สูญเสียพื้นที่ในการจัดเก็บ และก่อให้เกิดปัญหามลพิษภายในโรงงาน จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือน มกราคม-กันยายน 2548 พบแหล่งกำเนิดวัสดุไม่ใช้แล้วประเภทของแข็งในโรงงานตัวอย่างจากขั้นตอนกระบวนการผลิต ดังนี้ 1) กระบวนการตรวจรับและจัดเก็บวัตถุดิบ 2) กระบวนการเทวัตถุดิบลงถังทำปฏิกิริยา 3) กระบวนการควบคุมปฏิกิริยาและผสม 4) กระบวนการกรองและบรรจุ 5) กระบวนการตรวจสอบคุณภาพ และ 6) กระบวนการจัดเก็บและเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ จากการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดวัสดุไม่ใช้แล้วประเภทของแข็งโดยใช้แผนภาพสาเหตุและผล วิเคราะห์ 5 ปัจจัย คือ คน วัสดุ เครื่องจักร วิธีการ และ สิ่งแวดล้อม พบสาเหตุหลัก คือ 1) พนักงานขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องวัตถุดิบและวิธีการผลิตที่ถูกต้อง 2) เครื่องจักรอุปกรณ์ อุปกรณ์ และวิธีการผลิตแบบเดิมก่อให้เกิดวัสดุไม่ใช้แล้วเป็นจำนวนมาก และ 3) ไม่มีการคัดแยกประเภทของวัสดุไม่ใช้แล้ว การดำเนินการปรับปรุงการจัดการวัสดุไม่ใช้แล้วประเภทของแข็ง ทำโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการลดวัสดุไม่ใช้แล้วในโรงงาน แล้วดำเนินการปรับปรุง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2548-มีนาคม 2549 วิธีการปรับปรุงประกอบไปด้วย จัดฝึกอบรมเพิ่มความรู้และความเข้าใจให้กับพนักงานเกี่ยวกับเรื่องวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง ปรับปรุงวิธีการทำงาน ปรับปรุงระบบท่อและเครื่องจักรในการผลิต ติดตั้งระบบอัตโนมัติในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และกำหนดการคัดแยกและจัดเก็บวัสดุไม่ใช้แล้วประเภทของแข็งอย่างถูกวิธี จากการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน เมษายน-ธันวาคม 2549 ผลการปรับปรุงสามารถลดปริมาณวัสดุไม่ใช้แล้วประเภทของแข็งคือ 1) โพลีเอสเตอร์เรซินไม่ได้คุณภาพ ลดลงจาก 0.10% เหลือ 0.03% คิดเป็น 70% 2) วัตถุดิบหมดอายุและเสื่อมคุณภาพ ลดลงจาก 112 กิโลกรัม เหลือ 48 กิโลกรัม คิดเป็น 57.14% 3) ถังบรรจุปนเปื้อนเรซิน ลดลงจาก 0.018 ใบ/ตัน เหลือ 0.008 ใบ/ตัน คิดเป็น 55.56% 4) เรซินที่เหลือจากการตรวจสอบคุณภาพลดลงจาก 0.009% เหลือ 0.005% 5) ถังบรรจุปนเปื้อนวัตถุดิบลดลงจาก 0.072 ใบ/ตัน เหลือ 0.041 ใบ/ตัน คิดเป็น 43.06% 6) ถุงบรรจุปนเปื้อนวัตถุดิบขนาด 25 กิโลกรัมลดลงจาก 3.618 ใบ/ตัน เหลือ 2.394 ใบ/ตัน คิดเป็น 33.83% และ 7) เรซินที่เหลือจากกระบวนการกรองและบรรจุลดลงจาก 0.166% เหลือ 0.114% มูลค่าความเสียหาย ลดลงจากเดิม 345.64 บาท/ตัน เหลือ 192.17 บาท/ตัน คิดเป็น 44.40% และ ค่าใช้จ่ายในการกำจัด ลดลงจากเดิม 18.82 บาท/ตัน เหลือ 11 บาท/ตัน คิดเป็น 41.56% ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเป็นจำนวนเงิน 733,000 บาท สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 1,323,328 บาท/ปี มีระยะเวลาคืนทุน 7 เดือน
Other Abstract: To study the solid waste management in resin industry, producing alkyd resin and unsaturated polyester resin. Solid wastes are affected the costs and disposal expenditures of them, loss the storage area and create polluted environment. From the information that have been collected in the source of the solid waste, they can be specified as follows: 1) raw material storage 2) raw material preparation process 3) controlling and mixing processes 4) filtering and packaging processes 5) quality control process 6) storage and mobilizing of the products. The cause and effect diagrams have been applied to analyze 5 issues, man, material, machines, methods, and environment. The main cause is 1) lack of understanding the raw materials and proper production processes, 2) machines equipments and conventional processes made the solid waste as well as 3) there is no classification processing and proper storage for solid waste. The management for improving the losses is done by setting a committee to run the improvement programs from October 2005 to March 2006. They are training course for workers in order to improving their understanding in raw material, production processes and proper method, the improving the machine conditions and resin pipe system, installing the automation system as well as classifying and storing the solid wastes. From the data collection from April to December 2006, it showed the reduction of solid wastes as follow 1) low quality unsaturated polyester resin reduced from 0.10% to 0.03% or 70%, 2) the expired raw material or deteriorated reduced from112 kilograms to 48 kilograms or 57.14%, 3) residue resin contaminated drums reduced from 0.018 drum/ton to 0.008 drum/ton or 55.56%, 4) residue resin from controlling and mixing processes reduced from 0.009% to 0.005%, 5) raw material contaminated drums reduced from 0.072 drum/ton to 0.041 drum/ton or 43.06%, 6) raw material contaminated bags, 25 kilograms-size, reduced from 3.618 bag/ton to 2.394 bag/ton or 33.83%, 7) percentage of residue resin, comparing with capacity, from filtering and packaging processes reduced from 0.166% to 0.114%. The losses reduced from 345 baht/ton to 192.17 baht/ton or 44.40%. The disposal expenditures reduced from 18.82 baht/ton to 11 baht/ton or 41.56%. The investment for improving programs are 733,000 baht. The benefits are 1,323,328 baht. The pay back period is 7 months.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13187
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1690
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1690
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunyarut_ko.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.