Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13191
Title: | เศรษฐกิจชุมชนกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากนโยบายประชานิยม |
Other Titles: | The Community economy and the changes aaused by populist policies |
Authors: | สยามสิน วลิตวรางค์กูร |
Advisors: | กนกศักดิ์ แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kanoksak.K@Chula.ac.th |
Subjects: | ประชานิยม -- ไทย เศรษฐกิจพอเพียง รัฐบาล -- ไทย -- สมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร, 2544-2549 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง -- ไทย -- เชียงใหม่ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาถึงเศรษฐกิจชุมชนกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากนโยบายประชานิยม ว่ากองทุนหมู่บ้านภายใต้แนวคิดและนโยบายประชานิยมของรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านหรือไม่อย่างไร โดยศึกษาจากหมู่บ้านในจังหวัดภาคเหนือ 2 แห่ง ประกอบด้วย หมู่บ้านเหล่า-แสนตอง ตำบลสะเมิงใต้ เป็นหมู่บ้านในเขตเทศบาล และหมู่บ้านแม่ปะ ตำบลสะเมิงเหนือ เป็นหมู่บ้านชนบทห่างไกล ทั้ง 2 หมู่บ้านอยู่ในพื้นที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่านโยบายกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท ไม่ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโดยรวมต่อวิถีเศรษฐกิจชุมชน เนื่องจากชาวบ้านกู้เงินไปเพื่อการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในครัวเรือนเป็นการชั่วคราว มากกว่าที่จะนำเงินกู้ที่ได้รับไปลงทุนด้านการผลิต แม้ว่าผู้กู้จะได้ระบุวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเพื่อการลงทุนทำการเกษตรหรือการค้า ฯลฯ นอกจากนี้ ปริมาณเงินกู้ที่ได้รับก็ยังไม่เพียงพอต่อการลงทุนทางการผลิต สภาพการณ์เช่นนี้ ทำให้ประโยชน์ของเงินกองทุนหมู่บ้านมีไม่มากนัก ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า กองทุนหมู่บ้านไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดดังที่ตั้งเป้าประสงค์ไว้ และไม่ได้เป็นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจชุมชน เพราะเงินกู้จากกองทุนหมู่บ้านถูกนำไปใช้อย่างไร้ทิศทาง อย่างไรก็ตาม กองทุนหมู่บ้านจะเกิดประโยชน์สูงสุดได้นั้น สมาชิกในหมู่บ้านจะต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุน โดยมีการวางแผนพัฒนาหมู่บ้านอย่างเป็นระบบ อันจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจชุมชนอย่างมีศักยภาพต่อไป |
Other Abstract: | To analyze the effect on community economy and its changes caused by Village Fund Program, a populist policy proposed by Prime Minister Thaksin Sinawatr in 2001. Two villages in the Northern Thailand, namely Baan Lao-Saentong and Baan Mae Pa in Samoeng District of Chiangmai Province, were selected as case study. The study finds that, Village Fund Program, or One Million Baht One Village, had a trivial effect on community economy. Overall, in these two villages, there were no crucial change caused by the program. A majority of those villagers who got loans from this fund rather spent them in various ways to solve their current problems than on production. In addition, the amount they got were two small for investment in production. The study suggests that in order to make use of the fund in a more efficient way to achieve its goal, villagers have to be able to participate in fund management, in particular decision-making process on loan, as well as to have their own socio-economic plan that suit their need. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์การเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13191 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1693 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1693 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sayamsin_wa.pdf | 4.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.