Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13192
Title: | องค์กรชุมชนที่มีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ : กรณีศึกษา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Knowledge management and learning process in a community organization : a case study of Mairiang Development and Learning Center, Nakhon Si Thammarat province |
Authors: | สุจิรา วิจิตร |
Advisors: | สุริยา วีรวงศ์ อเนกพล เกื้อมา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Suriya.V@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช องค์กรชุมชน -- ไทย -- นครศรีธรรมราช การบริหารองค์ความรู้ ไม้เรียง (นครศรีธรรมราช) |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาปรัชญาและกิจกรรมของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง วิเคราะห์การจัดการความรู้โดยผ่านกิจกรรมของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ของคนในชุมชน และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาองค์กรชุมชนจากบทเรียนของกรณีศึกษา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การจัดสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม กับกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะทำงานของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง และชาวชุมชนไม้เรียงที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า ปรัชญาของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง คือ เรียนในสิ่งที่ต้องการทำ ทำในสิ่งที่รู้แล้ว ซึ่งได้มีการนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมพัฒนา และภายหลังได้มีการเพิ่มเติมปรัชญาใหม่เข้ามาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในครึ่งหลังปี พ.ศ. 2540 คือ เรียนในสิ่งที่ต้องรู้ เรียนในสิ่งที่ควรรู้ เนื่องจากเห็นว่าชาวชุมชนควรจะมีการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับมือและดำรงอยู่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกิจกรรมต่างๆ นั้นเกิดขึ้นภายใต้การจัดการความรู้ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง ซึ่งเป็นการนำความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในชุมชนและความรู้จากภายนอกชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชาวชุมชนในการสร้างอาชีพเสริม การจัดการความรู้ได้ส่งผลให้เกิดหลักสูตรการฝึกอบรมเกษตรกรทั่วไปในตำบลไม้เรียง ซึ่งประกอบด้วย 8 กิจกรรม จากนั้นจึงมีการเพิ่มเติมกิจกรรมใหม่เข้ามา คือ กิจกรรมโรงเรียนมังคุด ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมการเพาะเลี้ยงกบ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงได้อาศัยปัจจัยต่างๆ ในการเอื้อหรือสนับสนุนต่อการดำเนินกิจกรรม ซึ่งปัจจัยภายใน ได้แก่ โครงสร้างของศูนย์ฯ ด้านระบบการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์ฯ ผู้นำชุมชนและคณะทำงานของศูนย์ฯ ด้านการเงิน วัสดุอุปกรณ์ การจัดการ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านนโยบาย จากการจัดการความรู้ได้ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงขึ้น ทำให้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง ได้มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยการถ่ายทอดความรู้ให้กับชาวชุมชนด้วยรูปแบบของศูนย์เรียนรู้ และจากกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวได้นำไปสู่การเรียนรู้ของชาวชุมชน แนวทางการพัฒนาองค์กรชุมชนจากบทเรียนของกรณีศึกษา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง ควรส่งเสริมให้ชาวชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการทุกๆ ขั้นตอนของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง เพื่อให้ชาวชุมชนเกิดการรับรู้และตระหนัก รวมทั้งเข้าใจในการดำเนินการต่างๆ ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงมากขึ้น โดยเฉพาะในขั้นตอนการประเมินผลหรือสรุปบทเรียนต่างๆ |
Other Abstract: | To study the philosophy and activities of Mairiang Development and Learning Center, analyze knowledge management from the activities, resolve learning process of people in the community and to find way of community organization development from lesson of a case study Mairiang Development and Learning Center. The data were collected from documents research, key informant interview, indepth interview, focus group and participant observation. The target group composes of the working group of Mairiang Development and Learning Center and the people in Mairiang community. The results indicate that the philosophies of Mairiang Development and Learning Center are learning in what people want to do, doing in what people have known. Afterward new philosophies were included during the critic of economic in half of the year 1994 are learning in what people have to know and learning in what people should know. According to the idea, people in the community should learn more in order to be ready for solving the present situation. These results are taken to determine the appropriate activities. The activities are organized from knowledge management of Mairiang Development and Learning Center. Various knowledges occurring from both inside and outside Mairiaing community are useful for the people in order to have other careers. Knowledge management brings an organizing of a traing program for the agriculturists in Mairiang districts which consists of 8 activities. There are some additional activities which are Mangosteen school, Community learning center and folk wisdom and activity of Frog aquaculture. There are many factors to support the activities in Mairiang Development and Learning Center both of inner factor and outer factor. They are: knowledge management to create learning processes, Mairiang Development and Learning Center conveys knowledges to people in the community by using Learning Center. In addition, The learning process makes people in the community alert to learn new things. Finally, community organization development through lessons of Mairiang Development and Learning Center, should encourage people in the community to participate in the activities at all steps, including evaluation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนามนุษย์และสังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13192 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1694 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1694 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sujira_vi.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.