Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1323
Title: | การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สำหรับการจัดตารางการผลิต ในแผนกปั๊มขึ้นรูปโลหะแผ่น |
Other Titles: | Decision support system development for production scheduling in sheet metal stamping shop |
Authors: | ธนสาร ดีสุวรรณ, 2511- |
Advisors: | ปารเมศ ชุติมา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Parames.C@chula.ac.th |
Subjects: | การกำหนดงานการผลิต ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โลหะแผ่น -- การขึ้นรูป |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระดับสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการจัดตารางการผลิตในแผนกปั๊มขึ้นรูปโลหะแผ่นที่มีประสิทธิภาพ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนี้ถูกพัฒนาขึ้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้ภาษา Microsoft Visual Basic 6.0 และ Microsoft Access 2000 และใช้ตัววัดผล คือ จำนวนงานล่าช้า (Number of Tardy Jobs) เป็นตัววัดผลหลักและเวลาล่าช้าของงานโดยเฉลี่ย (Mean Tardiness) เป็นตัววัดผลรองและใช้ฮิวริสติก (Heuristic) แบบ EDD เป็นวิธีในการจัดตาราง พร้อมทั้งให้เลือกใช้ฮิวริสติกแบบ SPT LPT WSPT ในกรณีที่งานที่นำมาจัดตารางมีกำหนดส่ง (Due Date) เท่ากัน จากการทดสอบโปรแกรม โดยใช้ข้อมูลในอดีตขององค์กรตัวอย่างมาทำการจัดตารางใหม่พบว่าฮิวริสติกแบบ EDD และฮิวริสติกรองแบบ SPT ให้ผลของตัววัดผลหลักที่ดีที่สุดและดีขึ้นกว่าวิธีการในอดีต โดยมีจำนวนงานล่าช้าและเวลาล่าช้าของงานโดยเฉลี่ยลดลงจากผลของวิธีการจัดตารางการผลิตแบบเดิม 75.64%และ 86.69% ตามลำดับ ทำให้สรุปได้ว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการจัดตารางการผลิตที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาในการจัดตาราง มีความคล่องตัวสามารถปรับเปลี่ยนตารางการผลิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดตารางการผลิต |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to implement efficient decision support system development for production scheduling in sheet metal stamping shop. The decision support system is implemented on a PC using Microsoft Visual Basic 6.0 and Microsoft Access 2000. The main indicator is number of Tardy Jobs and Man Tardiness is minor indicator. The system uses EDD heuristic and in case of jobs with the same due date also utilize SPT LPT WSPT heuristic as well. The program testing with sample organization's data for reorganize the scheduling resulting the best indicator are EDD for Main heuristic and SPT is minor heuristic and better than old method. Number of Tardy Jobs and Mean Tardiness of new implementation are reduced comparing to old technique by 75.64% and 86.69% respectively. This concludes that the decision support system is able to reorganize is scheduling very effectively by reducee time to organize to scheduling. It is also able to adjust it scheduling repidly according to the objective. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1323 |
ISBN: | 9741726007 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tanasan.pdf | 3.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.